ฉันเกิดในรัชกาลที่ ๙
รัชสมัยแห่ง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มหิตลาธิเบศ รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย
พ่อหลวง ผู้ทรงงานหนัก เพื่อประชาชนชาวไทย
โดยมิได้เห็นแก่ความเหน็จเหนื่อยและย่อท้อแต่อย่างใด
ถึงวันนี้ พ่อหลวง จะเสด็จฯสู่สวรรคาลัย
แต่พระราชดำรัส และแนวทางปฏิบัติ ที่พ่อหลวง ได้แสดงให้เห็นนั้น
ยังคงอยู่ในดวงใจของลูกๆ ทุกคน
ฉันจะนำ "คำสอนของพ่อ" ไปปฏิบัติ
ฉันขอสัญญา ว่าจะทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเทศไทย
คุณงามความดีของพ่อ จะอยู่ในใจฉันตลอดไป
ขอน้อมเกล้าฯถวายอาลัยส่งดวงพระวิญญาณพระองค์
เสด็จฯสู่สวรรคาลัย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
▼
Friday, October 14, 2016
Saturday, August 6, 2016
Pokemon Go ไปจับโปเกม่อนกันเถอะ!!
เริ่มเกม อยากได้ Starter เป็น Pikachu ก็ต้องเล่นตามสูตร
เดินหนี 3 รอบ
จับ Pikachu กันเถอะ
จับได้แล้ว! (หลังจากโยนไป 10 กว่าอัน)
Pika Pika...
Thursday, May 26, 2016
TMILL จากใครบางคน สู่ ผู้ผลิตแป้งสาลีชั้นนำของประเทศ
OPPDAY 1Q16
ช่วงนำเสนอ
- เปิดตัวด้วย Presentation แนะนำบริษัทชุดใหม่
- ชี้แจงผลประกอบการ แบบสั้นๆ ได้ใจความ
1. นโยบายการเก็บสต๊อคสินค้า?
- มูลค่าของสต๊อค 500 กว่าล้านในไตรมาสที่ 1 มีทั้ง ข้าวสาลี และแป้งสาลี โดยนโยบาย Stock วัตถุดิบคือ 4 เดือน ใช้งาน ส่วน Safety Stock ของ Product จะเก็บไว้ไม่เกิน 2 สัปดาห์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากสัตว์พาหะ (กรณีเก็บเกิน 4-6 สัปดาห์)
2. leadtime ในการสั่งซื้อ
- สั่งตอนนี้ ควรถึง กค. ปลายๆ ถึงสิงหาฯ ต้น
3. utilization ทั้ง 2 โรงงาน ปัจจุบันอยู่ที่เท่าไหร่
- 1Q16 = 63%, 2Q16 พยายาม maintain ให้เท่า 1Q16 (จริงๆ แล้วเป็นช่วง Low Season ควรปรับลดลง แต่บริษัทพยายามขยายตลาด)
4. อัตราการเติบโตของการบริโภคแป้งสาลีในประเทศ?
- อุตสาหกรรมแป้งสาลี จำแนกเปน 9 ส่วน ขนมปัง, บะหมี่สด, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, อเนกประสงค์, บิสกิต, เค้ก, ซาลาเปา, ปลาท่องโก๋, อาหารสัตว์-อาหารกุ้ง เฉลี่ยแล้วโต 10% ต่อปี
- demand/supply ดร.อั๋น มองว่าค่อนข้างใกล้เคียง ที่มีการซื้อ-ขาย ในประเทศ แต่จริงๆ แล้วยังมีการนำเข้าอีก 20%
5. กำลังการผลิตของ TMILL ติด 1 ใน 3 สูงสุด แต่ Market Share ค่อนข้างพูดยาก เพราะหลายๆ โรงงานมีธุรกิจต่อยอด แต่ TMILL จำหน่ายออกตลาด 100% เลยมั่นใจว่าติด 1 ใน 3 ผู้นำ โดยเบอร์ 1 กำลังผลิต 1,000 ตัน, เบอร์ 2 750 ตัน, TMILL 500 ตัน
6. รายได้โต 17% ต้นทุนขายโต 19% ต้นทุนขายโตกว่ารายได้เพราะอะไร?
- ปี 2559 มีต้นทุนค่าเสื่อมราคา และดอกเบี้ยจ่ายระยะยาวเพิ่มเข้ามา
7. อัตราการใช้กำลังการผลิตปัจจุบัน และเป้าทั้งปี?
- 2Q16 พยายาม Maintain ใกล้ๆ 63%, ทั้งปี ผลักดันไปที่ 70-75%
8. ตอนนี้บริษัทมีดอกเบี้ยจ่ายและค่าเสื่อมราคาเดือนละเท่าไหร่?
- ค่าเสื่อมราคาเดือนละ 3.5 ล้านบาท / Q ละ 10 ล้านบาท, ดอกเบี้ยจ่าย เหลือเฉพาะระยะสั้น Q ละ 4-5 ล้านบาท
9. อยากทราบทิศทางและแนวโน้มราคารำข้าวสาลี?
- รำข้าวสาลีเป็น byproduct ของบริษัท สะท้อนมาที่ต้นทุนแป้งสาลี โดยในช่วงต้นปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ราคาราำข้าวสาลีอยู่ที่ 6-8 บาท/กก. ปัจจุบันยังนิ่งอยู่ที่ 6.x บาท/กก โดย Q2 มองว่าราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 6 บาท/กก.
10. รายได้อื่นๆ โต 500%?
- กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการทำ Forward ไว้
11. Breakeven ของ 2 Phase?
- 55% ของกำลังการผลิต
12. หากเกิดวิกฤตภัยแล้ง ข้าวสาลีหาซื้อไม่ได้?
- หากบริษัทรู้ล่วงหน้า ก็อาจตัดสินใจซื้อ Future ของข้าวตุนเอาไว้ หากไม่ทันก็เสียโอกาสทางธุรกิจ
13. มีโอกาสย้ายเข้า Set ไหม?
- รู้สึกภูมิใจ และอบอุ่นที่อยู่ใน mai ยังไม่มีแผนย้ายไป Set
14. ราคาซื้อ-ขาย ค่อนข้างอ้างอิงกับกลไกตลาด มีปัจจัยอัตราแลกเปลี่ยน ทุกๆ การอ่อนค่า 1 บาท/USD จะกระทบ 13-15 บาท/กระสอบ
15. มีสัญญาซื้อขายกับลูกค้าบางรายล่างหน้าไปจนถึง Q1 ปี 2560 แล้ว ที่ราคาขายประมาณ 15 บาท
16. กำลังการผลิตส่วนเหลือ ทำ Volume rebate ได้ไหม?
- ทางทฤษฎีทำได้ แต่ด้วย size ของ TMILL หากทำตรงนั้นจะเกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภาพรวม => Oversupply, พยายามเพิ่มการผลิตปีละ 10% ล้อไปกับตลาด อีก 3 ปี น่าจะถึง 90% อาจต้องมาขอความเห็นจาก ผถห. ขยาย line ใหม่?
17. มีโรงงานที่เดียว
18. หากบางอุตสาหกรรมเติบโตดี ก็จะทำให้ TMILL โตตามไปด้วย
19. ปีนี้บริษัทตั้งงบ R&D 7 หลัก ศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างมูค่าเพิ่มให้กับแป้งสาลี ต่อยอดธุรกิจ โดยปลายปีนี้น่าจะทราบความเป็นไปได้
20. คุณภาพของแป้ง มาจากอะไรบ้าง?
- 1.วัตถุดิบที่เลือกใช้ TMILL ซื้อจาก USA, AUS, และ CANADA โดยบริษัทวาง Position ไว้ที่ Premium Quality ในราคาที่แข่งขันได้
2. เครื่องจักรที่โรงโม่ใช้ ของ TMILL เลือกที่จะใช้เครื่องจักร Vuhler เครื่องจักรใหม่ ทันสมัยที่สุด ได้เปรียบกว่าคู่แข่ง บางโรงกำลังการผลิต 400 ตัน ใช้คน 300 คน, ของ TMILL 500 ตัน มี 130 คน
3. บุคลากร ที่ประจำอยู่ที่ห้อง lab เพื่อ test คุณภาพแป้งสาลี ต้องเป็นบุคลากรระดับหัวกะทิ, และมีอุปกรณ์ในการ test, ควบคุมคุณภาพ ลงทุนไป 20-30 ล้านบาท เพื่อให้มั่นใจว่าได้รับ Certify มาตรฐานสากลในทุกๆ ด้าน
21. มีการตั้งเป้ารายได้เติบโต 10%, กำไรโต 10%? 2Q16 กำไรโตเกิน 10% ไหม?
- มั่นใจว่ากำไรสุทธิทั้งปีเติบโต 10%, แต่ 2Q15 มีการรับมอบเครื่องจักรเดือน 4 แต่เกิด Accident เรื่อง Software ควบคุมเครื่อง ทำให้ไม่สามารถเปิดเครื่องผลิตได้, และเจอ breakdown ทำให้ไม่สามารถใช้เครื่องจักร 2 ตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ, ส่วนปีนี้ ปกติ และมีการขยายฐานลูกค้า เลยมั่นใจว่า 2Q16 จะก้าวกระโด
22. Vuhler ของประเทศไหน?
- Switzerland เป็นระดับ Top, Fully Automated, ที่ ญี่ปุ่น ระดับโลก ใช้ 2 คน ต่อการ operate, TMILL ใช้ 3 คน ใกล้เคียงญี่ปุ่น
23. ราคาแป้งสาลี Q2?
- ใกล้เคียง Q1, ราคาเฉลี่ยของทั้งปี คาดว่า Q3 จะปรับลดลงมา เนื่องจากราคาข้าวสาลีในตลาดโลกแนวโน้มลดลง
24. ภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรม? บริษัทเสาเข็มเจาะแห่งหนึ่งรับงาน อุตสาหกรรมแป้งไทย กำลังทำอะไร?
- คู่แข่ง TMILL มีอีก 9 โรง บางโรง มีอายุมากกว่า 50 ปี ในกรณีนี้ไม่สามารถตอบได้ ว่าจะเพิ่มกำลังการผลิต หรือทดแทนเครื่องจักรที่ใช้มา 40-50 ปี
25. Capacity ที่เหลือทำเพื่อส่งออกได้ไหม?
- การส่งออกมีอุปสรรค เนื่องจากพยายามส่งสินค้าไปถึงมือลูกค้าภายใน 2 สัปดาห์ ลดโอกาสการเกิดมอด ซึ่งการส่งออกมี leadtime 3-6 สัปดาห์ จะส่งผลต่อคุณภาพ แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะส่งออกในอนาคต
26. ความคืบหน้า Phase3?
