Saturday, November 21, 2015

INET ตอนที่ 2 : ย้อนประวัติศาสตร์ INET

มาต่อตอนที่ 2 กับบริษัท INET ครับ

*ใครพลาดตอนแรก ไปอ่านกันก่อนเลยที่ link ข้างล่างนี้ครับ*

INET ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1995 ในชื่อของ ศูนย์บริการอินเทอร์เน็ตประเทศไทย (Internet Thailand Service Center : ITSC) จนถึงปัจจุบัน ปี 2015 ก็มีอายุ 20 ปี พอดี ซึ่งพัฒนาการของบริษัท ที่ผ่านมา เป็นไปดังรูปข้างล่าง

ปี 1995 : ร่วมกันก่อตั้ง ศูนย์ให้บริการอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด(มหาชน)
ปี 1997 : เปลี่ยนเป็น บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด(มหาชน)
ปี 1999 : ขยายสาขาในการให้บริการ
ปี 2001 : ไอเน็ตเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด(มหาชน)
ปี 2004 : ไอเน็ตปรับภาพลักษณ์และ Logo ใหม่ด้วยสโลแกน Always by your side
ปี 2005 : ไอเน็ตลงทุนร่วมกับ NetBay และจัดตั้ง Mandala เพื่อทำธุรกิจ IP
ปี 2011 : สร้างศูนย์ IDC ตึกไทยซัมมิททาวเวอร์
ปี 2013 : ศูนย์ IDC ตึกไทยซัมมิททาวเวอร์ และบางกอกไทย ได้รับมาตราฐาน ISO 27001 รายแรกในประเทศไทย
ปี 2014 : เป็นผู้นำในการให้บริการ Cloud Service
ปี 2015 : ปัจจุบันไอเน็ตตอบรับกระแส Digital Economy ที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการสร้างคุณค่าในการขับเคลื่อนธุรกิจไอที และก้าวไปสู่ระดับ AEC
หากลองนำการดำเนินงานของบริษัท ไป map กับ ผลประกอบการ ดู จะได้ตามรูปข้างล่างนี้
จากผลประกอบการจะพบว่าสามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ
1) ปี 2000-2004 
- ช่วงนี้ถือเป็นยุคทองของ INET เลยก็ว่าได้ โดรายได้หลักของบริษัทมาจากการให้บริการ Full Internet Access เน้นลูกค้ากลุ่มธุรกิจ 
- ปี 2004 INET ลงทุน ในบริษัท NETBAY ผู้ให้บริการด้าน e-logistic โดยถือหุ้น 40%
- ปี 2004 INET ลงทุนใน mandala ผู้ให้บริการด้าน IP (เป็น บริษัทย่อย) 

2) ปี 2005-2011
- มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ที่กระทบธุรกิจของ INET ก็คือ การที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช) มีการประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการขอใบอนุญาตช่วงปลายปี 2005 ทำให้มีผู้ให้บริการอินเตอร์เนตเชิงพาณิชย์ เพิ่มจาก 19 ราย เป็น 82 ราย (ช่วงต้นปี 2007)
- ส่งผลให้อัตราการทำกำไรในการให้บริการ Business Access ลดลงต่อเนื่อง
- INET รับรู้ผลขาดทุนจากการตัดจำหน่ายค่าสัมปทานโครงการ In-store Advertising
- บริษัทมีการปรับตัว โดยการขยายงานด้าน Business Solution
- ปี 2011 ปีน้ำท่วมใหญ่ เป็นปีที่รายได้ของบริษัทลดลงอย่างมาก แต่ INET ก็เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ และได้ลงทุนปรับปรุง IDC ไป 80 ล้านบาท 

3) ปี 2012-ปัจจุบัน
- ปี 2012 มีการปรับเปลี่ยน ผบห. โดยแต่งตั้งคุณมรกต กุลธรรมโยธิน เป็น MD 
- INET เริ่ม Focus การให้บริการ Cloud แบบ Public ในไทยอย่างจริงจัง
- ปี 2013 ได้รับ ISO/IEC 27001 : 2005 บริการคลาวด์เป็นรายแรกของประเทศไทย
- ปี 2013  บริษัทได้ปรับเปลี(ยนโครงสร้างของบริษัทเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย โดย
ดําเนินการปิดสาขาในต่างจังหวัดลงทั้งหมด 7 สาขา
- ปี 2014 เน้นย้ำจุดยืน การเป็น ICT Infrastructure as a Service Provider
- ปี 2015 ผลประกอบการเหมือนจะ Turnaround กลับมาได้ โดยรายได้ด้าน IDC & Cloud เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ และมีการประกาศลงทุน IDC อีกแห่งใหม่ใกล้ โรงปูนแก่งคอย...


อย่างไรก็ตามสัดส่วนผู้ถือหุ้นของ INET หลักๆ ก็ยังเป็นรัฐวิสาหกิจ อยู่
การดำเนินงานต่างๆ อาจไม่คล่องตัวเหมือนบริษัทเอกชน
ทำให้ ต้องติดตามกันต่อไปว่า รัฐวิสาหกิจแห่งนี้ จะสามารถพลิกสถานการณ์ 
กลับไปสู่ช่วงรุ่งเรืองเหมือนในอดีตได้หรือไม่

*ผู้ถือหุ้น INET*
- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 17
- บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (“ทีโอที”) ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 16
- บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (“กสท”) ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 16
- พนักงานและผู้ลงทุนทั่วไปถือหุ้นในอัตราร้อยละ 51


ตอนหน้ามาต่อโอกาสทางธุรกิจในอนาคตกันครับ 
ทั้งการงทุน IDC แห่งใหม่ (รออ่านเอกสารจาก FA อยู่), การขยายตัวด้าน Cloud, และ IPO NETBAYฃ

4/12/15 : อ่านต่อ ตอนที่ 3 ครับ

Friday, November 20, 2015

TCMC กับการลงทุนในคุณ พิมล ศรีวิกรม์

TCMC เป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทที่ผมไปประชุมผู้ถือหุ้นด้วย (สำหรับปีนี้)
ปกติ จะใช้วิธี อ่านข้อมูลต่างๆ แล้วก็ search google บวกนั่งเทียนจินตนาการเองอีกเล็กน้อย ;p

