ATP30 ผู้ให้บริการรับส่ง "สิ่งที่มีค่าที่สุด" ใน "โรงงาน"
- สนใจบริษัทนี้จากการ scan บริษัทที่มี Market Cap. น้อยกว่า 500 ล้านบาท ครับ (ณ วันที่ scan มูลค่าอยู่ที่ประมาณ 497 ล้านบาท)
- บริษัทเป็นผู้ให้บริการขนส่ง สิ่งที่มีค่ามากที่สุดในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งก็คือ "พนักงาน" นั่นเอง
- บริษัทริ่มประกอบธุรกิจรับส่ง พนักงานไปยังโรงงานตั้งแต่ปี 2548 ปัจจุบันดำเนินงานมาได้ 10 ปีแล้ว
- เพิ่ง IPO เมื่อเดือน สิงหาคมที่ผ่านมา ที่ราคา 0.95 บาท/หุ้น (ราคาพาร์ 0.25 บาท/หุ้น)
- จำนวนหุ้นที่เสนอขายทั้งสิ้น 160 ล้านหุ้น บริษัทรับเงินไปขยายกิจการทั้งสิ้น 152 ล้านบาท
- CEO คือ คุณปิยะ เตชากูล เมื่อก่อนเคยเป็นผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรม แต่เห็นโอกาสทางธุรกิจรับส่งพนักงาน เลยนำโมเดลนี้ไปนำเสนอ บริษัท สยามอีสเทิร์นอินดัสเตรียลพาร์ค จำกัด และบมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน แต่ถูกปฏิเสธ
- อย่างไรก็ตาม สุดท้ายก็ได้ลงทุนเปิดบริษัท โดย 'ตระกูลพานิชชีวะ' และ 'ตระกูลกรมดิษฐ์' ตัดสินใจลงทุนกับ ATP30 ในนามส่วนตัว
- คุณ ปิยะ เตชากูล พื้นเพเป็นคนจังหวัดชัยภูมิ จบปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขวิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่น 27 ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับ 'ประพันธ์ เจริญประวัติ' ผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
- บริษัทมีการให้บริการเป็น 2 รูปแบบ คือ รถโดยสารของบริษัทเอง และรถร่วมบริการ
- ลูกค้าของบริษัท กระจายไปในหลากหลายอุตสาหกรรม บริษัทจะทำการหาลูกค้าให้ได้ก่อน โดยเซ็นต์สัญญา 1-5 ปี หลังจากนั้นจึงค่อยทำการจัดหารถ
- บริษัท คิดค่าบริการลูกค้า โดยเหมาเป็นจำนวนเที่ยว ซึ่งรูปแบบสัญญามีความหลากหลาย (บางสัญญามี Minimum Charge) ราคาค่าบริการปรับขึ้นลงตามราคาน้ำมัน โดยเฉลี่ยแล้ว ค่าบริการจะตกประมาณ 2,000-3,000 บาท/หัว/เดือน
- ผลประกอบการของบริษัท เดิบโตอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทพยายามเพิ่มสัดส่วนของรายได้ของรถโดยสารของบริษัทเอง ซึ่งมี GPM สูงกว่า การใช้รถร่วม
- หากดูจากสัดส่วนทางการเงิน พบว่าต้นทุนดอกเบี้ยสูงมาก ซึ่งหากลดตรงนี้ไปได้ ตัวเลขกำไรจะดูดีขึ้นมาก อีกทั้งความพยายามในการเพิ่มสัดส่วนรถของบริษัทเอง ก็จะทำให้อัตรากำไรขั้นต้น และอัตรากำไรสุทธิเพิ่มสูงขึ้นได้
- อย่างไรก็ตาม หากดู ROA, ROE ของบริษัท ก็ไม่ได้สูงอย่างที่คิด (ต่ำมากเลยด้วย ROA 2-3% นึกว่าเป็นหุ้นแบงก์-ไฟแนนซ์) ซึ่งส่วนหนึ่ง น่าจะมาจากขนาดของบริษัทที่ยังเล็กมาก มี Market Share ประมาณ 2% ของตลาดในภาคตะวันออก จึงยังไม่เกิดการประหยัดจากขนาด (Economy of Scale) ซึ่งหากบริษัทสามารถขยายจำนวนลูกค้าออกไปได้มากขึ้น ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายต่างๆ ลดลงได้ หรือเพิ่มการ Utilize Asset ได้ดียิ่งขึ้น และทำให้ตัวเลข ROA, ROE ดูดีขึ้นได้
- เงินที่ได้จากการ IPO จะนำไปจ่ายหนี้, ขยาย Fleet รถ, และปรับปรุงระบบ IT เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการแข่งขัน
ไว้ตอนหน้ามาต่อ เรื่องการวิเคราะห์เปรียบเทียบคู่แข่ง และการประเมินมูลค่าครับ
No comments:
Post a Comment