Tuesday, February 16, 2016

ACAP เล็กแต่เผ็ด (นะค่ะ)

ACAP กับการออก Opportunity day ครั้งแรก
มาครั้งแรกแต่ออกตัวแรงมากๆ ชี้เป้าทั้งรายได้ กำไร และ PE เป้าหมายไปพร้อมๆ กันเลย

ขอสรุปแบบสั้นๆ ละกันครับ

บริษัทลูก
- OK Cash ปล่อยสินเชื่อ ต่างๆ มากมาย ทั้ง Corporate, Retail  (ผู้ผลิตสินค้าเช่นตู้เติมเงิน), และ Short term loan

- Capital OK : แข่งขันกับ Bank ยาก แต่กำลังลุ้นเงินทุนญี่ปุ่น มาสนับสนุนการปล่อยกู้
- Global Service Center : Call center, Debt collection ปัจจุบันขยายงานดี เพราะลดราคาลงมาให้เข้ากับความต้องการตลาด
- ACAP consulting : ปัจจุบัน Monitor เงินสด ของสหฟาร์ม
- AMC : Asset management ซื้อหนี้มาบริหารได้

เป้าหมายธุรกิจ
- ปี 2016 จะออกหุ้นกู้ 2,000 ล้านบาท มาปล่อยกู้ ตามรูปนี้เลย (เป็นที่ฮือฮามากกับ Slide นี้)

- ต้องการให้ EPS สูง ราคาดี ผลประกอบการดี (น่าจะมี) ปันผล

Q&A
1. ปีที่แล้ว ใน Q2/15 ปล่อยไปเจ้าเดียว 350 ล้านบาท ต้องมี Collateral Asset อย่างน้อย 2 เท่า แต่สินทรัพย์ที่เอามาวาง 1,300 ล้านบาท

2. ปล่อยกู้โดยจับมือกับผู้ผลิตสินค้า ให้ลูกค้าที่มี Purchasing Power ไม่พอ แต่ก็ผู้ผลิตสินค้าก็ต้องร่วมรับผิดชอบกับ Finance ด้วย เช่น Buy Back Guarantee

3. หุ้นกู้ 1,000 ล้านบาท จะปล่อยกู้ Corporate Best case 4 เดือนก็เต็มวงเงินแล้ว (อีกไม่กี่วัน จะปล่อยกู้ 400 ล้านบาท) จริงๆ การปล่อยกู้เป็นศิลปะ แต่คาดว่าจะใช้เวลาปล่อย 6 เดือน

4. หุ้นกู้ Retail เบื้องต้นตั้งไว้ 600 ล้านบาท แต่ตอนนี้มีรายย่อยผู้ผลิตสินค้าวิ่งหา Bank แล้วไม่ช่วย ทาง ACAP ยินดีช่วย คิดว่าจะขยับ 600 -> 1,000 ล้านบาท

5. เงินกู้ 400 ล้านบาท คาดว่าจะปล่อยบริษัทเดียว สอนทรัพย์เกิน 2 เท่า

6. ปล่อยกู้ผู้ประกอบการ จ่ายร่วมๆ กันมากกว่า 15%  ต่อปี โดยหลักเกณฑ์การปล่อยกู้ ก็จะเป็น 6 เดือน + ต่อเวลาอีก 6 เดือน

7. นอกจาก Collateral ไม่ต่ำกว่า 2 เท่า สมมติ 100 บาท หักดอกเบี้ย 15 บาท ก็ปล่อยกู้ไป 85 บาท แต่มีสินทรัพย์ 200 บาท ก็ต้องดูว่าลูกหนี้ จะจ่ายคืนอย่างไร / ส่วนผู้ผลิตตู้เติมเงิน ก็เป็นการปล่อยกู้ไปทำมาหากิน (รู้สึกคุ้นๆ กับกิจการนี้)

8. คุณเฉลิมไชย เน้นว่า ACAP เองยัง Conservative อยู่ ที่ผ่านมาทำธุรกิจ มาหลายอย่าง แต่พอทีมใหม่เข้ามา ครั้งแรกก็ดูธุรกิจเดิม เช่น พวกซื้อพอร์ท มาบริหารหนี้ แต่สู้ JMT, SAM ไม่ได้ ก็เลยคิดว่าธุรกิจที่กำลังทำอยู่ เป็นการอุดช่องว่างของการปล่อยสินเชื่อ เพราะ Bank Collateral ดูเป็นประเด็นรอง เน้นการปล่อยกู้ long term ซึ่งลูกค้า อาจไปกู้นอกระบบ แต่ก็จะได้เงินไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย และดอกเบี้ยสูงมาก

9. บริษัทไม่มี NPL มีแต่ NPA (Non Performing Asset) เพราะมี Collateral Asset

10. ACAP เป็น Non-Bank ไม่ต้องตั้งสำรอง จนกว่าจะมีเรื่องของการฟ้องร้อง หรือผิดนัดชำระหนี้ แต่เนื่องจากมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน Provision ก็ยังไม่ถูกตั้ง

11. ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำไม่ได้ตามเป้าหมาย ก็คือ เรื่องเงินปล่อยกู้ หรือ ลูกค้าไม่มาขอสินเชื่อเรา ซึ่ง ณ ช่วงเวลานี้ไม่มีความกังวล

12. หากเก็บหนี้ไม่ได้ การยึดสินทรัพย์ทาง ACAP สามารถทำได้ทันที เนื่องจากการปล่อยกู้เป็นการ "ขายฝาก" ซึ่งต่างกับ "การจดจำนอง" ที่จะต้องไปฟ้องเอาต้องใช้เวลานานมาก และเวลาขาย ก็ดูสถานะบริษัทช่วงนั้นๆ ว่าขายถูกๆ เพื่อเอาเงินไปปล่อยกู้ต่อดีหรือไม่ ส่วนเวลาประเมินหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยจะประเมินราคาต่ำ และหารครึ่ง หรือหาร 4 โดยหากยึดหลักทรัพย์เป็นสินทรัพย์ได้ แต่หากขาดสภาพคล่อง ก็สามารถขายทิ้งได้

13. ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ Capital OK เกิดจากความสามารถทางการแข่งขันสู้ไม่ได้ ทั้งฝั่งปล่อยกู้ส่วนบุคคล และบัตรเครดิต ซึ่ง ผบห.พิจารณาว่า ไปเน้นเก็บหนี้พอร์ทที่ค้างอยู่เดิมดีกว่า ไม่ต้องไปแข่งกับเจ้าอื่นๆ แล้วก็ขายพอร์ทที่เหลือ ให้ JMT ไป

14. Strategic Partner สนใจ ACAP มาก อยากเข้ามาไทย เพื่อจะบุก CLMV มีความพร้อม, มี License, มี Data เดิม, มีบุคลากร Local กำลัง Work เรื่องมาลงทุนกับ Capital OK

รายชื่อผู้ถือหุ้น

ประกาศ แตกพาร์, เพิ่มทุน, แจกวอร์

---------------------------------------------------
วันที่/เวลา
16 ก.พ. 2559 19:21:49





   ##ขอสรุปเพียงเท่านี้ สรุปตกหล่นประการใด ขออภัยด้วย##

No comments:

Post a Comment

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...