Tuesday, April 12, 2011

สุข ทุกข์ ตัวเดียวกัน


บทความนี้คัดมาจากหนังสือ "ปัญหาไม่มา ปัญญาก็มี" ซึ่งได้รับมาจากรุ่นพี่ที่บริษัทครับ  โดยอ่านบทแรกก็ได้แนวคิดที่โดนใจ  เลยขอ Share เนื้อหาบทนี้เต็มๆ แบบไม่มีตัดทอน ครับ

สุข ทุกข์ ตัวเดียวกัน  หลายคนบอกว่า  ความสุขกับความทุกข์  เป็นสิ่งตรงกันข้ามกัน  ความรู้สึกก็ไม่เหมือนกัน  และก็ไม่มีใครเลือกเป็นทุกข์  ทุกคนชอบและขวนขวายให้ได้ความสุขมาเป็นของตัวเองกันทั้งนั้นให้ได้ความสุขมาเป็นของตัวเองกันทั้งนั้น  แต่น้อยคนที่จะมองเห็นอย่างทะลุปรุโปร่งว่าแท้จริงแล้ว  ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ก็คือตัวเดียวกัน  ที่เรามองเห็นว่าสุข  ที่จริงคือความทุกข์ที่ได้รับการตอบสนอง  ทำให้ความทุกข์ที่เคยมีนั้นลดน้อยลง  ทุกๆอย่างมีเหตุผลเป็นตัวที่ทำให้เกิดขึ้น
ตัวอย่างง่ายๆ  เวลาที่ร่างกายต้องการพลังงาน  เกิดอาการหิวก็ต้องกิน  ความหิวคือความรู้สึกทุกข์  เมื่อหาอาหารมากินจนอิ่ม  เท่ากับว่าได้บำบัดระงับความทุกข์นั้น  แต่คนเรามักมองไม่ออกหรือคิดไม่ทันคิด  จึงคิดเอาเองว่ากินเพื่อความสุข  แต่ที่จริงความสุขจากการกินมันอร่อยแค่ตรงลิ้น  พอกลืนลงคอไปแล้ว  ความอร่อยก็ถูกกลืนไปด้วย  ที่เรารู้สึกว่าเป็นความสุขจังอร่อยจังก็เพราะความทุกข์  ความหิว  ความอยาก  มันได้รับการบำบัดไปชั่วขณะหนึ่งจึงรู้สึกสบายขึ้น  จนพาลหลงกันไปว่าเรามีความสุข  พอสักพักเมื่อความทุกข์มันก่อตัวขึ้นมาอีก  เช่น  เรื่มหิวขึ้นมาอีก  หรือไม่หิวแต่ไปเจออาหารที่ดูน่าทาน  หรือได้ยินคนอื่นชื่นชมว่าร้านนั้นร้านนี้อร่อย  เราก็เกิดความอยากขึ้นมาอีก  เราก็จะวิ่งหาสิ่งนั้นมาบำบัดอีก  ที่เราเข้าไปติดใจมัน  เพราะเรากำลังติดความรู้สึกที่คิดปรุงแต่งไปตามความต้องการของเราเอง  แม้บางคนจะบอกว่า  ความอยากของเค้าก็ไม่ได้ทำความเดือดร้อนให้ใคร  เพราะมีปัจจัย (เงิน) พร้อมแลกเอาความรู้สึกเป็นสุขมา  แต่ถ้าเราลองแยกแยะความเป็นจริงโดยใช้สติและปัญญา  เราก็จะเข้าใจและรู้จักความพอดี  พอใจในสิ่งที่เรามีอยู่  ไม่หลงทางไปกับอำนาจของกิเลสที่จะวนไปวนมาไม่สิ้นสุด