- รอ Full Capacity Phase2 ก่อน
27. ทำไมต้องมีการนำเข้า ในเมื่อกำลังการผลิตในประเทศเหลือ?
- จุดอ่อนที่สู่โรงโม่ประเทศอื่นไม่ได้คือ ราคา เนื่องจากประเทศไทยไม่มีข้าวสาลี ต้องนำเข้า ข้าวสาลี 100% โดยประเทศที่ปลูกและโม่ข้าวได้เอง ก็จะมีต้นทุนการผลิต ต่ำที่สุด กลุ่มที่ไม่แคร์คุณภาพสินค้าก็จะนำเข้ามาในส่วนของ 20% โดยสัดส่วนการใช้แป้งสาลีในประเทศต่อนำเข้า ยังอยู่ในระดับ 80:20% มา 5 ปี แล้ว เหตุผลด้านคุณภาพ (กลยุทธ์ของโรงงานแปรรูปอาหาร ในการลดต้นทุน)
28. Shelf life แป้งสาลี อายุ 3 เดือน โดยมีกระบวนการรมยาฆ่ามอดแล้ววางทิ้งไว้ 7 วันโดยไม่เคลื่อนย้าย ให้ยาระเหยออกหมดก่อนเข้ากระบวนการผลิต Certify โดย FDA มีการรมยา 2 จุดคือ ข้าวสาลี และที่แป้งสาลีในถุงทอกระสอบ
29. แนวโน้ม Gross Margin? เพิ่มกำลังการผลิตแต่ไม่เห็น Economy of Scale?
- 1 Phase = 15%, ตั้งใจว่า 2 Phase = 20%, หากดูไตรมาส 4 ปีที่แล้ว Utilize เกือบๆ 75% จะเห็นภาพได้ชัด แต่ 1Q16 เศรษฐกิจไม่ค่อยดี แต่จะพยายามดันให้เติบโตสูงขึ้น
30. กำไร 2Q16 ไม่ต่ำกว่า 1Q16?
- จะพยายาม ดันให้กำไร 2Q16 มากกว่า 1Q16
31. รมยา ชื่อสารอะไร? เหมือนกับข้าวสารไหม?
- ใน Silo 60,000 ตัน ติดตั้งระบบรมยา J System เทคโนโลยี USA แต่จำชื่อยาไม่ได้
Friday, May 20, 2016
10 คำคม และข้อคิดดีๆ จากหนังสือ "ถอยก็ตาย วิกฤต ยังไงก็ต้องสู้"
1. "จงพูดให้ตัวเองฟังอยู่เป็นนิจว่า ต้องมีจิตใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่น เพื่อให้แผนการและเป้าหมายสำเร็จบรรลุผล ต้องวาดภาพอุดมคติสูงส่งและวิสัยทัศน์เปี่ยมคุณธรรมให้เกิดขึ้นในจิตใจอย่างแรงกล้า" ...คุณอินาโมริพูดต่อพนักงานของ JAL ที่โศกเศร้าคร่ำครวญจากการล้มละลาย คุณอินาโมริบอกว่า ยกคำพูดนี้มาจากคำพูดของคุณนาคามูระ เท็มปู นักคิดที่อธิบายแนวคิดเชิงรุก
2. "ผมทำสิ่งที่คนพูดว่าทำไม่ได้แน่นอน ด้วยวิธีที่คนอื่นทำไม่ได้ ดังนั้น Kyocera และ KDDI จึงมีวันนี้ หากใช้วิธีทำงานที่ติดอยู่ในกรอบของสามัญสำนึกคงเป็นอย่างเช่นทุกวันนี้ไม่ได้"
3. "ทุกคนมาทำอะไรกันที่นี่ ดูเหมือนจะมาศึกษาเรื่องบริหารสินะ ถ้าว่างทำเรื่องอย่างนั้นล่ะก็ รีบกลับไปทำงานต่อที่บริษัทให้เร็วที่สุดเถอะ คิดว่ามาออนเซ็นกินดื่ม แบบนี้จะศึกษาเรื่องบริหารได้รึไง หลักฐานอยู่นี่ ผมไม่เคยให้ใครสอนเรื่องบริหารเลย ขนาดผู้ชายแบบผมยังบริหารบริษัทได้เลย สิ่งที่ต้องทำมีเรื่องเดียวคือ รีบกลับไปบริษัทและทุ่มเททำงานซะ" "มีไอ้บ้าที่ไหนจ่ายเงินค่าอบรมแพงขนาดนี้"...คุณ โซอิจิโร่ ฮอนดะ พูดต่อ ผู้เข้าร่วมสัมมนาคอร์สการบริหาร (คุณฮอนดะ ได้รับเชิญ เป็นผู้บรรยาย) เล่นเอาคุณอินาโมริ ในวัยหนุ่มและเพิ่งตั้งบริษัทไม่นาน อึ้งไปเลย และคิดว่า ต้องรีบกลับไปลงมือทำงานบ้าง
4. ผู้นำต้องยืนหยัดด้วย "จิตวิญญานนักสู้ที่ลุกโชน" เพื่อเผชิญหน้าไม่เพียงเฉพาะคู่แข่ง (Competitor) ที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเศรษฐกิจผันผวนที่ถาโถมเข้ามาด้วย ผู้บริหารกิจการไม่ควรอ้างว่าเป็นเพราะเศรษฐกิจผันผวน แม้ค่าเงินเยนแข็งตัวหรือเศรษฐกิจตกต่ำก็ตาม
5. "บริษัทของเรามีศักยภาพอันยอดเยี่ยม แม้ว่าตอนนี้ยังเล็ก แต่ในอนาคตต้องพัฒนาจนยิ่งใหญ่ได้แน่นอน" พูดซ้ำๆแบบ นี้ทุกวัน พูดจนเหนื่อย พอปูพื้นฐานได้ก็หาโอกาสไปนั่งดื่มและพูดคุยแบบเข้าเรื่องว่า "ตั้งใจว่าปีนี้จะทำยอดขายเพิ่มอีกเท่าตัว" และในตอนนั้นให้หาคนที่ทำงานไม่ค่อยเก่งแต่ประจบเก่งไว้ข้างตัว ให้เขาคอยพูดว่า "นั่นสิครับท่าน มาทำกันเถอะ!" ทีนี้พวกคนหัวดีทำงานเก่งแต่นิ่งเฉยที่พอเสนอเป้าหมายสูงเมื่อไรจะชอบอ้างว่า "ท่านครับ ผมว่าทำไม่ได้หรอกเพราะว่า..." คนพวกนี้จะพูดอะไรไม่ออกและจะคล้อยตามกรรมการผู้จัดการใหญ่ไปโดยปริยาย เป้าหมายที่สูงกว่าเป้าหมายแรกที่ผู้บริหารกำหนดไว้จะกลายเป็นเป้าหมายที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันไปเอง สรุปคือ การบริหารต้องใช้ "จิตวิทยา" ด้วย ต่อให้ตั้งเป้าหมายให้ต่ำไว้แค่ไหน หากคนไม่รู้สึกใยดี ก็จะกลายเป็น "ทำเกินไป ทำไม่ได้หรอกครับ"
6. "จงสร้างของที่คมจนบาดมือได้"...กลางดึกคืนหนึ่ง คุณอินาโมริเดินดูโรงงานเซรามิก เห็นพนักงานหนุ่มกำลังสิ้นหวังกับขั้นตอนการเผาเซรามิกที่ปรับอุณหภูมิเตาเผาหลายครั้งแล้วก็ไม่คงที่ ขนาดชิ้นส่วนที่เผาเสร็จออกมาจึงต่างกันเล็กน้อย คุณอินาโมริ ถามพนักงานคนนั้นว่า "อธิษฐานกับเทพเจ้าหรือเปล่าว่า โปรดให้เผาออกมาสำเร็จ" นั่นหมายถึง ถามว่า "ได้ใส่จิตวิญญานลงไป ใช้ความพยายามและความคิดสร้างสรรค์จนถึงที่สุด จนเหลือหนทางเดียวเพียงแต่ต้องอธิษฐานกับพระเจ้าอย่างเดียวแล้วหรือยัง"
7. "อะไรคือสิ่งที่ถูกต้องในฐานะมนุษย์ ทำสิ่งถูกต้องนั้นให้สำเร็จ"
8. ใช้ความตั้งใจ "เพื่อโลก เพื่อมนุษยชาติ" เป็นพลังขับเคลื่อน ในการดำเนินกิจการ
9. "เปลี่ยนจากค่านิยมด้านปริมาณ มาเป็นค่านิยมด้านคุณภาพ"
10. "ยิ่งหนาวเท่าใด ก็จะนิ่งทำให้ ซากุระเบ่งบานได้งดงามมากขึ้นเท่านั้น"
* หนังสือ "ถอยก็ตาย วิกฤต ยังไงก็ต้องสู้" เป็นหนังสือที่เขียนโดย คุณคาซึโอะ อินาโมริ
ผู้ได้รับสมญานามว่า "เทพแห่งการบริหารที่ยังมีชีวิตอยู่"
คุณอินาโมริ คือผู้ก่อตัวบริษัท Kyocera และ DDI (ก่อนควบรวมกิจการเป็น KDDI)
อีกผลงานที่ท่านฝากไว้คือ ในวัย 78 ปี ท่านอาสามาพลิกฟื้นกิจการ Japan Airlines (JAL) แบบไม่รับเงินเดือน ทำให้ JAL พลิกจากบริษัทที่อยู่ในภาวะล้มละลาย กลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ภายใน 3 ปี
Thursday, May 12, 2016
แหล่งข้อมูล หุ้นเวียดนาม
ขอแนะนำ Page นี้เลยครับ
เนื้อหาจากสารบัญ Page
------------------------
1. การเปิดพอร์ต
Vietnam Value Investor หุ้นเวียดนาม
เนื้อหาจากสารบัญ Page
------------------------
1. การเปิดพอร์ต
วิธีการเปิดพอร์ต https://goo.gl/egnkoS
REVIEW วิธีการเปิดพอร์ต โดยลงทุนศาสตร์ https://goo.gl/Dvj6oy
.