จุดที่น่าสนใจสำหรับ TCMC ก็คือ คุณพิมล ศรีวิกรม์ หลังจากวางมือทางการเมือง
เลยจัดสรรเวลา มาบริหารบริษัท TCMC ให้เจริญเติบโต

จากบริษัทเดิม TCMC เป็นบริษัท พรมธรรมดาๆ สำหรับโรงแรมต่างๆ ซึงดูธุรกิจแล้วน่าเบื่อมากๆ
พอคุณพิมลเข้ามาบริหาร ก็ไปซื้อ TCH กลับคืนมา
(เดิม TCMC มีหุ้น TCH อยู่แล้วแต่ขายให้ partnerชาวญี่ปุ่น  ไปช่วงวิกฤต)
ซึ่ง TCH ก็ทำพรมเหมือนกัน แต่ดีกว่าหน่อย ที่เป็นพรมสำหรับรถยนต์ ยอดขายยังดีเรื่อยๆ และกำไรค่อนข้างดี TCMC ซื้อหุ้นกลับมาในราคาที่ถูกมากๆ
และจุดเริ่มต้นที่ได้มีโอกาสไปประชุม EGM ก็เกิดจากการอ่านข่าวใน set.or.th ว่า TCMC จะ Takeover ALSTONS ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิต โซฟา ในประเทศอังกฤษ
ที่น่าสนใจคือ การใช้วิธี LBO หรือ Leveraged Buyout คือ การกู้เงิน มาลงทุนเพื่อซื้อกิจการ
ซึ่งหากดอกเบี้ยสูงๆ คงไม่สนุก แต่ช่วงนี้ Eurozone มีการทำ QE อย่างหนัก ดอกเบี้ยคงไม่ขึ้นง่ายๆ แน่ๆ
และ ALSTONS เอง ก็มีกระแสเงินสดที่ใช้ได้ ทำให้ Deal นี้ ดูเป็น Deal ที่น่าสนใจ
นอกจากนี้การซื้อ ALSTONS ก็ทำให้ TCMC ดูไฮโซขึ้นมานิดนึง กลายเป็นบริษัท "Sofa & Carpet"

หลังจาก EGM งบก็ออกมาได้ 2 ไตรมาสละ
โดยรวมยัง Align กับที่บอกไว้ตอนประชุมพอสมควร
รอดูผลงาน คุณพิมล ต่อไปเรื่อยๆ ครับ

ส่วนความเสี่ยงที่ต้องติดตามดู ก็คือ เรื่องอัตราดอกเบี้ย ว่ายังคงต่ำติดดินแบบนี้ต่อไปไหม
และ Cash Flow ของกิจการ ซึ่งหาก Clear หนี้ที่กู้มาไปได้ซักครึ่งนึง ก็น่าจะเริ่มเขมือบ บริษัทอื่นๆ ต่อไปได้

ส่งท้าย ขอแปะเนื้อหาตอนประชุม EGM ที่สรุปไว้ใน ThaiVI มาลง Blog หน่อยละกันครับ


**สรุป EGM TCMC วันที่ 12/6**
ขอสรุปรวมๆกัน ทั้งนำเสนอและ Q&A ละกันครับ
1. สาเหตุที่ซื้อ Alstons- คุณพิมล และ ม.ล.วัลลีวรรณ พบ deal นี้โดยบังเอิญ ตอนไปอังกฤษ- Alstons เป็นธุรกิจที่ดี ฐานะทางการเงินดี- สามารถ Synergy ได้ เช่น TCMC export พรมไปขาย ที่ UK ตาม Connection ของผบห. Alstons หรือ Alstons จะ Export โซฟาไปยังตลาดที่ TCMC ขายพรมอยู่ ก็ได้ เช่น ตะวันออกกลาง, USA, ASIA- มีโอกาสในการขยาย line การผลิตโซฟาที่ทำจากหนัง -> รอบนี้ ผบห.Alstons มาประชุม EGM ที่ไทย เลยได้มีโอกาสไปดูแหล่งแปรรูปหนัง ที่จังหวัดสมุทรปราการด้วย
2. Alstons ทำการผลิตแบบ Made to order โดยส่ง Catalog ไปให้ร้านค้าปลีก และ Buying group พอได้รับคำสั่งซื้อจึงเริ่มผลิต 
3. IFA ไปดูโรงงานของ Alstons ที่ประเทศอังกฤษ พบว่า โรงงานมีความทันสมัย พนักงานทำงาน Happy
4. การเจรจาต่อรองราคาซื้อขายกิจการ ของ TCMC และ Alstons ใช้วิธี EV/EBITDA ประกอบการพิจารณา ส่วนการประเมินของ IFA ใช้วิธี DCF ซึ่งใส่สมมติฐานแบบ Conservative
5. Goodwill ที่อยู่ในรายงาน IFA ยังไม่ใช่เลข Final ต้องรอจบ Deal ซื้อขาย แล้วทาง TCMC จะจ้างที่ปรึกษาประเมิน Goodwill ภายใน 6 เดือน โดยจะมีการ ประเมินด้อยค่า Goodwill ทุกปี แต่จะไม่ลงค่าตัดจำหน่าย
 
6. ผบห Alstons ทั้ง 3 ท่าน จะยังอยู่บริหารกิจการต่อไปอย่างน้อย 3-7 ปี (เซ็นต์สัญญาไว้แล้ว) 
7. ประวัติการจ่ายปันผลของ Alstons ที่ผ่านมา ปีที่แล้วจ่ายไป 2.3 ล้านปอนด์ (จ่ายจากกำไรสะสมด้วย) โดยคิดเป็นประมาณ 60% ของกำไร, ธุรกิจ Alstons ถือเป็น Cashcow
8. การกู้เงินมาลงทุนใน Alstons ทาง TCMC พิจารณามาอย่างรอบคอบแล้ว เดิม TCMC แทบไม่มีหนี้ และหารือกับ แบงค์กรุงเทพ แล้ว น่าจะไม่มีปัญหาการจ่ายดอกเบี้ย โดย IFA ประมาณการดอกเบี้ยจ่ายของ TCMC Furniture ที่ 66 MB (11 ล้านปอนด์ ที่ 4.5%, 13 ล้านปอนด์ ที่ 3.5%, +Shareholder loan)
9. ปัจจุบัน Alstons มี Market Share เป็นลำดับที่ 7 ในอังกฤษ โดยสภาพตลาด Furniture เป็นตลาดใหญ่ และ market share กระจายกัน โดยเบอร์ 1 มียอดขาย ประมาณ 80 ล้านปอนด์ ส่วน Alstons ประมาณ 24 ล้านปอนด์
 
