Saturday, August 4, 2012

[My Notes] Super Stocks : Kenneth L. Fisher

Super Stocks : Kenneth L. Fisher



วันนี้ขอแนะนำหนังสือการลงทุนที่เสนอวิธีการและแนวคิดในการลงทุนในหุ้นที่ค่อนข้างแตกต่างจากเล่มอื่นๆ ซึ่งคนเขียนก็ตั้งชื่อหนังสือได้อย่างน่าสนใจว่า "Super Stocks" ซึ่ง คำๆนี้ กำลังเริ่มเป็นที่นิยมในเหล่า VI โดยเฉพาะสาวกท่าน อ.นิเวศน์ ซึ่งท่านก็แต่งหนังสือชื่อ  Super Stock : มหัศจรรย์ของหุ้น VI  เหมือนกันพอดีเลย กลับมาที่หนังสือ Super Stocks ของคุณ Ken Fisher กัน  ฟังดูชื่ออาจไม่คุ้นเท่าไหร่ แต่หากบอกว่าคุณ Ken Fisher แกเป็นลูกของ Philip Fisher ผู้แต่งหนังสือ Common Stocks and Uncommon Profits หลายๆ คน อาจร้องอ๋อก็ได้ โดย Philip Fisher ถือได้ว่าเป็นนักลงทุนที่เชี่ยวชาญด้าน Growth Stocks และถือได้ว่าเป็น อาจารย์ อีกคนหนึ่งของ Warren Buffett และ Ken Fisher เองก็นับได้ว่าเป็น ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น 

มาลองดูสิ่งที่ผมได้จากหนังสือเล่มนี้ซัก 3 ประเด็นนะครับ
1. Super Stock vs Super Company
  • Super Stock นิยามได้ 2 ความหมาย คือ
    • หุ้นที่มีราคาเพิ่มขึ้น 3-10 เท่าตัว (3-10 เด้ง) เมื่อถือเอาไว้ 3-5 ปี
    • หุ้นของ Super Company (บริษัทที่ยอดเยี่ยม) ที่ซื้อในราคาที่เหมาะสม
  • Super Company มักจะมีคุณลักษณะดังนี้
    • Growth Orientation : ผู้บริหารและพนักงาน กระตือรือร้น ในการทำให้บริษัท ก้าวไปข้างหน้า ไม่ใช่อยู่นิ่งเฉยๆ (ทำเป็น Daily คือ ทุกวัน)
    • Market Excellence : รับรู้การเปลี่ยนแปลงของตลาด และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงประเด็น
    • Unfair Advantage : บริษัทมีความได้เปรียบคู่แข่ง (แบบทิ้งห่างคู่แข่งขันอย่างไม่เห็นฝุ่น) โดยส่วนใหญ่ได้แก่ การเป็นผู้ผลิตที่มีต้นทุนต่ำที่สุด หรือมีสิทธิขาดในการผลิตสินค้าที่เป็นรายได้หลักของบริษัท (Ken Fisher เน้นลงทุนใน Growth Stock ในกลุ่มสินค้า Technology)
    • Creative personnel relations : ประมาณว่า บริษัทมีวัฒนธรรมที่เห็นความสำคัญในคุณค่าของพนักงานแต่ละคน มีบรรยากาศการทำงานที่ดี กระตุ้นให้เกิดการพัฒนา
    • The Best in Financial Controls : สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ หากผลประกอบการไม่ได้ตามเป้าหมาย
    • อื่นฯ ได้แก่ มี Margin (อัตราการทำกำไร) สูงเหนือคู่แข่ง, Market Share ต้องโตมากกว่าหรืออย่างน้อยก็เท่ากับอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม (แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นที่หนึ่ง)
2. PSR
  • Ken Fisher แนะนำให้ใช้ PSR (Price Sales Ratio) ดูความถูกหรือแพงของหุ้นแทน PE (Price to Earning), P/BV (Price to Book Value) โดยหากซื้อที่ PSR ที่เหมาะสม ก็อาจเจอ Super Stock ก็ได้
  • PSR = Market Cap. / Sales
    • Market Cap. = ราคาต่อหุ้น x จำนวนหุ้นทั้งหมด
    • Sales = ยอดขาย หรือ รายได้ ของบริษัท (เบื้องต้นก็ดูจากยอดขายปีที่ผ่านมาก่อน)
  • PSR มีข้อดีเนื่องจาก 
    • Sales หรือ ยอดขาย นับว่าเป็น "เหตุ" ในการประกอบธุรกิจ ส่วน Earning หรือ กำไร นั้น เป็น "ผล" ซะมากกว่า คือเกิดขึ้นทีหลัง โดยเฉพาะบริษัทที่เพิ่งเริ่มประกอบธุรกิจ หรือบริษัทที่ขยาย Line การผลิตใหม่ ก็มักจะมีต้นทุนต่างๆ ในการ Start-up ทำให้กำไรอาจดูน้อยในช่วงต้น และจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น (หากมาถูกทาง) การลงทุนในหุ้นก็เหมือนการทำธุรกิจ คือจะต้องมองดูยอดขาย และอัตราการทำกำไรด้วย
    • บริษัทที่ประสบการขาดทุนชั่วคราว หรือพวก Commodity บางทีก็ดู PE ลำบาก เพราะปีนั้นๆ อาจมี Earning น้อยมาก หรือติดลบ การใช้ PSR ดูประกอบกับการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ก็อาจช่วยได้ดี
  •  หากลองนำ PSR มา ดูความสัมพันธ์เทียบกับ Net Profit Margin-NPM (อัตรากำไรสุทธิ) ของบริษัทก็จะได้ข้อมูลที่น่าสนใจ ตามตารางด้านล่าง
    • ข้อมูลในตารางที่เป็นผลจากความสัมพันธ์ระหว่าง PSR และ NPM คือ ค่า PE
    • ตัวอย่างหากเราซื้อบริษัทที่ PSR = 1 และบริษัทนั้นมี NPM = 10% ก็จะได้ค่า PE = 10
      • PSR = Price/Sales = 1
      • NPM = Net Profit (Earning)/Sales = 10%
      • PE = Price/Earning = PSR/NPM = 10
    • จะเห็นได้ว่าหากเราซื้อหุ้นที่ PSR สูงๆ เช่น PSR มากกว่า 3 และหากบริษัทผลิตสินค้่าที่ทำกำไร ได้ 12% ก็จะทำให้มีค่า PE สูงถึง 25 เท่า สมมติว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหุ้นมี PE ที่ 15 เท่า ก็จะเห็นได้ว่า เราซื้อหุ้นในราคาที่แพงมาก และการที่บริษัทจะทำกำไรได้มากกว่า 12% ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ต้องเป็นธุรกิจที่ยอดเยี่ยมจริงๆ เท่านั้น
 