2. การศึกษาข้อมูล
หุ้นมีแบรนด์ของเวียดนาม https://goo.gl/aUWIMt
สรุปข้อมูลสำคัญบริษัทจดทะเบียนเวียดนาม โดย ลงทุนศาสตร์https://goo.gl/A5cDLa
Jitta กับหุ้นเวียดนาม https://goo.gl/EqmQFX
Forbes ช่วยกรอง 50 หุ้น https://goo.gl/nMbkg7
MSCI 9 หุ้น https://goo.gl/qPbpSx
FTSE 15 หุ้น http://goo.gl/ON5LnK
แหล่งศึกษาข้อมูลหุ้นเวียดนามอื่นๆ
https://www.vndirect.com.vn - อ่านข่าว
http://banggia.vfpress.vn- ดูราคา
http://finance.vietstock.vn/- ดูข้อมูลหุ้น
http://en.stockbiz.vn/- ดูข้อมูลหุ้น
http://goo.gl/FMOIAJ- Thaiviดูกระทู้
http://goo.gl/HdnDDn-cophie ดูหุ้น
อ่านบทวิเคราะห์หุ้นเวียดนามได้ที่ไหน? https://goo.gl/EqmQFX
.
3. หุ้นรายกลุ่ม/รายตัว (แบ่งหมวดตามหลัก TRBC)
.
Energy (พลังงาน)
.
Basic Materials (วัสดุทั่วไป เคมีภัณฑ์)
หุ้นวัสดุก่อสร้าง https://goo.gl/4UAnE3
.
Industrials (อุตสาหกรรม)
หุ้นท่าเรือ (2) แนะนำภาพรวม https://goo.gl/0lmroJ
หุ้นท่าเรือ (1) เกริ่น FDI https://goo.gl/FDV7O9
หุ้นเกี่ยวกับสนามบิน
MAS https://goo.gl/VQhAjv
NCT https://goo.gl/3b3i1q https://goo.gl/OroRpP
หุ้นประมง https://goo.gl/6FxL88
หุ้นอสังหาริมทรัพย์ (1)"ทำเล" https://goo.gl/Iz5mEX
KBC - http://on.fb.me/1IpfHI6 (AseanVi)
.
Cyclical Consumer Goods & Services (สินค้าฟุ่มเฟือย )
หุ้นเกี่ยวกับรถ https://goo.gl/p8X2Gj
HAX (Hang Xanh Motors) - http://on.fb.me/1lZyT6R (AseanVi)
HTL (Thang long Auto) - http://on.fb.me/1OTxiKr (AseanVi)
HHS (Hoang Huy service) - http://on.fb.me/1PXlLqX (AseanVi)
SVC (Saigon General Service) - http://on.fb.me/1TqTXRe (AseanVi)
TMT (TMT Motoes) - http://on.fb.me/1VuJcfx (AseanVi)
เครื่องประดับ
PNJ (Phu Nhuan Jewelry) - http://on.fb.me/1GCAZm1
.
Non-Cyclical Consumer Goods & Services (สินค้าทั่วไป)
หุ้นขนม Valentine https://goo.gl/XtR3Ha
VNM (VINAMILK) - http://on.fb.me/1ttkUso (AseanVi)
HAG (Hoang Anh Gia Lai) - http://on.fb.me/1mQ4uVQ (AseanVi)
KDC (Kinh Do) - http://on.fb.me/1tHdCQq (AseanVi)
.
Financials (การเงิน)
.
Healthcare (สุขภาพ ยา และบริการ)
TRA (TRAPACO)- http://on.fb.me/1O53ybj (AseanVi)
.
Technology (เทคโนโลยี)
FPT (FPT Corporation) - http://on.fb.me/1rFFBdQ (AseanVi)
MWG (Mobile World Investment) - http://on.fb.me/1NxqkJp (AseanVi)
.
Telecommunications Services (บริการโทรคมนาคม)
.
Utilities (สาธารณูปโภค)
VNS (Vietnam Sun Corp) - http://on.fb.me/1uEdlJN (AseanVi)
NT2 (PV Power NT2) - http://on.fb.me/1R3o6XG (AseanVi)
REVIEW วิธีการเปิดพอร์ต โดยลงทุนศาสตร์ https://goo.gl/Dvj6oy
.
2. การศึกษาข้อมูล
หุ้นมีแบรนด์ของเวียดนาม https://goo.gl/aUWIMt
สรุปข้อมูลสำคัญบริษัทจดทะเบียนเวียดนาม โดย ลงทุนศาสตร์https://goo.gl/A5cDLa
Jitta กับหุ้นเวียดนาม https://goo.gl/EqmQFX
Forbes ช่วยกรอง 50 หุ้น https://goo.gl/nMbkg7
MSCI 9 หุ้น https://goo.gl/qPbpSx
FTSE 15 หุ้น http://goo.gl/ON5LnK
แหล่งศึกษาข้อมูลหุ้นเวียดนามอื่นๆ
https://www.vndirect.com.vn - อ่านข่าว
http://banggia.vfpress.vn- ดูราคา
http://finance.vietstock.vn/- ดูข้อมูลหุ้น
http://en.stockbiz.vn/- ดูข้อมูลหุ้น
http://goo.gl/FMOIAJ- Thaiviดูกระทู้
http://goo.gl/HdnDDn-cophie ดูหุ้น
อ่านบทวิเคราะห์หุ้นเวียดนามได้ที่ไหน? https://goo.gl/EqmQFX
.
3. หุ้นรายกลุ่ม/รายตัว (แบ่งหมวดตามหลัก TRBC)
.
Energy (พลังงาน)
.
Basic Materials (วัสดุทั่วไป เคมีภัณฑ์)
หุ้นวัสดุก่อสร้าง https://goo.gl/4UAnE3
.
Industrials (อุตสาหกรรม)
หุ้นท่าเรือ (2) แนะนำภาพรวม https://goo.gl/0lmroJ
หุ้นท่าเรือ (1) เกริ่น FDI https://goo.gl/FDV7O9
หุ้นเกี่ยวกับสนามบิน
MAS https://goo.gl/VQhAjv
NCT https://goo.gl/3b3i1q https://goo.gl/OroRpP
หุ้นประมง https://goo.gl/6FxL88
หุ้นอสังหาริมทรัพย์ (1)"ทำเล" https://goo.gl/Iz5mEX
KBC - http://on.fb.me/1IpfHI6 (AseanVi)
.
Cyclical Consumer Goods & Services (สินค้าฟุ่มเฟือย )
หุ้นเกี่ยวกับรถ https://goo.gl/p8X2Gj
HAX (Hang Xanh Motors) - http://on.fb.me/1lZyT6R (AseanVi)
HTL (Thang long Auto) - http://on.fb.me/1OTxiKr (AseanVi)
HHS (Hoang Huy service) - http://on.fb.me/1PXlLqX (AseanVi)
SVC (Saigon General Service) - http://on.fb.me/1TqTXRe (AseanVi)
TMT (TMT Motoes) - http://on.fb.me/1VuJcfx (AseanVi)
เครื่องประดับ
PNJ (Phu Nhuan Jewelry) - http://on.fb.me/1GCAZm1
.
Non-Cyclical Consumer Goods & Services (สินค้าทั่วไป)
หุ้นขนม Valentine https://goo.gl/XtR3Ha
VNM (VINAMILK) - http://on.fb.me/1ttkUso (AseanVi)
HAG (Hoang Anh Gia Lai) - http://on.fb.me/1mQ4uVQ (AseanVi)
KDC (Kinh Do) - http://on.fb.me/1tHdCQq (AseanVi)
.
Financials (การเงิน)
.
Healthcare (สุขภาพ ยา และบริการ)
TRA (TRAPACO)- http://on.fb.me/1O53ybj (AseanVi)
.
Technology (เทคโนโลยี)
FPT (FPT Corporation) - http://on.fb.me/1rFFBdQ (AseanVi)
MWG (Mobile World Investment) - http://on.fb.me/1NxqkJp (AseanVi)
.
Telecommunications Services (บริการโทรคมนาคม)
.
Utilities (สาธารณูปโภค)
VNS (Vietnam Sun Corp) - http://on.fb.me/1uEdlJN (AseanVi)
NT2 (PV Power NT2) - http://on.fb.me/1R3o6XG (AseanVi)
4. ข่าวน่ารู้
บริษัทไหนลงทุนเวียดนามแล้วบ้าง?
https://goo.gl/pbGCJn
https://goo.gl/hCm3N8
.
5. รายละเอียดการสัมมนาและ Company visit 5-7 พ.ค. 59https://goo.gl/3Jdovz
บริษัทไหนลงทุนเวียดนามแล้วบ้าง?
https://goo.gl/pbGCJn
https://goo.gl/hCm3N8
.
5. รายละเอียดการสัมมนาและ Company visit 5-7 พ.ค. 59https://goo.gl/3Jdovz
6. บทความ
จุดเริ่มต้นเล็กๆ สู่ในตลาดหุ้นเวียดนาม https://goo.gl/8mBf8y
หาหุ้นแบบ Peter Lynch https://goo.gl/DZcujO
เหตุผลที่ควรสนใจการลงทุนใน “ตลาดหุ้นเวียดนาม (Maxpawin)http://goo.gl/DnwUEV
จุดเริ่มต้นเล็กๆ สู่ในตลาดหุ้นเวียดนาม https://goo.gl/8mBf8y
หาหุ้นแบบ Peter Lynch https://goo.gl/DZcujO
เหตุผลที่ควรสนใจการลงทุนใน “ตลาดหุ้นเวียดนาม (Maxpawin)http://goo.gl/DnwUEV
--------------------------------------------
Monday, May 9, 2016
Edward Thorp from Dhandho Investor
In the 1960s, an MIT math professor, Ed Thorp, used MIT’s computers to run a variety of calculations
and came up with optimized blackjack play. Thorp named the optimal play of cards Basic Strategy.
He wrote the best-selling book, Beat the Dealer. It is, even today, regarded as a classic work, and blackjack players the world over rely on Basic Strategy to optimize their card play.
In the 1960s, casinos offered single-deck blackjack and dealt the entire deck.
Thorp calculated that players who counted cards and scaled their bets based on the residual cards left
in the deck had an edge over the casinos. He used the Kelly Formula to figure out how much
of your bankroll you ought to bet each time based on how favorable the odds were.
For example, if the deck had an overrepresentation of tens and aces, that was good for the player.
If the odds were 52:48 in the favor of the player, the Kelly Formula suggested that the player bet
4 percent of his bankroll. That’s what Thorp would endeavor to do with every hand.