10. ที่ตั้งของ Alstons อยู่ที่ Colchester หากจาก สนามฟุตบอลของทีม Reading พอสมควร (ตระกูลศรีวิกรม์ ถือหุ้นใหญ่) 
11. กรรมการอิสระทั้ง 3 ท่าน เห็นด้วยกับ deal นี้ โดยมีข้อกังวล/เสริม บ้างคือ- Performance Alstons ในอนาคตอาลไม่เป็นไปตามแผน แต่ที่ผ่านมาก็กำไรมาโดยตลอด- กังวลเรื่องดอกเบี้ย แต่จากแผนธุรกิจ น่าจะชำระดอกเบี้ยได้- การตกลงรายละเอียดกับ ผบห Alstons ทำได้รัดกุมดี 
12. สาเหตุที่ Alstons ที่ผ่านมา ยังไม่มีการส่งออก เพราะ ผบห อยาก Focus ตลาดในประเทศ เพราะตลาดใหญ่มาก แต่ หลังจากนี้ TCMC ก็เห็นโอกาสที่จะส่งออก โซฟา ไปขายให้กับลูกค้าที่ซื้อพรม 
13. การดำเนินการซื้อ Alstons หาก ผถห อนุมัติ จะจบดีลในวันที่ 19/6 นี้ โดยจะ consolidate เฉพาะงบแสดงฐานะทางการเงินใน Q2 นี้ ส่วนงบกำไรขาดทุน จะรวมใน Q3
14. ประเด็นการย้ายฐานการผลิตโซฟามายังไทย ยังไม่พิจารณาตอนนี้ เพราะการผลิตโซฟา ต้องใช้ skill มากพอสมควร และการผลิตในอังกฤษถือเป็นข้อดีด้วย (Made in UK) และกลุ่มลูกค้าของ Alstons เป็น B+ จะส่งต่อภาพลักษณ์ของ Brand ด้วย ส่วนสินค้าจากจีน ส่วนใหญ่กลุ่ม C
แต่ส่วนที่ไทยจะ Support ได้ น่าจะเป็นส่วนประกอบของ โซฟาหนัง, การส่งออกหนัง, หรือผ้าจากไทยได้ แต่เดิม Alstons ซื้อผ้าจาก Italy
15. Back-up plan หากผลประกอบการ Alstons ไม่เป็นไปอย่างที่คิด- ในแง่การเงิน มีเรื่อง Warrant เดิมที่ออกไว้แล้ว น่าจะ Support ได้ และทำ Sensitivity ไว้แล้ว สถานะการเงินทั้งคู่ไม่เป็นปัญหา- ในแง่การตลาด ที่ผ่านมาทำได้เข้าเป้าตลอด หากแย่จริง อาจหาตลาดส่งออก
 
16. การทำตลาด ASIA, ตะวันออกกลาง ต้องศึกษาเพิ่มเติม 
17. Capacity ปัจจุบันของ Alstons = 35,000 suite/ปี (1 suite = 5 ที่นั่ง) แต่เครื่องจักรปัจจุบันรองรับการขยายไปที่ 50,000 suite/ปี โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม เพียงแค่ต้องจ้างแรงงานเพิ่ม 
18. Breakeven period ที่ IFA ประเมิน คือ 10 ปี (conservative) แต่ TCMC และ Alstons มองเป็น EBITDA และคิดว่าเร็วกว่า 10 ปี (มอง 5-6 ปี) 
19. การซื้อขายกิจการ สาเหตุที่ต้องออก Shareholder loan เพราะต้องการดึงเงินลงทุนกลับ TCMC ให้เร็วที่สุด และต้องการ Minimize Tax ในการซื้อขายกิจการด้วย20. การจ่ายเงินปันผล ของ TCMC Furniture สามารถทำได้ ไม่ต้องเคลียร์หนี้หมด หากผลประกอบการดีกว่าที่คาด 
21. CFO Alstons บอกให้ลองคิดภาพแบบง่ายๆ ว่า ลงทุนใน Alstons ใช้เงิน 760,000 ปอนด์ ที่เหลือกู้เอา พออีก 5 ปี มูลค่ากิจการ Alstons เพิ่มจาก 25 ล้านปอนด์ เป็น 30 ล้านปอนด์ และจ่ายหนี้หมด ผลก็คือ เงินลงทุนเดิมของ TCMC ก็โตจาก 760,000 ปอนด์ เป็น 30 ล้านปอนด์(ต้องคูณ x76% ด้วย) (แบบว่าโลกสวยนิดนุง) 
22. TCMC มีการว่าจ้างบริษัท RPL ศึกษา due diligence พบว่าสาเหตุที่ ผลประกอบการ Alstons โตต่อเนื่อง มาจากกลยุทธ์ของ ผบห.ใหม่ทั้ง 2 ท่าน Strategy มีความ Solid โดย IFA ช่วยเสริมรายละเอียดกลยุทธ์ได้แก่- Cost control- Production control- เพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า 
23. การเอา TCMC furniture list ที่ UK ต้องศึกษาเพิ่ม (ยังไม่ได้คิด) 
24. อัตราแลกเปลี่ยนในการซื้อกิจการ มีการซื้อ Forward ไปแล้ว 11 ล้านปอนด์ ที่ rate เฉลี่ยประมาณ 50.8 บาทต่อปอนด์ 
25. เสริมนอกรอบจาก IFA บอกว่า ผบห ของ Alston ทั้ง 2 ท่าน (CFO และ Marketing) เก่งมากๆ

