Sunday, January 31, 2016

The Monk Moment



Roger James Hamilton with Elon Musk.
The Monk Moment - Many great entrepreneurs have had a moment when they have lost everything. Monks create this situation intentionally through "Vairagya" when they give up all money and possessions. Many entrepreneurs end up in the same situation unintentionally. smile emoticon
Elon Musk lost $180M and was in debt in 2008. Seven years later, he's worth $13 billion, but he'd be ready to risk it all again. Steve Jobs lost his entire Apple fortune by 1994, betting it on NeXT and Pixar. In 1995 everything turned around, he sold NeXT to Apple, Pixar to Disney and he passed away an icon. Walt Disney mortgaged away his entire fortune in the 1950s to build Disneyland, against everyone's advice. He too went from giving up everything to becoming a legend. Each bet everything material they had on something invisible - their purpose and vision.
Monks call the state that comes after giving up everything "Moksha" which means liberation from the illusion. We're not alive until we know what we'd die for.
I'm not saying great entrepreneurs are monks, but they do have 'monk moments' when they lose everything.
Many of the greatest entrepreneurs unintentionally find themselves in this state by betting everything on their dream. Maybe you're in this place right now. It is a place of pure power. When you have nothing to lose, you have infinite potential.
That is provided you don't focus on what you've lost, but on everything you have to gain. That's when everything turns around. As Walt Disney said "I don't make movies to make money. I make money to make movies".
That's the paradox of entrepreneurs having a 'near-death' experience where they lose it all. Steve Jobs wrote:
“Remembering that I'll be dead soon is the most important tool I've ever encountered to help me make the big choices in life.
Almost everything--all external expectations, all pride, all fear of embarrassment or failure--these things just fall away in the face of death, leaving only what is truly important. Remembering that you are going to die is the best way I know to avoid the trap of thinking you have something to lose. You are already naked. There is no reason not to follow your heart.
No one wants to die. Even people who want to go to heaven don't want to die to get there. And yet, death is the destination we all share. No one has ever escaped it, and that is how it should be, because death is very likely the single best invention of life. It's life's change agent. It clears out the old to make way for the new.”
What mission is so important to you, that you'd be ready to clear out the old and make way for your new?

SIAM จะ Turnaround โดยการลงทุนใน Solar Farm ที่ประเทศญี่ปุ่น?

ช่วงต้นปีที่แล้ว (2015) ถือว่าเป็น "ปีทอง" สำหรับหุ้นพลังงานทดแทน
โดยหุ้นของหลายๆ บริษัท ต่างแข่งกันวิ่ง ทำ All Time High อย่างบ้าคลั่ง
บางบริษัท ก็มีของดีจริง  ส่วนหลายๆ บริษัท ก็ยังไม่ได้มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน

ซึ่งสำหรับ Trend ของการทำพลังงานทดแทน ก็นับได้ว่าเป็นหนึ่งใน Mega Trend ที่สำคัญ
และรัฐบาลของเราเอง ก็สนับสนุนการลดทุนทำโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน 
ทำให้หลายๆ บริษัทกระโจนเข้าไปใส่ เพื่อแย่งกันเกาะ Trend นี้
แต่ก็เป็นธรรมดาของธุรกิจ ที่พอมีการแข่งขันมากขึ้น 
โอกาสที่จะได้ลงทุนพลังงานทดแทน ก็จะลดน้อยลงไป
และผลตอบแทนที่ได้ ก็อาจไม่ได้สวยหรู อย่างที่นักลงทุนคาดหวัง
แถมหลายๆ โครงการ เช่น Solar Farm ก็ยังไม่ได้ประมูลซักที
ช่วงกลางมาจนถึงปลายปี เลยทำให้หุ้นกลุ่มนี้ ราคาลงมาจาก Peak อย่างน่าใจหาย
แถมช่วงนี้ราคาน้ำมันลงตามมาอีกด้วย 
ทำให้เริ่มไม่แน่ใจ นโยบายสนับสนุนของรัฐบาล ว่าจะยืนตามแผนเดิมไหม?