For Thorp, this wasn’t an academic exercise. He started frequenting the Nevada casinos and cleaned up.
The casinos didn’t understand why he was consistently winning, but, with the mob running the casinos,
they didn’t wait to understand. They simply showed him the door and made it very clear that if he ever returned,
the reception wouldn’t be so civil.
When Thorp published Beat the Dealer, players the world over started cleaning up.
Casino owners also read Thorp’s book and began to make changes to the game.
Over the past four decades, the game has gone through numerous changes.
Each time the casinos made a change, some smart gambler would figure out a way to beat the system.
Then the casinos would figure it out and make another change.
Today, most casinos deal from a shoe of six to eight decks.
They don’t play the last couple of decks and pit bosses watch the action like hawks.
In some casinos, auto shufflers recycle the used cards back in real time—ensuring that
the card pool never has an over- or under representation of any specific cards.
Thorp reflected on this changing reality (along with the onerous threats) and decided that
he’d be far better off if he applied his talents to a casino where:
There were no table limits.
The offered odds were vastly better.
The house was civil about taking large losses.
The mob wasn’t running the casino.
He found that such a casino existed, and it was the New York Stock Exchange (NYSE)
and the fledgling options market. Rumor has it that Thorp figured out something along
the lines of the Black-Scholes formula years before Black and Scholes did.
He decided not to publish his findings. The Black-Scholes formula is, effectively,
Basic Strategy for the options market. It dictates what a specific option ought to be priced at.
Because he was one of the only players armed with this knowledge, Thorp could buy underpriced options
and sell overpriced ones—making a killing in the process.
Thorp set up a hedge fund, Princeton-Newport Partners. Over a 20-year span, the professor delivered
20 percent annualized returns to his investors with ultra-low volatility.
One of his potential investors was actor Paul Newman.
Newman once asked Thorp how much he could make playing blackjack full-time.
Thorp could still beat the casinos with his skilled card counting and replied that it would be
about $300,000 a year. Newman then asked him why he wasn’t pursuing it.
Thorp looked at him and said that the NYSE and options market “casinos” made him over $6 million
a year with miniscule risk. Why pursue $300,000 and take on added risk to life and limb?
In investing, there is no such thing as a sure bet.
Even the most blue-chip business on the planet has a probability of not being in business tomorrow.
Investing is all about the odds—just like blackjack.
Thorp is the most vivid example of a human who has mastered these concepts fully.
He has repeatedly played the odds on the Strip and Wall Street over the decades and won handsomely
on both fronts—creating a huge fortune for himself and his investors.
When an investor approaches the equity markets,
it has to be with the same mind-set that Thorp had when he played blackjack:
if the odds are overwhelmingly in your favor, bet heavily.
Excerpt from : Dhandho Investor
Picture from Amazon
and came up with optimized blackjack play. Thorp named the optimal play of cards Basic Strategy.
He wrote the best-selling book, Beat the Dealer. It is, even today, regarded as a classic work, and blackjack players the world over rely on Basic Strategy to optimize their card play.
In the 1960s, casinos offered single-deck blackjack and dealt the entire deck.
Thorp calculated that players who counted cards and scaled their bets based on the residual cards left
in the deck had an edge over the casinos. He used the Kelly Formula to figure out how much
of your bankroll you ought to bet each time based on how favorable the odds were.
For example, if the deck had an overrepresentation of tens and aces, that was good for the player.
If the odds were 52:48 in the favor of the player, the Kelly Formula suggested that the player bet
4 percent of his bankroll. That’s what Thorp would endeavor to do with every hand.
For Thorp, this wasn’t an academic exercise. He started frequenting the Nevada casinos and cleaned up.
The casinos didn’t understand why he was consistently winning, but, with the mob running the casinos,
they didn’t wait to understand. They simply showed him the door and made it very clear that if he ever returned,
the reception wouldn’t be so civil.
When Thorp published Beat the Dealer, players the world over started cleaning up.
Casino owners also read Thorp’s book and began to make changes to the game.
Over the past four decades, the game has gone through numerous changes.
Each time the casinos made a change, some smart gambler would figure out a way to beat the system.
Then the casinos would figure it out and make another change.
Today, most casinos deal from a shoe of six to eight decks.
They don’t play the last couple of decks and pit bosses watch the action like hawks.
In some casinos, auto shufflers recycle the used cards back in real time—ensuring that
the card pool never has an over- or under representation of any specific cards.
Thorp reflected on this changing reality (along with the onerous threats) and decided that
he’d be far better off if he applied his talents to a casino where:
There were no table limits.
The offered odds were vastly better.
The house was civil about taking large losses.
The mob wasn’t running the casino.
He found that such a casino existed, and it was the New York Stock Exchange (NYSE)
and the fledgling options market. Rumor has it that Thorp figured out something along
the lines of the Black-Scholes formula years before Black and Scholes did.
He decided not to publish his findings. The Black-Scholes formula is, effectively,
Basic Strategy for the options market. It dictates what a specific option ought to be priced at.
Because he was one of the only players armed with this knowledge, Thorp could buy underpriced options
and sell overpriced ones—making a killing in the process.
Thorp set up a hedge fund, Princeton-Newport Partners. Over a 20-year span, the professor delivered
20 percent annualized returns to his investors with ultra-low volatility.
One of his potential investors was actor Paul Newman.
Newman once asked Thorp how much he could make playing blackjack full-time.
Thorp could still beat the casinos with his skilled card counting and replied that it would be
about $300,000 a year. Newman then asked him why he wasn’t pursuing it.
Thorp looked at him and said that the NYSE and options market “casinos” made him over $6 million
a year with miniscule risk. Why pursue $300,000 and take on added risk to life and limb?
In investing, there is no such thing as a sure bet.
Even the most blue-chip business on the planet has a probability of not being in business tomorrow.
Investing is all about the odds—just like blackjack.
Thorp is the most vivid example of a human who has mastered these concepts fully.
He has repeatedly played the odds on the Strip and Wall Street over the decades and won handsomely
on both fronts—creating a huge fortune for himself and his investors.
When an investor approaches the equity markets,
it has to be with the same mind-set that Thorp had when he played blackjack:
if the odds are overwhelmingly in your favor, bet heavily.
Excerpt from : Dhandho Investor
Picture from Amazon
Sunday, May 8, 2016
10 บริษัท ที่น่าสนใจ แห่งยุค Sharing Economy
เพื่อนๆ คง เคยใช้บริการ Airbnb หรือ Uber กันมาบ้างแล้ว
ซึ่งทั้ง 2 บริษัทแห่ง Silicon Valley ก็จัดว่าเป็น ผู้นำ แห่งธุรกิจในยุคดิจิตอล นี้ที่เรียกว่า "Sharing Economy"
หรือแปลเป็นภาษาไทย ก็คือ "เศรษฐกิจแบ่งปัน"
พื้นฐานของธุรกิจเหล่านี้ ก็คือ การเอาของที่มีอยู่ มาแบ่งปันให้คนอื่นใช้งาน
ส่วนใหญ่ จะเป็นสิ่งของที่มีราคาแพง และไม่ได้ใช้เป็นประจำทุกวัน
ตัวอย่าง เช่น Airbnb ให้ คนที่มีที่พัก เอามาปล่อยให้คนอื่นเช่าอยู่
หรือ Uber ที่สามารถ เอารถส่วนตัว มาขับเป็น Taxi ให้บริการในช่วงว่างๆ หารายได้เสริม
คือ คนที่มีทรัพยากร หรือ สิ่งของ ก็ทำตัวเป็นทั้ง Consumer และ Supplier ไปในตัว
ส่วนบริษัทที่เป็นตัวกลาง ก็จะเก็บค่าหัวคิวกันไป
สำหรับบริษัทที่อยู่ใน Sharing Economy ยังมีอีกหลายบริษัท ที่น่าสนใจ
ไปดูกันเลย
1. TURO (หรือ RelayRides เดิม)
บริษัทนี้ก่อตั้ง เมื่อปี 2009 โดยใช้ชื่อว่า "RelayRides" ทำธุรกิจ เป็นคนกลาง ให้คนที่มีรถ แต่ไม่ได้ใช้งานเอามาปล่อยให้เช่ารายวัน (สมัยก่อนมีให้เช่าราย ชั่วโมงด้วย) พื้นที่ให้บริการอยู่ใน USA เป็นหลัก
โดย RelayRides เพิ่งเปลี่ยนชื่อ Turo เมื่อปี 2015 นี้เอง และมีมูลค่าบริษัทสูงถึง 331 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
และที่สำคัญคือ Google Venture ก็ ลงทุนใน บริษัทนี้ด้วย
2. Dogvacay
ถ้าในไทยเวลาที่ไปเที่ยว ก็อาจต้องฝากบ้านไว้กับตำรวจ แต่บริการนี้สำหรับเจ้าของที่รักสุนัข
สามารถเอาน้องหมา ไปฝากไว้กับเพื่อนบ้านใจดี ที่จะช่วยดูแลน้องหมาได้อย่างดีเยี่ยม
ไม่ต้องหิวโซอยู่ในบ้าน รอเจ้าของกลับมา
3. Taskrabbit
แหล่งรวมของ Freelancers ผู้มีทักษะ และความสามารถที่จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการส่งของ ไปจนถึงงาน Office ให้แก่ลูกค้า
บริษัทนี้ก่อตั้งเมือปี 2008 และในปัจจุบันมี "Tasker" ที่คอยแก้ปัญหา 10,000 กว่าราย
และการมาเป็น Tasker ใน Website นี้ได้ ก็ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะทำได้เลยนะ
ต้องไปสัมภาษณ์ และถูกเช็คประวัติกันละเอียดทีเดียว
4. Getaround
ดูไปแล้ว ก็คล้ายๆ กับ Turo นะครับ มีจุดเด่นเพิ่มมาอีกอย่างคือ รถที่มาให้เช่าใน Getaround ทำประกันครอบคลุม มูลค่าสูงสุดถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กับ Berkshire Hathaway
5. Spinlister
เช่ารถยนต์ก็มีไปแล้ว ถึงทีของรถจักรยานบ้าง อันนี้มีให้บริการในไทย ด้วยนะ!