ต่อด้วยของคุณ wind77
1. ก่อนประชุมคุยกับผู้บริหาร ALSTON ท่านที่ใส่แว่นแต่ไม่ใช่คนสกินเฮด น่าจะเป็นคุณ Andrew ผู้อำนวยการฝ่ายขายครับ ว่าความสามารถของ ALSTON นั้นสามารถสร้างยอดขายได้ถึงระดับไหน คุณ Andrew บอกว่าระดับ 40-45 ล้านปอนด์ น่าจะทำได้ภายในไม่เกิน 5 ปี และบอกว่า 40 ล้านน่าจะทำได้แบบง่ายมาก (แกใช้คำว่า very easy)ผมเลยจับมาประกอบกับตัวเลขที่ได้ในการประชุมว่าปัจจุบันผลิตปีละ 35000 suite และสามารถรองรับยอดขายได้ถึง 50000 suite ถ้าเอายอดขายปีที่พึ่งจบ 28 ล้านปอนด์ หาร 35000 suite จะได้ประมาณ suite ละ 800 ปอนด์ ผมเลยเดาว่าตัวเลขยอดขายที่บอกว่า 40 ล้านปอนด์ทำได้ น่าจะเกิดจากเอา 50000 suite เต็มกำลัง คูณราคาเฉลี่ย 800 ปอนด์ครับผู้บริหาร ALSTON นี่เค้าก็สื่อสารกับนักลงทุนง่ายดีนะครับ ธุรกิจโซฟาบอกจำนวนคูณราคา จบดังนั้นความเป็นไปได้ของ ALSTON คือยอดขายผู้บริหารพยายามผลักด้นให้เพิ่มจาก 28 ล้านปอนด์เป็น 40 ล้าน ถ้า NPM ~10% ใกล้ๆเดิมกำไรคงเพิ่มจาก 2.7 ล้านปอนด์เป็น 4 ล้านปอนด์ +- น่าจะเป็นความสามารถการทำกำไรของ ALSTON ในอนาคตและสัมพันธ์กับ EBITDA 4-5 ล้านปอนด์ที่คาดว่าจะนำมาชำระหนี้ครับด้านดีคือตัวเลขที่คุยกันทั้งในรอบนอกรอบ เร็วกว่าที่ IFA ประเมิน conservative ไว้ ก็หวังว่าจะทำสำเร็จ แต่มีด้านลบซ่อนอยู่นิดนึงคือถ้าสังเกตดีๆ ALSTON ภาษีจะต่ำกว่าปกติ (effective 8% ทั้งๆที่ uk corporate tax ประมาณ 20%) ผมก็ถามว่าทำไม ได้คำตอบว่ามี tax loss carry forward จากการขาดทุนสะสมของ ALSTON cabinet ในอดีตที่นำมาใช้ลดภาษีได้อยู่อีกสักพัก แต่ไม่ได้บอกว่ากี่ปีครับ) วันนึงถ้าใช้หมดแล้วคงเสียภาษีเต็ม แต่หวังว่ากำไรคงเพิ่มมาชดเชยได้ทันเวลาครับ
 
2. คุยกับท่านประธานกรรมการ คุณพิมล ศรีวิกรม์ ถามท่านว่าแผนขยายกิจการเป็นอย่างไร ก็ได้ความว่าท่านก็มีแผนจะขยายธุรกิจต่อครับ โดยจะเน้นลักษณะคล้ายๆกับที่ผ่านมาคือซื้อธุรกิจที่ทำอยู่แล้ว ได้มาแล้วมีผลต่อยอดขายและกำไร สามารถขยายงานได้เลย จะไม่เอา greenfield เพราะใช้เวลานานกว่าจะตั้งธุรกิจได้ เพราะบริษัทไม่ได้ขยายธุรกิจมานานก็อยากให้มีการเติบโต โดยจะพยายามให้ได้ก่อนเกษียณ เพราะท่านอยากเกษียณเร็วหน่อย เผื่อจะมีเวลาท่องเที่ยวบ้าง (ปัจจุบันท่านอายุ 51 ปี ในแง่การเกษียณอายุ ถ้าอายุทำงานคง 60 ปีก็อีกไม่นาน แต่ผมว่าน่าจะหมายถึงอายุเกษียณในแง่ของประธานกรรมการมากกว่าครับ เพราะคุณแม่ท่านประธานก็ดำรงตำแหน่งถึงอายุ 70 กว่าปีครับ ตรงนี้พยายามจับประเด็นก็ได้ดังนี้- การขยายงานคงพยายามทำเร็วที่สุดก่อนท่านเกษียณ ใน 2-3 ปีนี้ก็ถือว่าเร็วติดจรวดมากครับ รวมดีลนี้รายได้ก็โตมา 300% หวังว่าท่านประธานจะยังอยู่นานๆครับ- แนวทางการขยายงานทั้งที่ท่านประธานสื่อสารมาในสารจากประธานกรรมการใน Annual Report, รายงานการประชุม, รายการ Money Talk ยังคงชัดเจน หนักแน่น แนวทางเดิม และผลักดันออกมาได้จริงครับ- จากการขยายงานสองครั้งที่ผ่านมา เห็นภาพคำที่ท่านประธานบอกว่าเน้น shareholders value ขึ้นมากครับ 
3. เรื่องของภาระดอกเบี้ยที่่ IFA ชี้แจงว่า 60 กว่าล้านนั้น รวมส่วนที่ management ของ ALSTON ต้องรับภาระเข้าไปด้วยครับจึงมากกว่าที่จะมีผลต่องบ TCMC จริงๆหน่อยนึง ส่วนตัวเลขจริงไตรมาสสามคงได้เห็นกันครับ 
4. งานพรมที่วัง Emirates ผมถามพนักงานด้านนอก เค้าบอกว่างานนั้นส่งมอบไปแล้วและลูกค้าชอบ แต่พอผ่านไปสักพักมีการขยายวังขึ้นอีกหลายเท่าตัว และบริษัทได้ยื่นประมูลงานไปและก็ได้งานมาอีกซึ่งจะทำและส่งมอบเพิ่มเติมยังไม่เสร็จ (ส่วนตัวเลขเท่าไรกับว่าส่งมอบเมื่อไรผมไม่กล้าถามต่อครับ) บริษัทมีพนักงานประจำอยู่ที่โน่นเลย เราคงต้องรอดูกันในไตรมาสต่อๆไปครับว่ามีผลลัทธ์มากน้อยแค่ไหนครับมีหลายๆเรื่องที่ยังต้องรอตัวเลขให้ confirm แต่ไตรมาสสามน่าจะทำให้เห็นภาพของบริษัทชัดเจนขึ้นหลังรวมงบ ALSTON เข้างบแสดงผลการดำเนินงานครับ 
ปล. ส่วนตัวชอบผู้บริหาร ALSTON ครับ ทั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและวิธีการสื่อสาร เป้ารายได้ (28 เป็น 40 ล้านปอนด์) จำนวนโซฟา (35000 เป็น 50000 suite) มูลค่ากิจการ (30 ล้านปอนด์ เป็นของ TCMC 76% = ~22.8 ล้านปอนด์ = ~1140 ล้านบาท ใน 5 ปี โดยที่ไม่ต้องเพิ่มทุน) แถมธุรกิจนักลงทุนทำความเข้าใจได้ง่ายด้วยครับ แต่อาจจะอยู่ไกลไปสักนิดนึง  