   พระอาจารย์ ว.วชิรเมธีกล่าวว่า  เราจะบริโภคปัจจัยสี่ด้วยคุณค่า 2 คุณค่า  คือ  1.คุณค่าแท้  2.คุณค่าเทียม  คุณค่าแท้ก็คือประโยชน์ที่แท้จริงของสิ่งนั้น  ส่วนคุณค่าเทียมคือประโยชน์แฝงของสิ่งนั้น  พระพุทธศาสนาสอนให้เราใช้ชีวิตอยู่กับคุณค่าแท้  ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม  ยารักษาโรค  ยานพาหนะ  บ้าน  ฯลฯ  เช่น  เรามีรถ  คุณค่าที่แท้จริงของรถ  คือใช้เป็นยานพาหนะ  ส่วนคุณค่าเทียมของมันก็คือ  ยี่ห้อนี้เป็นรุ่นที่เรานั่งแล้วตำรวจไม่กล้าจับ  หรือขับแล้วจากที่หน้าตาดูธรรมดาๆ ก็กลายเป็นสวย-หล่อขึ้นมาได้ในสายตาคนอื่น  ที่พูดนี้ไม่ได้หมายความว่า  การใช้ของแบรนด์เนมเป็นเรื่องผิด  ใช้ได้  ถ้าเรามีกำลังซื้อและไม่ไปเบียดเบียนใคร  แต่การที่จะใช้ชีวิตอยู่บนโลกโดยไม่รู้จักการใช้ชีวิต  โดยคำนึงถึงประโยชน์หรือคุณค่าที่แท้จริงของทุกสิ่งทุกอย่าง  จะทำให้เราเปลืองเวลา  เปลืองพลังงานความคิดไปกับวัตถุจนกระทั่งไม่มีเวลาทำอะไรเลย
   ในหลวงของเรา  ทรงใช้นาฬิกายี่ห้อใส่แล้วโก้ 40 ปี  ท่านไม่เปลี่ยนยี่ห้อ  ไม่ใช่ไม่เปลี่ยนเครื่อง  แต่ท่านยังใช้ยี่ห้อเดิมตลอด  ที่ไม่เปลี่ยนก็เพราะพระองค์เห็นว่า  ยี่ห้อนี้ใช้อย่างนี้มันมีประโยชน์มาก  ทรงคำนึงถึงประโยชน์เป็นหลัก  ไม่ได้ตามแฟชั่น  ท่านจึงเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้ชีวิตตามความจำเป็น  ไม่ใช่ใช้ชีวิตตามความพอใจ
   สุขหรือทุกข์  เป็นผลจากสิ่งที่เราสมมติขึ้นมา  สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นมันก็เป็นของมันอย่างนั้น  แต่เราเองต่างหากที่เป็นคนใส่ความรู้สึกลงไป  ถ้าสิ่งนั้นหรือเหตุการณ์นั้น  เราชอบ  เราถูกใจ  หรือเป็นไปตามที่คาดหวัง  ก็คือความสุข
   ในทางกลับกัน  เราไม่ชอบ  ไม่ได้ดั่งใจ  ความทุกข์ก็จะบังเกิดขึ้นในใจเราทันที  เพราะฉะนั้น  จะสุขหรือทุกข์  เป็นผลจากสิ่งที่เราเลือกมอง  เหมือนกระดาษแผ่นใหญ่สีขาวที่มีจุดสีดำๆปรากฎอยู่  ซึ่งส่วนใหญ่ก็ยังเป็นพื้นสีขาว  ก็อยู่ที่ว่าเราจะเลือกมองแต่จุดสีดำๆ หรือพื้นที่สีขาวมากกว่ากัน