ค่าบริการตกประมาณวันละ 40 เหรียญสหรัฐฯ หรือ ประมาณ 1,500 บาท
6. Zaarly
ให้บริการสารพัดช่าง อีก 1 บริษัท
7. Lyft
คล้ายๆ UBER - ขอติดรถไปด้วยคน
8. Lending Club
ให้เพื่อนยืมเงิน โดยคิดดอกเบี้ยถูกกว่าบัตรเครดิต
อันนี้เหมือนแชร์ลูกโซ่ในไทย เลยแฮะ แต่ถ้าคิดในแง่ดี การกูเงินนอกระบบ อาจแก้ด้วย Start-up อันนี้ก็ได้นะ!
9. Fon
Share Wifi อันนี้น่าสนใจมากๆ (แต่บางท่านอาจทะเลาะกับเพื่อนบ้านอยู่ที่มาแอบใช้ Wifi)
10. Poshmark
มีเสื้อ หรือกระเป๋า Brandname ก็มาขายต่อได้นะ
และก็สำหรับคนไทย ก็มีบริษัท Start-up แจ่มๆ ที่มี Business Model แบบ Sharing Economy ด้วยเหมือนกัน
เพื่อนๆ ที่สนใจ ลองตามไปอ่านต่อได้ที่ link นี้เลยครับ
-------------------
ที่มา : http://www.forbes.com/pictures/eeji45emgkh/airbnb-snapgoods-and-12-more-pioneers-of-the-share-economy/
ซึ่งทั้ง 2 บริษัทแห่ง Silicon Valley ก็จัดว่าเป็น ผู้นำ แห่งธุรกิจในยุคดิจิตอล นี้ที่เรียกว่า "Sharing Economy"
หรือแปลเป็นภาษาไทย ก็คือ "เศรษฐกิจแบ่งปัน"
พื้นฐานของธุรกิจเหล่านี้ ก็คือ การเอาของที่มีอยู่ มาแบ่งปันให้คนอื่นใช้งาน
ส่วนใหญ่ จะเป็นสิ่งของที่มีราคาแพง และไม่ได้ใช้เป็นประจำทุกวัน
ตัวอย่าง เช่น Airbnb ให้ คนที่มีที่พัก เอามาปล่อยให้คนอื่นเช่าอยู่
หรือ Uber ที่สามารถ เอารถส่วนตัว มาขับเป็น Taxi ให้บริการในช่วงว่างๆ หารายได้เสริม
คือ คนที่มีทรัพยากร หรือ สิ่งของ ก็ทำตัวเป็นทั้ง Consumer และ Supplier ไปในตัว
ส่วนบริษัทที่เป็นตัวกลาง ก็จะเก็บค่าหัวคิวกันไป
สำหรับบริษัทที่อยู่ใน Sharing Economy ยังมีอีกหลายบริษัท ที่น่าสนใจ
ไปดูกันเลย
1. TURO (หรือ RelayRides เดิม)
บริษัทนี้ก่อตั้ง เมื่อปี 2009 โดยใช้ชื่อว่า "RelayRides" ทำธุรกิจ เป็นคนกลาง ให้คนที่มีรถ แต่ไม่ได้ใช้งานเอามาปล่อยให้เช่ารายวัน (สมัยก่อนมีให้เช่าราย ชั่วโมงด้วย) พื้นที่ให้บริการอยู่ใน USA เป็นหลัก
โดย RelayRides เพิ่งเปลี่ยนชื่อ Turo เมื่อปี 2015 นี้เอง และมีมูลค่าบริษัทสูงถึง 331 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
และที่สำคัญคือ Google Venture ก็ ลงทุนใน บริษัทนี้ด้วย
2. Dogvacay
ถ้าในไทยเวลาที่ไปเที่ยว ก็อาจต้องฝากบ้านไว้กับตำรวจ แต่บริการนี้สำหรับเจ้าของที่รักสุนัข
สามารถเอาน้องหมา ไปฝากไว้กับเพื่อนบ้านใจดี ที่จะช่วยดูแลน้องหมาได้อย่างดีเยี่ยม
ไม่ต้องหิวโซอยู่ในบ้าน รอเจ้าของกลับมา
3. Taskrabbit
แหล่งรวมของ Freelancers ผู้มีทักษะ และความสามารถที่จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการส่งของ ไปจนถึงงาน Office ให้แก่ลูกค้า
บริษัทนี้ก่อตั้งเมือปี 2008 และในปัจจุบันมี "Tasker" ที่คอยแก้ปัญหา 10,000 กว่าราย
และการมาเป็น Tasker ใน Website นี้ได้ ก็ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะทำได้เลยนะ
ต้องไปสัมภาษณ์ และถูกเช็คประวัติกันละเอียดทีเดียว
4. Getaround
ดูไปแล้ว ก็คล้ายๆ กับ Turo นะครับ มีจุดเด่นเพิ่มมาอีกอย่างคือ รถที่มาให้เช่าใน Getaround ทำประกันครอบคลุม มูลค่าสูงสุดถึง 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กับ Berkshire Hathaway
5. Spinlister
เช่ารถยนต์ก็มีไปแล้ว ถึงทีของรถจักรยานบ้าง อันนี้มีให้บริการในไทย ด้วยนะ!
ค่าบริการตกประมาณวันละ 40 เหรียญสหรัฐฯ หรือ ประมาณ 1,500 บาท
6. Zaarly
ให้บริการสารพัดช่าง อีก 1 บริษัท
7. Lyft
คล้ายๆ UBER - ขอติดรถไปด้วยคน
8. Lending Club
อันนี้เหมือนแชร์ลูกโซ่ในไทย เลยแฮะ แต่ถ้าคิดในแง่ดี การกูเงินนอกระบบ อาจแก้ด้วย Start-up อันนี้ก็ได้นะ!
9. Fon
Share Wifi อันนี้น่าสนใจมากๆ (แต่บางท่านอาจทะเลาะกับเพื่อนบ้านอยู่ที่มาแอบใช้ Wifi)
10. Poshmark
มีเสื้อ หรือกระเป๋า Brandname ก็มาขายต่อได้นะ
และก็สำหรับคนไทย ก็มีบริษัท Start-up แจ่มๆ ที่มี Business Model แบบ Sharing Economy ด้วยเหมือนกัน
เพื่อนๆ ที่สนใจ ลองตามไปอ่านต่อได้ที่ link นี้เลยครับ
-------------------
ที่มา : http://www.forbes.com/pictures/eeji45emgkh/airbnb-snapgoods-and-12-more-pioneers-of-the-share-economy/
Tuesday, May 3, 2016
ถูกบีบให้เล่นเกมที่ไม่ถนัด โดย Invisible Hand
ผมเป็นคนชอบดูกีฬาตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะฟุตบอล ถึงปัจจุบันแม้มีเวลาน้อยลงแต่ก็ยังต้องหาเวลาดูฟุตบอลให้ได้ทุกสัปดาห์ แต่ผมเองก็ยังคิดว่าบางทีการดูกีฬาก็มีข้อเสียตรงที่ หากทีมที่เราเชียร์นั้นชนะเราก็ดีใจตามเรื่องตามราว เมื่อทีมที่เราเชียร์แพ้ หรือเสมอในนัดที่ไม่ควรเสมอ ก็มักจะรู้สึกเซ็งเมื่อดูจบ จนรู้สึกว่าจริงๆ การดูกีฬาอาจจะมีข้อเสียเหมือนกันคือสร้างความผิดหวังให้กับเราในหลายๆ ครั้ง แต่ผมคิดว่ารวมๆ แล้วการดูกีฬาก็ให้ข้อคิดหลายๆ อย่างเหมือนกันจึงทำให้ผมรู้สึกว่าการดูกีฬานั้นแม้จะผิดหวังบ่อยๆ แต่ก็สอนอะไรเราได้หลายๆ อย่างครับ
สิ่งหนึ่งที่ผมได้ยินบ่อยในการแข่งขันกีฬาประเภทฟุตบอล หรือประเภทอื่นๆ เช่น เทนนิส ก็คือ การถูกฝ่ายตรงข้ามบีบให้เราเล่นในเกมที่ตนเองไม่ถนัด เช่น ทีมที่ถนัดการเล่นบอลช้า เน้นการจ่ายบอลแม่นตามช่อง อาจจะถูกคู่แข่งเล่นเกมบีบพื้น ประกบตัวเร็ว จึงทำให้ทีมเราต้องจ่ายบอลเร็วหรือต้องเล่นลูกโยนและเสียบอลในที่สุด ทีมที่นักเตะไม่ถนัดลูกโหม่งก็จะถูกคู่แข่งที่ถนัดการเล่นลูกกลางอากาศในลูกโหม่งโจมตีและเอาชนะได้บ่อยๆ เช่น ทีมอาร์เซนอลที่ไม่ถนัดลูกกลางอากาศมักจะแพ้หรือทำผลงานได้ไม่ค่อยดีนักกับการเจอทีมที่ถนัดลูกโด่งอย่างโบลตัน แม้กระทั่งการแข่งขันเทนนิสที่คู่แข่งขันมักจะตีลูกไปยังด้านที่ฝ่ายตรงข้ามไม่ถนัด เป็นต้น
ดังนั้นหากเราย้อนมามองเรื่องการลงทุน จะเห็นว่า นักลงทุนแต่ละคนมีความถนัด หรือสไตล์การลงทุนต่างกัน ซึ่งบางครั้งความถนัดอย่างหนึ่งอาจจะทำเงินได้ดีในตลาดบางช่วง แต่สร้างผลงานได้ไม่ดีนักในตลาดบางช่วง อย่างเช่น นักลงทุนที่ลงทุนแบบกล้าได้กล้าเสีย เน้นการเก็งกำไรแบบมีหลักการ นักลงทุนกลุ่มนี้อาจจะไม่เน้นการวิเคราะห์พื้นฐานเท่า value investor แต่อาจจะมีหลักการต่างๆ เข้ามาประกอบการซื้อขาย เช่น การดูกราฟ การดู volume การดูการเข้าซื้อขายของนักลงทุนรายใหญ่ หรือการเข้าซื้อธุรกิจที่ผ่านการฟื้นฟูกิจการ หรือมีข่าวต่างๆ ที่มีผลดีต่อราคาหุ้น จุดเด่นอย่างหนึ่งและเป็นสิ่งที่ถนัดของนักลงทุนประเภทเก็งกำไรแบบมีหลักการคือ การมีจิตใจที่มั่นคงและพร้อมกล้าตัดสินใจในการซื้อขายอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด จึงทำให้สามารถสร้างกำไรในหุ้นบางตัวได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ และกล้าที่จะ cut loss ได้ก่อนที่พอร์ตจะเสียหาย นักลงทุนประเภทนี้จะประสบความสำเร็จในช่วงตลาดขาขึ้น เช่น ปี 2542 หรือปี 2546 และจะไม่เสียหายมากนักในตลาดขาลง นักลงทุนประเภทเก็งกำไรแบบมีหลักการเหล่านี้มักจะมีหลักเสมอว่าหากตลาดขาลงจะหยุดเล่นหุ้น คือจะถือเงินสดหรือถือหุ้นในสัดส่วนที่น้อย จะไม่พยายามเก็งกำไรในช่วงตลาดขาลงหรือซบเซามากนัก และพร้อมจะกลับมาทุกเมื่อหากตลาดเป็นขาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในช่วงที่เป็นตลาดขาขึ้น นักลงทุนประเภทเก็งกำไรแบบมีหลักการจะสามารถสร้างผลกำไรได้มากพอที่จะออกนอกตลาดไปได้อีกระยะใหญ่ๆ