  • มีผลการศึกษาอีกส่วนหนึ่งว่า บริษัทขนาดเล็กอาจมี PSR อยู่ในช่วงที่กว้างมาก แต่พอบริษัทใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ค่า PSR ก็จะมีแนวโน้มที่ลดลง (ตลาดมักจะคาดหวังว่าบริษัทขนาดเล็ก จะเติบโตเร็วกว่าขนาดใหญ่ ก็จะให้ PSR ที่สูง)
  • หลักเกณฑ์ในการใช้ PSR ประกอบการซื้อหุ้น
    • ระวังหุ้น ที่ PSR > 1.5 และอย่าซื้อหุ้น PSR > 3
    • มองหา Super Company ที่มี PSR น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.75 
    • ขาย Super Company ที่มี PSR 3-6
    • สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ 
      • ซื้อ เมื่อ PSR  น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.4
      • ขาย เมื่อ PSR มากกว่าหรือเท่ากับ 2
    • สำหรับบริษัทหมวดอุตสาหกรรม (Commodity)
      • ซื้อ เมื่อ PSR  น้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.4
      • ขาย เมื่อ PSR มากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 ถึง 0.8 (ขึ้นกับคุณภาพกิจการ)
  • จริงๆ ยังมี PRR หรือ Price Research Ratio อีกด้วย โดยเหมาะสำหรับพวก Hi-Tech ซึ่งตลาดในเมืองไทย ไม่ค่อยมีบริษัทประมาณนี้ และไม่ค่อยเปิดเผยข้อมูลงบ R&D
  • สรุปหลักสำคัญ หากทำตามแล้ว โอกาสเจ็บตัว (ขาดทุน) จะน้อยลง อย่างมาก
    • ซื้อ เมื่อ PSR ต่ำ
    • หาก หา PSR ต่ำๆ ไม่ได้ ก็อยู่เฉยๆ

3. การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
  • อันนี้เป็นสิ่งที่ตกทอดมาจาก Phil. Fisher ผู้พ่อ อย่างครบถ้วน ทั้งเรื่อง Scuttlebutt, การพบปะพูดคุยกับผู้บริหาร เป็นต้น ซึ่งผมว่า อ่านหนังสือ Common Stocks and Uncommon Profits จะได้อรรถรสมากกว่า
  • มีเรื่องการวิเคาะห์อัตราการทำกำไรของบริษัท ใครสนใจลองหาอ่านเพิ่มเติมดูครับ
ตัวเลขต่างๆ เป็นของเมืองนอก อาจต้องประยุกต์ใช้บ้างนะครับ PSR คงไม่เป๊ะๆ ขนาดนั้น และอ่านจบแล้วลองไปตรวจสอบ Port กันดูว่ามี Super Stock รึยังนะครับ!!

อ่านต่อ ภาค 2 >>

No comments:

Post a Comment