Monday, November 16, 2015

GLOBAL Oppday 3Q15

Wrap up Global House จาก Oppday

ช่วงนำเสนอ
- sssg yoy 3M = -4.5%, 9M = +0.2-0.3%, ปัญหาหลักๆ คือราคาสินค้ากลุ่มเหล็ก ลงจากปีที่แล้ว และยอดขายสินค้าก่อสร้างลดลง
- ในอนาคต ราคาสินค้าหลายๆ ตัวลดลง ทำให้ sssg Q4 และปี 2016 ไม่สวยหรู - New Normal (สินค้ากลุ่มปูนซีเมนต์ และวัสดุเกี่ยวเนื่อง แนวโน้มลดลง) แต่ GPM และ NPM ยังรักษาได้
- GPM ทำได้ค่อนข้างดี 17.6% หลักๆจาก Product Mixed เปลี่ยน (สินค้า Margin ต่ำขายลดลง)
- กลยุทธ์ปี 2016
  1) ขยายสาขา
  - ปีนี้คาดว่าเปิดได้ 6 สาขา พลาดเป้าไป 1 สาขา คือ สาขาศาลายา (เข้า กทม. ครั้งแรก ปรับแบบพอสมควร)
  - ปีหน้าเปิด 1+7 = 8 สาขา เน้นเปิด Q2-Q3
  - ลงทุนที่ลาว Souvanny ปัจจุบัน GBI ถือ 40% หลัง IPO จะเหลือ 34%
  2) พัฒนา Existing Network
  - DC ได้เปิดใช้ปี 2016 แน่นอน
  - Product & Service Management focus housebrand

Q&A
1. สัดส่วนลูกค้า : โครงสร้าง 30-35%, Shopping Area 65-70% / กลุ่มลูกค้ามีทั้งเจ้าของบ้านและผู้รับเหมา
2. สาขาที่ศาลายา อยู่ติดคู่แข่ง เรียงกัน 3 brand เลย, มีการปรับแบบในการจัดการสินค้าโครงสร้าง, ส่วนที่เป็น shopping area เหมือนเดิม (แต่มีการเพิ่มสินค้า บางรายการ)
3. ภาพรวมธุรกิจก่อสร้าง
- Q4 ปีนี้ รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ 100,000 ล้าน กองทุนหมู่บ้านทั้งหลาย น่าจะเริ่มใช้ปลายเดือน Nov15 พร้อมกับเงินที่ได้จากการเก็บเกี่ยวข้าว บรรยากาศดีกว่าปีที่แล้ว
- ปี 2016 รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ตจว. รู้สึกว่ากำลังซื้อเริ่มกลับมา แต่ธนาคารพาณิชย์ก็ยังระมัดระวังในการปล่อยกู้, คณวิทูรคิดว่าปี 2016 น่าสร้างบ้านมากที่สุด ราคาปูน ลดจากถุงละ 100 เหลือ 88 บาท, ราคาอิฐมวลเบา ลดจาก 25 เหลือ 14-15 บาท, เหล็ก เคยสูงสุด 30 บาท เหลือ 11 บาท (เหล็กเส้น) เท่ากับราคาปี 2540
4. การเติบโตของยอดขายปีหน้า ต้องรอดูราคาวัสดุก่อสร้าง, ส่วน Margin ยังเชื่อว่าปีหน้ายังรักษา Margin ระดับ Q2-Q3 ปี 2015 นี้ได้ (คาดว่าประมาณ 18%)
5. Private Brand ใน Q3 เดือนที่สูงสุดอยู่ประมาณ 13%, ปีที่แล้ว 9.5%
6. สินค้าคงเหลือ ช่วงฝนตก สินค้าโครงสร้างจะขายได้ลดลง
7. Souvanny ที่ลาว ถือว่าเป็น ผู้นำวัสดุก่อสร้างแบบ Modern Trade โดยมี Store ใหญ่ๆ 2 store และ เล็กๆ 2 store เดิมเน้นสินค้า Home Improvement, กำลังจะ IPO ต้นเดือน Dec15, ภาพรวม GPM ถือว่าใช้ได้, NPM ไม่แพ้ Global House, โดยกฎหมายเพิ่งอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นค้าปลีก, ที่ผ่านมาธุรกิจมีกำไรตลอด และยังมีกำไรสะสมอยู่
8. การขยายธุรกิจกับ Souvanny จะนำของ Global House ไป Implement, จะมีการนำสินค้า House Brand ของ GBI ไปให้ Souvanny ขายด้วย, Software ใช้ตัวเดียวกัน, Sale per store ถือว่าดี, ตลาดเวียงจันทร์ยังมี Room อีก (น่าจะตั้งได้ 5-7 store)
9. sssg แนวโน้ม Q4 ใช้ได้
10. DC อีก 15 วัน ตอกเสาเข็มเสร็จ, อีก 7 เดือน ติดตั้งตัวอาคารและระบบเสร็จ, มี Capacity ในการจัดเก็บ 40,000 กว่า pallet
11. แผนขยาย ตปท. ก็ CLMV แต่ต้องไปผ่าน GBI
- พม่า เพิ่งเริ่มมี Modern Trade
- ลาว มี แต่ขายเฉพาะอย่าง, ปีหน้าอยากขยาย 4-5 สาขา
- กัมพูชา กำลังหาที่ดิน GBI ลงทุนเองได้ แต่หากมี Strategic Partner ก็จะดี (กฎหมายเปลี่ยนเร็ว) ธุรกิจเดินด้วย connection
- Synergy คือ การขายสินค้าไปให้ Strategic Partner, และสามารถใช้ DC ของ GLOBAL ได้
- คุณวิทูร มองว่า หากมีระบบการจัดการที่ดี สามารถขยายทีละหลายๆ สาขาได้ แต่รอเรื่องกฎหมายอยู่, พอจบ 3 ประเทศ จะถือว่ามี Store ที่ Coverage Area ใหญ่มาก มี Center ที่ไทยคอยติดต่อผู้ผลิต สามารถไปคุยกับ Supplier ทำสินค้า House Brand ได้เพิ่ม
12. House Brand ถือเป็นกลยุทธ์หลัก มีการเพิ่มทีมงาน Sourcing, จะมี New Item เพิ่มมากขึ้น, แต่ค่าเงินบาทอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินหยวน, โดยซื้อเป็นเงิน RMB ทั้งหมด
13. SG&A ไม่ค่อยน่าห่วง โดย swing ตามยอดขาย Target 11%
14. GPM เป็นเรื่องท้าทาย
- ปรับราคาเพิ่มขึ้นทำได้ยาก
- กลยุทธ์คือ Product mix, และเพิ่มสินค้า House Brand
- ใช้การจัดซื้อโดยตรงจากโรงงานตัดพ่อค้าคนกลางออกไป shift direct จาก factory to outlet