แต่ก็มีนักลงทุนแบบเก็งกำไรที่เป็นรายย่อยจำนวนมาก ที่ทำตรงกันข้ามกับนักเก็งกำไรที่มีหลักการ ก็คือ การพยายามเก็งกำไรในทุกๆ ภาวะตลาด ไม่ว่าจะเป็นขาขึ้นหรือขาลง ด้วยเหตุผลว่า หาค่าขนม หรือค่ากับข้าว โดยเวลากำไรก็จะกำไรเล็กน้อย แต่หากพลาดพลั้งขาดทุนมักจะขาดทุนทีละมากๆ คือ เวลาได้ก็ได้ค่าขนมจริงๆ แต่พอเสียก็อาจจะเสียเงินรถเก๋งเป็นครึ่งคันหรือคันหนึ่ง ซึ่งนักลงทุนรายย่อยจำนวนมากเหล่านี้ก็จะประสบภาวะขาดทุนสะสมเรื้อรังมาเรื่อยๆ จนมูลค่าพอร์ตลดลงอย่างน่าตกใจ
สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ นักลงทุนแบบเก็งกำไรที่มีหลักการ จะพยายามเล่นในเกมที่ตนเองถนัดเท่านั้นก็คือ การลงทุนในตลาดขาขึ้น และหลีกเลี่ยงเกมที่ตนเองไม่ถนัด คือการลงทุนในตลาดขาลงหรือซบเซา ซึ่งถือว่ามีสิ่งที่จำเป็นสำหรับการลงทุนซึ่งก็คือ วินัยการลงทุน คือ ทำในสิ่งที่ตนเองถนัด แต่นักลงทุนรายย่อยจำนวนมากพยายามฝืนตลาดด้วยการเข้าไปเก็งกำไรในช่วงตลาดไม่ดีโดยหวังกำไรเล็กๆ น้อยๆ ถือว่าเล่นเกมไม่ถนัด
สำหรับนักลงทุนแบบ Value investor ผมคิดว่าความถนัดของ VI ก็คือการวิเคราะห์พื้นฐานของบริษัทเพื่อให้สามารถคาดการณ์ผลประกอบการและเงินปันผลในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่มีผลตอบแทนของการลงทุน ซึ่งก็พบว่าในบางปีที่ตลาดเป็นตลาดกระทิง นักลงทุนแบบ VI อาจจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนน้อยกว่านักลงทุนแบบเก็งกำไรทั้งที่มีหลักการและไม่มีหลักการ จึงทำให้นักลงทุนแบบ VI บางคนทนความเย้ายวนของผลตอบแทนของหุ้นเก็งกำไรหรือผลตอบแทนของเพื่อนๆ นักลงทุนที่ลงทุนแบบเก็งกำไรไม่ได้ และหันมาเล่น “ เกมที่ไม่ถนัด ” ด้วยการเข้าซื้อหุ้นเก็งกำไร หรือหุ้นที่มีข่าวต่างๆ นานา ด้วยหวังว่าจะทำกำไรมากๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งช่วงแรกๆ อาจจะได้กำไรที่ดี แต่ท้ายสุดแล้ว VI หลายคนที่โดดเข้าไปเล่นเกมที่ตนเองไม่ถนัดก็ได้รับผลตอบแทนในการลงทุนที่ไม่สู้ดีนัก
อีกเหตุการณ์ที่ทำให้ VI หันไปเล่นเกมที่ไม่ถนัดก็คือ นักลงทุนแบบ VI แต่ละคนมีความเชี่ยวชาญในกลุ่มธุรกิจที่ต่างกัน บางคนเชี่ยวชาญด้านหุ้นการผลิตอุตสาหกรรม บางคนเชี่ยวชาญด้านพลังงาน บางคนเชี่ยวชาญด้านหุ้นโรงเรือน เช่น โรงแรม โรงพยาบาล ค้าปลีก บางคนเชี่ยวชาญอสังหาริมทรัพย์ หรือหุ้นวัฎจักรต่างๆ เป็นต้น หลายๆ ช่วงเวลาที่หุ้นที่ตนเองเชี่ยวชาญอาจจะอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่น่าลงทุน เช่น ราคาหุ้นมี p/e แพงเกินไปแล้ว หรือสภาพแวดล้อมทางธุรกิจยังไม่เอื้ออำนวย ทำให้ VI อาจจะไม่สามารถใช้ความถนัดของตนเองในการลงทุนในหุ้นกลุ่มที่ตนเองถนัดได้ จึงหันไปเล่นเกมที่ไม่ถนัดด้วยการพยายามหาหุ้นในกลุ่มที่ตนเองไม่เคยสนใจหรือมีความรู้ความเชี่ยวชาญ และอาจจะพยายามใช้หลักของ VI เข้าไปบางส่วนเช่น ดู p/e p/bv ต่ำๆ แต่ไม่สามารถศึกษาลงไปลึกในรายละเอียดได้อยากแตกฉาน ซึ่งท้ายสุดแล้วก็จะได้หุ้นที่เราอาจจะไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง และมีโอกาสสูงที่ผลประกอบการ และผลตอบแทนการลงทุนอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่เราคาดหวัง
ดังนั้นสำหรับ VI บางครั้งหากเราอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถหาหุ้นใหม่ๆ ที่น่าสนใจได้จริงๆ เราควรจะรอจังหวะและโอกาสที่จะต้องเกิดขึ้นในอนาคต มากกว่าที่จะไปเล่นในเกมที่ตนเองไม่ถนัด ด้วยการหาหุ้นแปลกใหม่ที่เราอาจจะไม่มีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงเข้ามาในพอร์ตครับ
ดังนั้น สิ่งที่นักลงทุนทุกคนควรทำก็คือ การหาความถนัดของเราเองเพื่อให้รู้ว่าเราควรจะมี style การลงทุนแบบใด เพราะหาก style ไม่เหมาะกับความถนัดโอกาสประสบความสำเร็จก็จะน้อย เปรียบเหมือนทีมฟุตบอลที่กองหน้าตัวเล็กแต่เพื่อนโยนบอลให้โหม่งลูกเดียว นอกจากนี้ เราจึงต้องหาโอกาสเพิ่มความถนัดของตัวเราด้วยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม และลดความไม่ถนัดในบางเรื่องที่เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการลงทุน ยกตัวอย่างเช่น หากเราเป็น VI แต่ไม่ถนัดการอ่านงบการเงินและวิเคราะห์กระแสเงินสด ถือว่าเป็นความไม่ถนัดที่ควรจะได้รับการแก้ไขให้ได้โดยเร็วเพราะถือว่าเป็นจุดที่นักลงทุนแบบ VI ควรจะทำได้ครับ หรือหากเรารักจะเล่นหุ้นแบบเก็งกำไรแต่ไม่สามารถอ่านทิศทางตลาดหรือราคาหุ้นได้จากการดูกราฟ volume หรือเครื่องมือต่างๆ หรือไม่สามารถมีการตัดสินใจที่รวดเร็วและเด็ดขาด เราก็จะอยู่ในภาวะที่เสียเปรียบอย่างมากครับ
แต่หากเมื่อเราดูความถนัดต่างๆ แล้ว พบว่าเราไม่มีความถนัดมากพอที่จะลงทุนในหุ้นไม่ว่าจะเป็นแบบเก็งกำไร VS หรือ VI แล้ว ผมคิดว่าเราควรจะอยู่วงนอกศึกษาหาความรู้และความถนัดเสียก่อน ยังไม่ควรเข้ามาลงทุนทันที หรือหากต้องการลงทุนเพื่อศึกษาหาประสบการณ์ ก็ควรจะเริ่มจากจำนวนเงินที่ไม่มากนักก่อน และอาจจะต้องนำเงินออมไปยังการลงทุนอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าและความถนัดน้อยกว่า เช่น การฝากธนาคาร ซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือกองทุนตราสารหนี้ เป็นต้นครับ และเมื่อเราศึกษามากพอและเห็นความถนัดของตนเองแล้วจึงค่อยเริ่มลงทุนในหุ้นครับ
ดังนั้น การเป็นนักลงทุน ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนประเภทใด ทั้ง VI VS หรือนักลงทุนแบบเก็งกำไร ควรจะเล่นในเกมที่เราถนัดให้มากที่สุด และหลีกเลี่ยงการถูกบีบให้เล่นในเกมที่เราไม่ถนัดครับ
_______________
_______________
ติดตามบทความของ Invisible Hand ได้ที่เวบกระทิงเขียว ครับ
Wednesday, April 20, 2016
Kingsmen C.M.T.I. กับ Oppday ครั้งแรก
บริษัท Kingsmen C.M.T.I. หรือ K เป็น บริษัทประกอบธุรกิจออกแบบและตกแต่งงาน แบบครบวงจร
โดย มีธุรกิจ อยู่ 4 กลุ่ม ได้แก่
1) ธุรกิจงานตกแต่งภายใน (Interiors) (ทำอุปกรณ์ตกแต่งเอง ช่วยลดต้นทุน คล้ายๆ BKD แต่ K เน้น งานตกแต่ง Shop ร้านค้าปลีก) ตัวอย่างลูกค้า
2) ธุรกิจงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ (Exhibitions) ทำให้ครบวงจรเช่นเดียวกัน ตั้งแต่ ออกแบบ ก่อสร้าง จัดกิจกรรมทางการตลาด
3) ธุรกิจงานพิพิธภัณฑ์และสวนสนุก (Museums & Thematic Park)
4) ธุรกิจการตลาดทางเลือก (Alternative Marketing) ได้แก่ พวก Event Marketing
Competitive Advantage ของบริษัท
- Networking อยู่ในกลุ่ม Kingsmen มี 19 Offices ใน 12 ประเทศ ครอบคลุม Asia Pacific และตะวันออกกลาง ข้อได้เปรียบคือ
- มีการส่งผ่านความรู้ ทั้ง Marketing, Project Management, Accounting, HR
- มีการส่งงานให้กันและกัน ส่วนใหญ่ ฮ่องกง, สิงคโปร์, ญี่ปุ่น ส่งงานมาให้ K และจะเข้ามาช่วยกำกับ งานแรกๆ ลดข้อผิดพลาด สร้างความมั่นใจให้ลูกค้า
- การที่มี Brand ทำให้การขายในกลุ่มใหญ่ ทำได้ง่าย สินค้าบาง Brand จะจัดจ้างทีเดียวหลายๆ ประเทศ
- ครบวงจร ทั้งการออกแบบ (Designer&Architect 30 กว่าคน), การผลิต, และการบริหารโครงการ
- มีลูกค้าที่แข็งแรงกึ่งๆ พันธมิตร เช่น Motor Expo ทำมา 20 กว่าปี, Money Expo เริ่มทำตั้งแต่ครั้งที่ 1 ถึงปัจจุบัน, มีความสัมพันธ์ที่ดีกับห้าง ทุกแห่ง
- มีผู้บริหารที่มีประสบการณ์อย่างยาวนาน ทั้งคุณชยวัฒน์, คุณประวิชย์, คุณดำรง, คุณบัญชา, คุณสุนิสา เป็นต้น
- บริหารธุรกิจอย่างยั่งยืน ยาวนาน ได้รางวัลต่างๆ มากมาย ล่าสุดได้ รางวัล WCA มาตรฐานของผรั่งเศส ในการตรวจสอบการจ้างงานที่ถูกต้อง เที่ยงธรรม
ข้อมูลทางการเงิน
ยอดขายคิดว่าจะเริ่ม Take-off เนื่องจาก 2557 มีปัญหาการเมือง
SG&A ยอมรับว่าค่อนข้างสูง เพราะ
- ปี 58 เพิ่มคนจาก 150 เป็น 200 คน เตรียม Take-off, มีสวัสดิการที่ดี, และส่งทีมงานไปดูงานมากขึ้น สร้างประสบการณ์ให้พนักงาน
- นอกจากนี้มีการทำสมุด ดี passport ถ้าทำความดีก็จดไว้ ให้คะแนน เช่น บริจากอวัยวะ, บริจาคเลือด ทำมาปีที่ 5 แล้ว ปลายปีรวมคะแนน แจกโบนัส "ทำดี มีคนเห็น"
- มีส่วนแบ่งกำไรจากงานโครงการ ป้องกันเรื่อง Corruption
- สวัสดิการ ตรวจร่างกายให้คนงานรายวัน ประมาณ 300 กว่าคน ทุกปี ตรวจมากกว่าพนักงาน ทั้งกล้ามเนื้อ และระบบหายใจ ด้วย
- SG&A เปรียบเสมือนเหรียญ 2 ด้าน (คิดเป็นการลงทุนละกันครับ)
ROE, ROA ก่อนเข้าตลาดสูงมาก จ่ายปันผลตลอด
Key Drivers
1. ห้างเปิดเยอะมาก คิดว่าบริษัทจะโตได้ไม่ต่ำกว่า 7 ปี
2. การใช้เงิน IPO (276 MB)
- คืนเงินกู้ ธนาคาร 115 MB (จริงๆ เป็นเงินลงทุนล่วงหน้าในโรงงาน ลำลูกกา คลอง 6 และพม่า) ปัจจุบันในพม่า ได้สัญญางานแสดงสินค้า เดือน ส.ค./ ต.ค. แล้ว และทำงาน Show Room/Corner ให้ SCG กำลังประมูลงาน 20-30 MB
- โรงงาน รังสิต คลอง 11 Budget 96.5 MB รอกลางปี ค่อยลงเครื่องจักร ปัจจุบันลำลูกกา คลอง 6 ยังไหว
3. ยอดขาย และแนวโน้มปี 2559
- มีงาน Interior เซ็นแล้ว 327 MB (Q1,Q2, Q3 เล็กน้อย)
- งานแสดงสินค้า เซ็นแล้ว 300 MB (ครึ่งนึง Q1, ที่เหลือเฉลี่ยๆ)
- Exhibition ประมูล 270 MB hit rate 55% คิดว่า 140 MB
- Interior ประมูล hit rate 30% ก็คิดว่า 300 MB
- งานในมือน่าจะ พันกว่า ล้าน
- มีงานให้ประมูลอยู่ตลอด
- โดยรวม Q1 ปีนี้ น่าจะยอดขายดีกว่าปีที่แล้ว แต่ Bottom line ไม่ทราบ
- เป้าปี โต ไม่ต่ำกว่า 25% อยากโตอย่างยั่งยืน
- จะเปิด BU ใหม่ในส่วนของ Interior รองรับงานในอนาคต
สรุป Q&A
1. The Mall Group Blue Port / Blue Pearl อยู่ที่ไหน?
- Blue Port หัวหิน เริ่ม ตกแต่งภายใน
- Blue Pearl ภูเก็ต
2. งาน SCG ที่พม่า?
- K ไปประมูลแข่งกับรายอื่น ได้งานมา เป็นงานตกแต่ง แต่มูลค่าน้อย, ปัจจุบัน K มี Office ถาวรที่พม่าแล้ว จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ลงทุนโดย K 100% มีพนักงาน 4 คน, Revenue 2015 = 6.5 MB, ปี 2016 เป้า 30 MB คิดว่าจะ Brekeven หรือมีกำไรนิดหน่อย
- Blue Port หัวหิน เริ่ม ตกแต่งภายใน
- Blue Pearl ภูเก็ต
2. งาน SCG ที่พม่า?
- K ไปประมูลแข่งกับรายอื่น ได้งานมา เป็นงานตกแต่ง แต่มูลค่าน้อย, ปัจจุบัน K มี Office ถาวรที่พม่าแล้ว จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ลงทุนโดย K 100% มีพนักงาน 4 คน, Revenue 2015 = 6.5 MB, ปี 2016 เป้า 30 MB คิดว่าจะ Brekeven หรือมีกำไรนิดหน่อย
3. Gross Margin ได้ข่าวว่าจะมีโรงงาน Prefab? สัดส่วนการ Outsource?
- เดิม In-house : Outsource = 49 : 51% ผรม. ต้องการกำไร 10-15% อย่างน้อย เราทำเอง็อาจดีขึ้นซัก 10% แต่ต้องมีเงินลงทุนส่วนเพิ่ม
- หลัง IPO คิดว่า In-house 55-60% ป้องกันความเสี่ยง Cap ไว้ไม่เกิน 60%
4. Q4 GPM = 17.8% ทั้งปี 21% อยากทราบว่า Q4 เกิดอะไรขึ้น ปกติ Q4 มี Exhibition margin น่าจะดีกว่า Interior?
- Q4 รายได้ Exhibition งาน Motor Expo ต่ำกว่า Q1 งาน Motor Show
- เนื่องจาก ปีที่แล้ว มีการลงทุนล่วงหน้า ใช้เงินกู้วงเงิน 200 MB ทำให้ต้นทุนส่วนเพิ่ม
- Q1 ได้กำไรพิเศษ มีการลงทุนซื้อโครงสร้าง เพื่อมา Re-use ใน 5 ปี (ปกติ Q1 จะใกล้ๆ กับ Q4)
- โดยปกติ คิดว่าสูงกว่า 17%
- Target GPM ปี 2016 = 21% บวกลบ
5. บัญชีมีค่าใช้จ่ายรอการตัดจำหน่าย?
- จะตัดเข้า Q1/16 = 2 MB, Q4/15 = 4 MB, Q4/16 ก็จะตัดเข้าอีก = 2 MB
- ตัดค่าเสื่อม 5 ปี ปีละ 4 MB งาน Motor Show
6. SG&A มีส่วนที่เป็น Fix กี่%?
- ส่วนที่เยอะคือพนักงานส่วน Marketing เนื่องจากขยายตลาด ส่วนที่ Vary คือส่วนนี
- HR, Admin คิดเป็นสัดส่วนประมาณ xx? (ไม่ตอบ)
- คุณ ชยวัฒน์ คิดว่า คชจ. ส่วนนี้ เกือบทั้งหมดเริ่มนิ่งแล้ว
7. NPM เทียบคู่แข่ง?
- คิดว่า อาจทำไม่ได้เยอะขนาดคู่แข่ง K เน้น ยุติธรรมและแบ่งปัน ไม่ได้มีเป้าหมายในการทำกำไรสูงสุด เน้น Sustainability
- เช่น เดือนที่แล้ว เรียกประชุม ผรม. 50-60 ราย เล่าให้ฟังเขาว่า K มี Anti Corruption, Green
- คิดว่า คุม GPM ประมาณ 21-22% กำลังพอดี
- ตั้ง PF fund ตั้งแต่มียอดขาย 60 MB ปี 2537, หักพนักงาน 3% สมทบ 5-10%, มีเงินกู้ยืมให้พนักงานแก้ปัญหาบัตรเครดิต, ประกันสุขภาพ, ลงทุนสัมมนา, ดี passport จ่ายปีละเป็นล้านบาท
- รอ Volume มา
8. Growth ในอีก 3-5 ปี ข้างหน้า จะขาดแคลนพนักงานไหม?
- สวัสดิการดี ไม่มีปัญหาพนักงาน
- Project manager สูงกว่าทีอื่น
- คนงานรายวัน Skilled labor เป็นคนไทยทั้งหมด ไม่มีปัญหาเรื่องแรงงาน
9. สัดส่วนรายได้แบ่งตามประเภท?
- Interior 50% ปีนี้จะถึง 55%
10. งาน Backlog?
- ปีนี้ 1,092 MB รับรู้เกือบทั้งหมด, ระหว่างทาง มีการประมูลเพิ่มอีก คิดว่าจะโตได้อีก 25% ต่อปี ไม่ต่ำกว่านี้ 5-7 ปี เป็นน้ำซึมบ่อทราย ต้องมีฐานแรงงาน, โรงงาน
11. งานรัฐ vs. เอกชน?
- ปี 2016 เอกชน 99%, รัฐ 1%
- K มีบริษัทลูก 1 เดียว คือ Kingsmen Myanmar ทำให้รับงานที่ลงบัญชีไม่สะดวก ลำบาก?
