Saturday, April 2, 2011

"Approximately right >> precisely wrong"


ขอเริ่มต้น Blog แรก ด้วยแนวคิดดีๆ ที่ได้จากการอ่าน โดยตอนนี้กำลังเน้นการอ่านหนังสือเกี่ยวกับแนวคิดทางธุรกิจและการลงทุนในตลาดหุ้น
ตลอด 50 ปีมานี้ หากถามว่าใครคือนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ทุกคนคงคิดถึงชื่อ Warren Buffett ออกเป็นชื่อต้นๆ อย่างแน่นอน ผมก็เป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับแนวคิดในการลงทุนและการทำธุรกิจของ Buffett  เลยได้ลองศึกษาประวัติของ Buffett จากหนังสือและ Website ต่างๆ  พอดูข้อมูลหลายๆแหล่ง ก็พบว่า  Buffett จะทำเขียนแนวคิดดีๆในการลงทุนเอาไว้ในรายงานผลประกอบการประจำปีของบริษัท Berkshire Hathaway ผมก็เลยได้ลองดาวน์โหลดมาอ่านดู แล้วก็พบว่ามีแนวคิดที่โดนใจอยู่หลายเรื่องทีเดียว แต่ประเด็นที่จะขอนำมา Share ในวันนี้ อยู่ใน Annual Report ปี 2010 ประมาณหน้าที่ 21 คือประโยคที่ว่า :
“We would rather be approximately right than precisely wrong.”
ผมลองนำแนวคิดนี้มาคิดให้ละเอียดก็พบว่า  สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการลงทุนและการทำงานได้อย่างดีทีเดียว
อันดับแรก หากมองในแง่ของการลงทุนในตลาดหุ้น หากเทียบกับการที่คิดว่าเราจะเลือกลงทุนในบริษัทใดดี หรือลงทุนในหุ้นตัวไหน ก็คงต้องทำการบ้านมาก่อน โดยศึกษาพื้นฐานและปัจจัยที่จะทำให้บริษัทสามารถสร้างผลกำไรได้ ไม่ใช่ใช้วิธีคาดเดาไปเองว่าซื้อแล้วหุ้นน่าจะขึ้น เพราะมีผู้รู้แนะนำมาให้ซื้อหุ้นตัวนั้นตัวนี้ ซึ่งหากศึกษาการลงทุนแนว Value Investment หรือ VI นั้น มีสิ่งสำคัญที่จะต้องทำก็คือการประเมิน Intrinsic Value ของตัวหุ้น ซึ่งก็คือ บริษัทออกมาให้ได้ก่อน ซึ่งหากอ่านตาม Blog ต่างๆ ก็จะพบแหล่งความรู้มากมาย (ผมก็กำลังศึกษาอยู่ ยังไม่เชี่ยวชาญครับ)
สำหรับการประยุกต์ใช้ในชีวิตการทำงานนั้น บางทีเราอาจพบว่าการแก้ปัญหาบางอย่าง (จริงๆ คือ ปัญหาส่วนใหญ่) จะไม่สามารถเทียบกับทฤษฎี หรือวิชาการ ได้ 100% สิ่งสำคัญที่จะต้องทำในขั้นตอนการแก้ปัญหาก็คือ การรวบรวมข้อมูลเพื่อที่จะใช้วิเคราะห์ปัญหา และยิ่งกว่านั้นคือ การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้มาให้แน่ใจก่อน ไม่อย่างนั้น ต่อให้มีกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาที่ดีเพียงใด แต่หากข้อมูลที่ได้มาผิดทั้งหมด ก็จะทำให้สรุปผิดได้ง่ายๆ เลยทีเดียว เหมือนวลีภาษาอังกฤษที่ยังติดหูอยู่ทุกวันนี้ก็คือ “Garbage in, Garbage out” นั่นเอง
และพอดีช่วงเดือนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปอบรม วิชาทางสถิติเรื่อง Design of Experiment หรือ DOE เพื่อใช้หา Model สำหรับวางแผนการทดลองต่างๆ ซึ่ง อาจารย์ที่สอนก็ได้ให้แนวคิดอันหนึ่งซึ่งเป็นคำพูดของนักสถิติด้าน QC ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าค่อนข้างตรงกับ Buffett ทีเดียวครับ
"Essentially, all models are wrong, but some are useful" -George Box
ซึ่งแนวคิดก็คือ Model คณิตศาสตร์ ที่ได้จากการทำการทดลองแล้ววิเคราะห์ จะ ผิด ทั้งหมด คือ ไม่ได้ตรงเป๊ะ แต่ Model เหล่านั้นบางส่วน (จริงๆ แล้วคือ ส่วนใหญ่) จะให้ข้อมูลบางอย่างที่เป็นประโยชน์ได้
วันนี้ขอจบแค่นี้ก่อน และหากเพื่อนๆ คนไหน สนใจสามารถไปดาวน์โหลด Annual Report ของ Berkshire Hathaway มาอ่านกันได้ตาม Website ด้านล่างนี้ครับ

No comments:

Post a Comment

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...