-end-

Sunday, November 15, 2015

พระภิกษุที่กลายเป็นมหาเศรษฐี


นายคาซูโอ อินาโมริ (Mr. Kazuo Inamori) ผู้ก่อตั้งและประธานกิตติคุณของบริษัท เคียวเซอรา คอร์เปอเรชัน นักบริหารธุรกิจผู้มากความสามารถจนรัฐบาลญี่ปุ่นต้องไปขอร้องถึงออฟฟิศให้มาช่วยพลิกฟื้นสายการบินแจแปนแอร์ไลน์ส (แจล) ตอนที่ขาดทุนอย่างหนักซึ่งขณะนั้นเขามีอายุ 77 ปีแล้ว
นายอินาโมริ เป็นมหาเศรษฐีที่เคยตัดสินใจทิ้งธุรกิจเพื่อเข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์บวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนานิกายเซ็นอยู่ระยะหนึ่ง
นอกจากเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทเคียวเซอราฯ ซึ่งเป็นผู้ผลิตเซรามิกเทคโนโลยีสูงในปี 2502 แล้ว นายอินาโมริ ปัจจุบันอายุ 83 ปี ยังก่อตั้งบริษัทโทรศัพท์ KDDI ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่า 64,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 2.3 ล้านล้านบาท) และเป็นผู้ผ่าตัดสายการบินแจลที่กำลังจะล้มละลายในปี 2553 จนกลับมามีกำไรภายในปีเดียว ทั้งที่ไม่มีประสบการณ์ในการบริหารสายการบินมาก่อน กลายเป็นผู้บริหารธุรกิจที่เก่งกาจที่สุดคนหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นมีสินทรัพย์สุทธิหลายหมื่นล้านบาท
ปูมหลังระบุว่าหลังจากทำงานหนักอยู่นานจน บริษัท เคียวเซอรา ตั้งมั่นได้แล้วนายอินาโมริ ลาออกจากตำแหน่งบริหารและเป็นประธานอย่างเดียวเพื่อไปบวชเป็นพระภิกษุในปี 2540 อาศัยอยู่ในวัดระยะหนึ่ง ก่อนจะสึกและกลับเข้าสู่วงการธุรกิจอีกครั้งและกลายเป็นนักบริหารที่มีปรัชญาในการบริหารที่น่าศึกษามากที่สุดคนหนึ่งของโลก
ความจริงคุณอินาโมริ เลื่อมใสในพุทธศาสนามาตั้งแต่เป็นหนุ่มและใช้หลักศาสนาในการบริหารธุรกิจมานานแล้ว ซึ่งสำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า มุมมองในการบริหารธุรกิจของผู้ก่อตั้งเคียวเซอราฯ ท่านนี้แตกต่างจากตำราบริหารธุรกิจของค่ายตะวันตกอย่างสิ้นเชิง
นายอินาโมริ พูดถึงหลักการบริหารธุรกิจที่เน้นไปที่ผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นสิ่งที่ผิดพลาด ‘ใช้เวลาทั้งหมดที่คุณมีอยู่ทำให้พนักงานบริษัทมีความสุข ถ้าคุณต้องการไข่ คุณต้องดูแลแม่ไก่ให้ดี ถ้าคุณทำร้ายหรือฆ่าแม่ไก่ คุณไม่มีทางได้อะไรที่ต้องการ’
ในการพลิกฟื้นสายการบินแจล ให้กลับมามีกำไร คุณลุงอินาโมริ ประกาศรับตำแหน่งซีอีโอ โดยไม่รับเงินเดือนจากนั้นก็พิมพ์สมุดเล่มเล็ก ๆ อธิบายถึงปรัชญาในการบริหารและใช้ชีวิตในวิถีพุทธแจกให้กับพนักงานทุกคน สอนให้พนักงานรู้จักถ่อมตนและทำในสิ่งที่ถูกต้องในชีวิตพร้อมกับทุ่มเทให้กับการเจริญเติบโตของบริษัท ซึ่งนายอินาโมริ ให้สัมภาษณ์บลูมเบิร์กในภายหลังว่า เขาต้องการเปลี่ยนวิธีการคิดของพนักงานทั้งหมดเพื่อทำให้พนักงานภูมิใจในตัวเองและพร้อมที่จะทำงานหนักเพื่อบริษัท
อินาโมริ พูดว่า ‘ผู้นำของบริษัทจะต้อง พยายามทำให้พนักงานทั้งหมดมีความสุขทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สิ่งนี้เป็นหน้าที่ของผู้นำองค์กร ไม่ใช่ทำงานเพื่อผู้ถือหุ้น’ และ ‘การทำให้พนักงานมีความสุข พนักงานจะทำงานดีมีประสิทธิภาพมากขึ้นและทำให้รายได้ขององค์กรเพิ่มและบริษัทไม่ควรจะละอายในการทำผลกำไรให้ได้มาก ๆ หากว่าธุรกิจของบริษัทมีส่วนทำให้สังคมดีขึ้น’
บลูมเบิร์ก ระบุว่า ปรัชญาการบริหารงานของนาย อินาโมริ ซึ่งไม่ใช่ทุนนิยมจ๋า เป็นผลิตผลของวัฒนธรรมสังคมของญี่ปุ่นที่ไม่ต้องการให้มีช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนมากเกินไป เมื่อเทียบกับวัฒนธรรมของตะวันตก
ทุกวันนี้ ปรัชญาในการบริหารงานของนายอินาโมริ กลายเป็นสถาบันไปแล้ว ทุกครั้งที่นาย อินาโมริ เปิดการเรียนการสอนเกี่ยวกับปรัชญา การบริหารงานของเขาซึ่งแตกต่างจากตำราเรียนในมหาวิทยาลัยทั้งในญี่ปุ่นและตะวันตก มีเจ้าของกิจการหลายพันคนเข้าฟังแน่นห้องเรียนเสมอ
นาย อินาโมริ พูดว่า เขาเล็คเชอร์ ปรัชญาการบริหารงานสไตล์ทุนนิยมผสมพุทธของเขา ให้กับผู้ฟังฟรีโดยไม่คิดเงิน ถือเป็นการตอบแทนต่อสังคมเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของเขา
Credit: http://www.thansettakij.com/2015/11/11/17770