Saturday, April 2, 2011

"Approximately right >> precisely wrong"


ขอเริ่มต้น Blog แรก ด้วยแนวคิดดีๆ ที่ได้จากการอ่าน โดยตอนนี้กำลังเน้นการอ่านหนังสือเกี่ยวกับแนวคิดทางธุรกิจและการลงทุนในตลาดหุ้น
ตลอด 50 ปีมานี้ หากถามว่าใครคือนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ทุกคนคงคิดถึงชื่อ Warren Buffett ออกเป็นชื่อต้นๆ อย่างแน่นอน ผมก็เป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับแนวคิดในการลงทุนและการทำธุรกิจของ Buffett  เลยได้ลองศึกษาประวัติของ Buffett จากหนังสือและ Website ต่างๆ  พอดูข้อมูลหลายๆแหล่ง ก็พบว่า  Buffett จะทำเขียนแนวคิดดีๆในการลงทุนเอาไว้ในรายงานผลประกอบการประจำปีของบริษัท Berkshire Hathaway ผมก็เลยได้ลองดาวน์โหลดมาอ่านดู แล้วก็พบว่ามีแนวคิดที่โดนใจอยู่หลายเรื่องทีเดียว แต่ประเด็นที่จะขอนำมา Share ในวันนี้ อยู่ใน Annual Report ปี 2010 ประมาณหน้าที่ 21 คือประโยคที่ว่า :
“We would rather be approximately right than precisely wrong.”
ผมลองนำแนวคิดนี้มาคิดให้ละเอียดก็พบว่า  สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการลงทุนและการทำงานได้อย่างดีทีเดียว
อันดับแรก หากมองในแง่ของการลงทุนในตลาดหุ้น หากเทียบกับการที่คิดว่าเราจะเลือกลงทุนในบริษัทใดดี หรือลงทุนในหุ้นตัวไหน ก็คงต้องทำการบ้านมาก่อน โดยศึกษาพื้นฐานและปัจจัยที่จะทำให้บริษัทสามารถสร้างผลกำไรได้ ไม่ใช่ใช้วิธีคาดเดาไปเองว่าซื้อแล้วหุ้นน่าจะขึ้น เพราะมีผู้รู้แนะนำมาให้ซื้อหุ้นตัวนั้นตัวนี้ ซึ่งหากศึกษาการลงทุนแนว Value Investment หรือ VI นั้น มีสิ่งสำคัญที่จะต้องทำก็คือการประเมิน Intrinsic Value ของตัวหุ้น ซึ่งก็คือ บริษัทออกมาให้ได้ก่อน ซึ่งหากอ่านตาม Blog ต่างๆ ก็จะพบแหล่งความรู้มากมาย (ผมก็กำลังศึกษาอยู่ ยังไม่เชี่ยวชาญครับ)
สำหรับการประยุกต์ใช้ในชีวิตการทำงานนั้น บางทีเราอาจพบว่าการแก้ปัญหาบางอย่าง (จริงๆ คือ ปัญหาส่วนใหญ่) จะไม่สามารถเทียบกับทฤษฎี หรือวิชาการ ได้ 100% สิ่งสำคัญที่จะต้องทำในขั้นตอนการแก้ปัญหาก็คือ การรวบรวมข้อมูลเพื่อที่จะใช้วิเคราะห์ปัญหา และยิ่งกว่านั้นคือ การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้มาให้แน่ใจก่อน ไม่อย่างนั้น ต่อให้มีกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาที่ดีเพียงใด แต่หากข้อมูลที่ได้มาผิดทั้งหมด ก็จะทำให้สรุปผิดได้ง่ายๆ เลยทีเดียว เหมือนวลีภาษาอังกฤษที่ยังติดหูอยู่ทุกวันนี้ก็คือ “Garbage in, Garbage out” นั่นเอง
และพอดีช่วงเดือนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปอบรม วิชาทางสถิติเรื่อง Design of Experiment หรือ DOE เพื่อใช้หา Model สำหรับวางแผนการทดลองต่างๆ ซึ่ง อาจารย์ที่สอนก็ได้ให้แนวคิดอันหนึ่งซึ่งเป็นคำพูดของนักสถิติด้าน QC ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าค่อนข้างตรงกับ Buffett ทีเดียวครับ
"Essentially, all models are wrong, but some are useful" -George Box
ซึ่งแนวคิดก็คือ Model คณิตศาสตร์ ที่ได้จากการทำการทดลองแล้ววิเคราะห์ จะ ผิด ทั้งหมด คือ ไม่ได้ตรงเป๊ะ แต่ Model เหล่านั้นบางส่วน (จริงๆ แล้วคือ ส่วนใหญ่) จะให้ข้อมูลบางอย่างที่เป็นประโยชน์ได้
วันนี้ขอจบแค่นี้ก่อน และหากเพื่อนๆ คนไหน สนใจสามารถไปดาวน์โหลด Annual Report ของ Berkshire Hathaway มาอ่านกันได้ตาม Website ด้านล่างนี้ครับ