ข่าวแนวโน้มกิจการ จาก Website บริษัท
#จบ#
Sunday, April 17, 2016
เปิดแนวรบด้านตะวันออก
ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปทำงาน (ทริปสั้นๆ) ที่ประเทศเวียดนาม
สิ่งที่สัมผัสได้และชอบมาก ก็คือ คนเวียดนามมีความกระตือรือร้น ในการทำงาน และการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
ในทีวีก็มีโปรโมตข่าว TPP (Trans-Pacific Partnership)
ทำให้รู้สึกว่า ประเทศนี้ยังมีโอกาสเติบโต ได้อีกมาก
และจากบทความของ ล่าสุดของ อ.นิเวศน์ แนวรบด้านตะวันออก
มีการเปรียบเทียบตลาดหุ้นเวียดนาม กับตลาดหุ้นไทย อย่างเห็นภาพ
และยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ในการไปเปิดพอร์ท ลงทุนที่เวียดนามซะที
หลังจากเล็งๆอยู่นานหลายปีละ
และตอนนี้ก็มี VI รวมกลุ่มกันตั้ง Page Vietnam Value Investor หุ้นเวียดนาม
เลยถือโอกาสไปขอความรู้เกี่ยวกับการเปิดพอร์ท ซะเลย ซึ่ง Admin ก็ให้ข้อมูลดีมากๆ
นอกจากนี้ ใน Page ก็มีข้อมูลเชิงลึก เกี่ยวกับแต่ละบริษัทในเวียดนาม
ช่วยประหยัดเวลาศึกษาไปได้เยอะเลย
เพื่อนๆ ที่สนใจก็ลองเข้าไปทักทายพูดคุยกับ Admin ดูนะครับ ^^
อีกช่องทางหนึ่งที่กำลังศึกษาและว่าจะมาเขียนรีวิว ให้อ่านกันก็คือ
บริการดีๆ จากทาง Jitta ที่เพิ่ง Cover ตลาดหุ้นเวียดนาม
ซึงก็มีทั้ง Ranking บริษัท และข้อมูลทางการเงินครบถ้วน
เพื่อนๆที่สนใจ ตลาดหุ้นเวียดนาม ลองแลกเปลี่ยนกันใน comment ได้เลยนะครับ
ผมมือใหม่ตลาดหุ้นเวียดนามฝากตัวด้วยครับ ^^
สิ่งที่สัมผัสได้และชอบมาก ก็คือ คนเวียดนามมีความกระตือรือร้น ในการทำงาน และการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
ในทีวีก็มีโปรโมตข่าว TPP (Trans-Pacific Partnership)
ทำให้รู้สึกว่า ประเทศนี้ยังมีโอกาสเติบโต ได้อีกมาก
และจากบทความของ ล่าสุดของ อ.นิเวศน์ แนวรบด้านตะวันออก
มีการเปรียบเทียบตลาดหุ้นเวียดนาม กับตลาดหุ้นไทย อย่างเห็นภาพ
และยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ ในการไปเปิดพอร์ท ลงทุนที่เวียดนามซะที
หลังจากเล็งๆอยู่นานหลายปีละ
และตอนนี้ก็มี VI รวมกลุ่มกันตั้ง Page Vietnam Value Investor หุ้นเวียดนาม
เลยถือโอกาสไปขอความรู้เกี่ยวกับการเปิดพอร์ท ซะเลย ซึ่ง Admin ก็ให้ข้อมูลดีมากๆ
นอกจากนี้ ใน Page ก็มีข้อมูลเชิงลึก เกี่ยวกับแต่ละบริษัทในเวียดนาม
ช่วยประหยัดเวลาศึกษาไปได้เยอะเลย
เพื่อนๆ ที่สนใจก็ลองเข้าไปทักทายพูดคุยกับ Admin ดูนะครับ ^^
อีกช่องทางหนึ่งที่กำลังศึกษาและว่าจะมาเขียนรีวิว ให้อ่านกันก็คือ
บริการดีๆ จากทาง Jitta ที่เพิ่ง Cover ตลาดหุ้นเวียดนาม
ซึงก็มีทั้ง Ranking บริษัท และข้อมูลทางการเงินครบถ้วน
เพื่อนๆที่สนใจ ตลาดหุ้นเวียดนาม ลองแลกเปลี่ยนกันใน comment ได้เลยนะครับ
ผมมือใหม่ตลาดหุ้นเวียดนามฝากตัวด้วยครับ ^^
Monday, March 14, 2016
Celebrity Investor (CI) เล่นหุ้นตามเซียน
ช่วงนี้เป็นช่วงที่หลายๆ บริษัท ทะยอยปิดทะเบียนผู้ถือหุ้นประจำปี
เพื่อใช้สำหรับเชิญประชุมผู้ถือหุ้น (XM) หรือ จ่ายปันผล (XD)
กิจกรรมหนึ่งที่ผมต้อง Update เป็นประจำก็คือ การ Update รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่
โดยเฉพาะการ Update ความเคลื่อนไหวของนักลงทุนที่ผมชื่นชอบในฝีไม้ลายมือ (และต้องรู้จักชื่อจริงด้วย)
ดูว่าเขาคิดอย่างไร ถึงกล้าซื้อหุ้นในสัดส่วนที่เยอะ ขนาดติดรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้
แนวทางนี้อาจเรียก เท่ห์ๆ ว่า "Celebrity Investor" หรือ "CI" คือ เล่นหุ้นตามเซียน
อย่างไรก็ตาม เหล่าเซียน ได้กล่าวเสมอๆ ว่า เขาอาจกำลังขายหุ้นทิ้งอยู่ก็เป็นได้ คือซื้อมานานแล้ว
ดังนั้น ก็ไม่ควรลอก จนไม่ลืมหูลืมตา โดยไม่ได้เข้าใจบริษัท หรือไม่รู้ที่ไปที่มาใดๆ เลย
สำหรับ Website ที่ใช้ในการติดตาม Update รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นรายบุคคล
ผมใช้บริการของ website siamchart ซึ่งเป็นบริการฟรี (แต่ใครมีจิตศรัทธาก็ช่วยบริจาคสนับสนุนกันได้)
ตัวอย่าง การ search หาข้อมูลก็ตามรูปนี้
สำหรับวันนี้ ขอลองมา Review นักลงทุน ที่ผมติดตามเป็นประจำ (ที่เพื่อนๆ น่าจะรู้จักกันอยู่แล้ว) ซัก 3 ท่าน ละกันครับ
1) ปรมาจารย์ VI ของเมืองไทย : อ.นิเวศน์
เพื่อใช้สำหรับเชิญประชุมผู้ถือหุ้น (XM) หรือ จ่ายปันผล (XD)
กิจกรรมหนึ่งที่ผมต้อง Update เป็นประจำก็คือ การ Update รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่
โดยเฉพาะการ Update ความเคลื่อนไหวของนักลงทุนที่ผมชื่นชอบในฝีไม้ลายมือ (และต้องรู้จักชื่อจริงด้วย)
ดูว่าเขาคิดอย่างไร ถึงกล้าซื้อหุ้นในสัดส่วนที่เยอะ ขนาดติดรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้
แนวทางนี้อาจเรียก เท่ห์ๆ ว่า "Celebrity Investor" หรือ "CI" คือ เล่นหุ้นตามเซียน
อย่างไรก็ตาม เหล่าเซียน ได้กล่าวเสมอๆ ว่า เขาอาจกำลังขายหุ้นทิ้งอยู่ก็เป็นได้ คือซื้อมานานแล้ว
ดังนั้น ก็ไม่ควรลอก จนไม่ลืมหูลืมตา โดยไม่ได้เข้าใจบริษัท หรือไม่รู้ที่ไปที่มาใดๆ เลย
สำหรับ Website ที่ใช้ในการติดตาม Update รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นรายบุคคล
ผมใช้บริการของ website siamchart ซึ่งเป็นบริการฟรี (แต่ใครมีจิตศรัทธาก็ช่วยบริจาคสนับสนุนกันได้)
ตัวอย่าง การ search หาข้อมูลก็ตามรูปนี้
สำหรับวันนี้ ขอลองมา Review นักลงทุน ที่ผมติดตามเป็นประจำ (ที่เพื่อนๆ น่าจะรู้จักกันอยู่แล้ว) ซัก 3 ท่าน ละกันครับ
1) ปรมาจารย์ VI ของเมืองไทย : อ.นิเวศน์
- QH น่าจะติดรายชื่อ ผถห. รายใหญ่ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
ตอนนี้ ก็ ถือเป็นบริษัทที่มีทั้ง CEO และนักลงทุน ที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี!
- หุ้นอื่นๆ อ. ถือไว้นานมาก
- ตอนนี้สัดส่วนเงินสดของ อ. สูงถึง 30-40%
2) อ.ไพบูลย์
- port ของ อ.ไพบูลย์ จะกระจายมากกว่า และมีบริษัทที่มี Market Cap เล็กกว่าของ อ.นิเวศน์ แต่มี potential growth สูง
- บริษัทส่วนใหญ่ ของ อ.ไพบูลย์ ก็ถือนานมาก และจะซื้อเพิ่ม หากกิจการยัง OK
3) พี่โจ ลูกอิสาน - Peter Lynch เมืองไทย และอดีตนายกสมาคม ThaiVI
(ขอแก้ไข วันที่ 15/3 TNDT ไม่มีชื่อแล้วครับ)
- ตอนนี้ได้ข่าวว่า อ.โจ มีหุ้นกว่า 40 ตัว ดังนั้น ที่ติดรายชื่อ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ นั้นอาจเป็นส่วนน้อย!
- การติดตาม Port อ.โจ นั้น ต้อง Update กันเป็นรายเดือน เพราะ อ.จะปรับพอร์ท คัดเลือกหุ้นที่ Undervalue มาเติมเข้าพอร์ท และขายหุ้นที่ราคาขึ้นถึงเป้าหมายที่ประเมินเอาไว้ออกไป
ซึ่งหากคิดจะซื้อตาม คงอย่าทำดีกว่า แต่หากมีหุ้นอยู่แล้ว แต่อยู่ดีๆ มีชื่อ อ.ติดมาด้วย
ก็จะสร้างความฮึกเหิมขึ้นทันที ไปโม้กับเพื่อนได้ ว่า อ. ซื้อหุ้นตามเรา 555
ขอจบตอน ประมาณนี้ละกันครับ
#