INET โอกาสในการ Turnaroud เป็นผู้นำ Cloud Service Provider ในไทย

Internet ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก จนเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้วก็ไม่ผิด
ทำให้ผม สนใจบริษัทในกลุ่ม Internet, IT และได้ติดตามดูงบฯ บริษัทต่างๆ มาตลอด
และที่สำคัญ หากเป็นบริษัท Market Cap. เล็กๆ ด้วย จะยิ่งสนใจเป็นพิเศษ
(เหมือนปั้นนักเตะเยาวชน อ่ะนะ)

และสำหรับงบ Q3 ที่ผ่านมา มีบริษัทหนึ่ง มีผลประกอบการที่เตะตา เข้าข่ายที่จะ "Turnaround" ได้
นั่น ก็คือ "INET"


เราไปดูผลประกอบการงวด 3Q15 กันก่อน

จะเห็นว่ากำไร Q3 โตดีมาก ซึ่งเมื่อดูผลประกอบการย้อนหลังใน website set.or.th ก็พบว่า
กำไรงวดนี้ถือได้ว่าเป็น New High ของบริษัทอย่างน้อยๆ ก็ในรอบ 5 ปีเลยทีเดียว


ส่วนราคาหุ้น ก็พอรับได้ P/BV = 1.6x

เริ่มน่าสนใจละ
ทีนี้ตาม Step ก็ต้องไปศึกษาบริษัทเพิ่มเติมกันซักหน่อย
คร่าวๆ สำหรับบริษัท INET อ่านจาก Website บริษัท ครับ
โดยสรุปคือ

- INET เป็น ผู้ให้บริการ ICT Infrastructure as a Service Provider
- บริการของบริษัทได้แก่
1. บริการ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสำหรับธุรกิจ (Full Internet Access for Business) 
2. บริการครบวงจรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Business Solutions)
     2.1 บริการ Internet Data Center (IDC)
INET IDC เป็นศูนย์กลางการให้บริการสำหรับหน่วยงานหรือองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่ต้องการนำเสนอข้อมูลผ่านเครือข่าย Internet/Intranet ทั้งที่เป็นเครือข่ายสาธารณะ (Public Network) และเครือข่ายส่วนบุคคล (Private Network) 
    2.2 บริการ Cloud Services
เป็นบริการการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ร่วมกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยที่ปฏิบัติสอดคล้องกับมาตรฐาน ISO27001:2013 แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
  • Infrastructure as a Service (IaaS) เป็นการให้บริการการใช้โครงสร้างพื้นฐานด้าน IT
  • Platform as a Service (PaaS) เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้บริการสามารถนำ Application มาทำงานอยู่บนระบบนี้ โดยจะช่วยให้ผู้บริการใช้ไม่ต้องลงทุนทางด้าน Hardware และ Software
  • Software as a Service (SaaS) จะเป็นการให้บริการทางด้าน Application เช่น Email on Cloud, Antivirus เป็นต้น
     2.3 บริการ EDC Network Service
เป็นศูนย์กลางระบบเครือข่ายเครื่องรับชำระเงินผ่านบัตรเครดิตที่เชื่อมต่อธนาคารกับร้านค้าผ่านโครงข่ายโทรคมนาคมหลายรูปแบบ อาทิ โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตได้อย่างปลอดภัย คล่องตัวในทุกพื้นที่ทั่วไทย (Amex ก็ใช้บริการ INET)
     2.4 บริการ Software Services
เป็นบริการ online application สำหรับลูกค้า เช่น ระบบรับสมัครงาน (online recruitment) และบริการ mail services เป็นต้น

แต่ก่อนจะ-ขุดข้อมูลไปมากกว่านี้ ขอดูกราฟราคา หน่อยละกันครับ
(เอ๋ะ นี่มันนักลงทุน หรือ นักเกร็งกำไรกันแน่... คือ อยากดูราคาให้ชัวร์ว่า เราไม่ได้อยู่บนยอดดอยอ่ะครับ หากงบเมพมาก แต่ถ้าราคาอยู่ดอยอินทนนท์ ก็ไม่น่าสนใจอยู่ดี)


ราคาถือว่าน่ารักน่าลุ้นทีเดียว ช่วงปี 2013 ตอนตลาดพีคๆ  INET ได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนหนึ่ง  แต่ผลประกอบการก็ยังไม่มาตามนัด ราคาเลยย่อลงมาเรื่อยๆ ซึ่งตอนนี้ดูเหมือนจะฟื้นขึ้นมาตามงบ 3Q15 ที่ออกมา ดูดีทีเดียว

เอาหล่ะ ถือว่าน่าสนใจ ไปอ่านคำอธิบายงบ Q3 กันซักหน่อย


โดยสรุป งวด 3Q15 บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้น 30% จากการบริการ Cloud และให้บริการเชื่อมต่อ Internet
แต่ต้นทุนขึ้นในอัตราที่ช้ากว่า เนื่องจากการบริการต้นทุนได้ดีขึ้น (เข้าใจว่า Utilization Rate เพิ่มขึ้น)
เลยทำให้กำไรเติมโมากในงวดนี้
นอกจากนี้บริษัทร่วมคือ Netbay ที่ INET ถือหุ้น 25% ก็มีผลประกอบการที่ดี โดย INET รับรู้ส่วนแบ่งกำไรในไตรมาสนี้ 4.6 ล้านบาท


ลองดูรายได้และกำไรย้อนหลังรายไตรมาส ก็ดูใช้ได้เลย
(ใช้ไฟล์ Excel พี่ Kanchit Paisan ครับ ดูได้สะดวกรวดเร็วมากๆ)

ดูจากงบกำไรขาดทุน ย้อนหลัง จะเห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2012 ครับ
ซึ่งก็นับว่าน่าสนใจจริงๆ สำหรับบริษัท INET

หลังจากนั้นก็ต้องไปอ่าน 56-1, Annual Report, บันทึกประชุม AGM แล้วย่อยข้อมูลออกมา
ซึ่งขอต่อตอนหน้าละกันนะครับ


เขียนครั้งแรกวันที่ 15/11/15 ที่ร้าน McDonald (เอ๊ะ จะบอกทำไม)
Mr.K


ปล. การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดใช้วิจารณญานในการรับชมครัช

update 21/11/15 ตอนที่ 2

Saturday, November 7, 2015

ATP30 ผู้ให้บริการรับส่ง "สิ่งที่มีค่าที่สุด" ใน "โรงงาน"







ATP30 ผู้ให้บริการรับส่ง "สิ่งที่มีค่าที่สุด" ใน "โรงงาน"
  • สนใจบริษัทนี้จากการ scan บริษัทที่มี Market Cap. น้อยกว่า 500 ล้านบาท ครับ (ณ วันที่ scan มูลค่าอยู่ที่ประมาณ 497 ล้านบาท)
  • บริษัทเป็นผู้ให้บริการขนส่ง สิ่งที่มีค่ามากที่สุดในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งก็คือ "พนักงาน" นั่นเอง
  • บริษัทริ่มประกอบธุรกิจรับส่ง พนักงานไปยังโรงงานตั้งแต่ปี 2548 ปัจจุบันดำเนินงานมาได้ 10 ปีแล้ว
  • เพิ่ง IPO เมื่อเดือน สิงหาคมที่ผ่านมา ที่ราคา 0.95 บาท/หุ้น (ราคาพาร์ 0.25 บาท/หุ้น)
  • จำนวนหุ้นที่เสนอขายทั้งสิ้น 160 ล้านหุ้น บริษัทรับเงินไปขยายกิจการทั้งสิ้น 152 ล้านบาท
  • CEO คือ คุณปิยะ เตชากูล เมื่อก่อนเคยเป็นผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรม แต่เห็นโอกาสทางธุรกิจรับส่งพนักงาน เลยนำโมเดลนี้ไปนำเสนอ บริษัท สยามอีสเทิร์นอินดัสเตรียลพาร์ค จำกัด และบมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน แต่ถูกปฏิเสธ 
  • อย่างไรก็ตาม สุดท้ายก็ได้ลงทุนเปิดบริษัท โดย 'ตระกูลพานิชชีวะ' และ 'ตระกูลกรมดิษฐ์' ตัดสินใจลงทุนกับ ATP30 ในนามส่วนตัว
  • คุณ ปิยะ เตชากูล พื้นเพเป็นคนจังหวัดชัยภูมิ จบปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขวิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น 27 ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับ 'ประพันธ์ เจริญประวัติ' ผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
  • บริษัทมีการให้บริการเป็น 2 รูปแบบ คือ รถโดยสารของบริษัทเอง และรถร่วมบริการ

  • ลูกค้าของบริษัท กระจายไปในหลากหลายอุตสาหกรรม บริษัทจะทำการหาลูกค้าให้ได้ก่อน โดยเซ็นต์สัญญา 1-5 ปี หลังจากนั้นจึงค่อยทำการจัดหารถ 

  • บริษัท คิดค่าบริการลูกค้า โดยเหมาเป็นจำนวนเที่ยว ซึ่งรูปแบบสัญญามีความหลากหลาย (บางสัญญามี Minimum Charge) ราคาค่าบริการปรับขึ้นลงตามราคาน้ำมัน โดยเฉลี่ยแล้ว ค่าบริการจะตกประมาณ 2,000-3,000 บาท/หัว/เดือน
  • ผลประกอบการของบริษัท เดิบโตอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทพยายามเพิ่มสัดส่วนของรายได้ของรถโดยสารของบริษัทเอง ซึ่งมี GPM สูงกว่า การใช้รถร่วม

  • หากดูจากสัดส่วนทางการเงิน พบว่าต้นทุนดอกเบี้ยสูงมาก ซึ่งหากลดตรงนี้ไปได้ ตัวเลขกำไรจะดูดีขึ้นมาก อีกทั้งความพยายามในการเพิ่มสัดส่วนรถของบริษัทเอง ก็จะทำให้อัตรากำไรขั้นต้น และอัตรากำไรสุทธิเพิ่มสูงขึ้นได้ 
  • อย่างไรก็ตาม หากดู ROA, ROE ของบริษัท ก็ไม่ได้สูงอย่างที่คิด (ต่ำมากเลยด้วย ROA 2-3% นึกว่าเป็นหุ้นแบงก์-ไฟแนนซ์) ซึ่งส่วนหนึ่ง น่าจะมาจากขนาดของบริษัทที่ยังเล็กมาก มี Market Share ประมาณ 2% ของตลาดในภาคตะวันออก จึงยังไม่เกิดการประหยัดจากขนาด (Economy of Scale) ซึ่งหากบริษัทสามารถขยายจำนวนลูกค้าออกไปได้มากขึ้น ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายต่างๆ ลดลงได้ หรือเพิ่มการ Utilize Asset ได้ดียิ่งขึ้น และทำให้ตัวเลข ROA, ROE ดูดีขึ้นได้
  • เงินที่ได้จากการ IPO จะนำไปจ่ายหนี้, ขยาย Fleet รถ, และปรับปรุงระบบ IT เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขัน


  • ข้อมูล Filling ศึกษาได้จาก Link นี้ หรือใครสนใจชอบฟังมากกว่าก็ติดตามที่ Oppday หรือ Moneytalk
ไว้ตอนหน้ามาต่อ เรื่องการวิเคราะห์เปรียบเทียบคู่แข่ง และการประเมินมูลค่าครับ