แต่ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เห็นประกาศข่าวของตลาดหลักทรัพย์
เรื่องการลงทุนทำ Solar Farm ของบริษัทหนึ่ง ตาม link ข้างล่าง 
SIAM แจ้งการซื้อหุ้นของบริษัท บางพระกรีนเอนเนอร์จี จำกัด (แก้ไข)

อ่านแล้วรู้สึกสนใจ
และนึกขึ้นมาได้ว่าเมื่อกลางปีที่แล้ว ก็ติดตาม SIAM อยู่
แต่ตอนนั้นยังรู้สึกว่า ผบห. โม้รึเปล่า ที่จะไปประมูลทำ Solar Farm ของทหารเรือ แข่งกับ IFEC
ซึ่งดูแล้ว SIAM เองก็ไม่ได้มีจุดแข็งด้าน Solar Farm ซํกเท่าไหร่
อาจเกี่ยวข้องกันบ้างที่มีการทำโครงสร้างเหล็กให้ Solar Farm
และที่สำคัญ ธุรกิจเดิมที่ทำอยู่ก็เหมือนจะแย่ลงไปเรื่อยๆ ยังหาจุดกลับตัวไม่เจอ

เมื่อสนใจแล้ว ก็ต้องลงรายละเอียดกันหน่อย

เริ่มจากที่จะไปลงทุนทำ Solar Farm กันก่อน
- SIAM จะลงทุนในบริษัท บางพระกรีนเอนเนอร์จี ("BGE") ซื้อหุ้นมา 100% ราคา 2.5 MB
- BGE จะลงทุนใน Rich Solar Energy Godo Kaisha ("RSE") ประเทศญีปุ่น ในสัดส่วน 97%
- RSE จะลงทุนในโครงการ Miyagi Solar Project (โครงการ "Miyagi") กำลังผลิตไฟฟ้า ติดตั้ง 15.12 MW
- มูลค่าโครงการ 1358.18 MB คิดเป็นต่อ MW ก็ตกประมาณ 96 MB/MW
- โครงการ Miyagi จะใช้เงินกู้ 80% และเงินของ RSE 20%
- คาดว่าจะ COD ได้ภายใน ช่วงไตรมาส 3 ปี 2560 โดยมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าแบบ FIT (Feed-in Tariff) หน่วยละ 36 เยน
- Equity IRR = 10-12%
- ที่น่าไปศึกษาต่อ คือ Financial Projection ซึ่งลองดูเทียบเคียงของ EPCO น่าจะพอได้ รูปแบบการลงทุนคล้ายๆ กันเลย => EPCO Solar IFA


ตัวอย่างโครงการ GENBI กำลังผลิตไฟฟ้าติดตั้ง 12 MW


ธุรกิจเดิมของ SIAM
- บริษัทฯ   เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์เหล็กและเฟอร์นิเจอร์ไม้ ภายใต้เครื่องหมายการค้า “LUCKY”   “KINGDOM”   “OKAMURA”  “CHITOSE”  และ  “PILOT”  รวมทั้งผลิตและจำหน่ายอาคารสำเร็จรูปอเนกประสงค์  “LUCKY”  Hi-Tech Building System ห้องน้ำสำเร็จรูป ผนังกั้นน้ำ(WSP) และให้บริการรับตกแต่งภายในสถานที่ต่าง ๆ ทั้งอาคารสำนักงาน โรงแรม สถานศึกษา สถาบันการเงิน โรงพยาบาล สนามบิน และท่าอากาศยาน เป็นต้น
- สำหรับบริษัทย่อย คือ บริษัท สยามโอคามูระอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด  และ บริษัท ศรีเจริญอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ “LUCKY” “KINGDOM”   “OKAMURA”   “CHITOSE” และ “PILOT”  บริษัท สยามสตีล โอซี จำกัด ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการจำหน่ายอาคารสำเร็จรูป ผนังกั้นห้อง ชิ้นส่วนอุตสาหกรรม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ          
- บริษัทร่วม คือ  บริษัท สยามโอคามูระสตีล จำกัด  และ บริษัท ศูนย์บริการเหล็กสยาม  จำกัด (มหาชน)   ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเหล็ก หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  และสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทฯ


โครงสร้างผู้ถือหุ้น
- Free float 34.51%
- กลุ่มคุณานันทกุล ถือหุ้นรวมกันประมาณ 35.41%


งบการเงิน
- งบกำไรขาดทุน งวด Q1/15 (เดือน Jun-Sep15) ดูกระเตื้องขึ้นมา
(ที่มาของตารางจากไฟล์ พี่ Kanchit Paisan เช่นเคย ไปอุดหนุนกันได้)


- งบแสดงฐานะทางการเงิน ดูดี มีหนี้น้อย


- แต่มีข้อเสียจุดหนึ่งคือ ลูกหนี้การค้า ค่อนข้างสูง (ที่ค้างนานๆ น่าจะเป็นงานเก่าที่ Australia)

- ที่ดินในงบการเงิน บางแปลง ราคาประเมิน สูงกว่าราคาตามบัญชีพอสมควร

- SIAM มีการถือหุ้นในบริษัท SSSC 22.76% ซึ่ง Listed ใน SET ด้วย


ราคาหุ้น


Wrap-up
- ถือว่า เป็นหุ้น Turnaround ที่น่าติดตามบริษัทหนึ่ง โดยการลงทุน Solar อาจไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่หวือหวา ซักเท่าไหร่ แถมต้องไปลุ้นเอาปีหลังๆ ว่ายังผลิตกระแสไฟฟ้า ได้ สม่ำเสมอ เหมือนเดิมหรือไม่ แต่ SIAM ที่ราคาเท่านี้ ก็ถือว่า ไม่มีอะไรจะเสีย (มั้ง) เพราะธุรกิจเดิม ก็ดูทรงๆ จะดีขึ้นก็คงไม่มาก สู้เอาเงินไปลงทุน ได้ผลตอบแทน 10-12% ก็ถือว่าดีกว่าเดิมมากครับ
- ต้องดูว่าจบแค่ 15.12 MW หรือว่ามีต่อภาค 2 ซึ่งดูด้วยฐานะทางการเงินน่าจะต่อได้หลายภาคอยู่
- อีกซักพักจะมีรายงาน IFA มาให้ศึกษากันต่อไป

ปล. การลงทุนมีความเสี่ยง เงินของท่าน รับผิดชอบกันเองนะครับ

Saturday, January 30, 2016

US company with Aggressive Growth จากหนังสือ 100 Best Stocks to Buy in 2016

จากที่เกริ่นไปคราวที่แล้ว ว่าจะเริ่ม Project ใหม่ คือ ศึกษาบริษัทใน US กันบ้าง
หลังจากที่ศึกษาบริษัทไทยๆ มาหลายปี

วันหยุดนี้ก็เลยได้โอกาสลอง Scan บริษัทในหนังสือ The 100 Best Stocks to Buy in 2016  ดู 
จาก 100 บริษัท ก็ได้บริษัท ที่มีการเจริญเติบโตของ EPS ย้อนหลังสูงๆ 
คือโตแบบ Aggressive Growth มาทั้งสิ้น 33 บริษัท
บางบริษัท ก็เป็นกิจการที่พอจะรู้จัก เช่น Starbucks, Nike, VISA, Schlumberger, Oracle เป็นต้น
แต่บริษัทก็อ่านชื่อแล้วคิดไม่ออกจริงๆ ว่าบริษัททำอะไร
ไว้รอบหน้าจะลองดูไปทีละบริษัทนะครับ

ข้อมูลที่ Screen ออกมา ก็ตามรูปข้างล่างนี้ ส่วนข้อมูลราคาปี 2016 เอามาจาก Google Finance



สำหรับใครอยากได้ไฟล์ดิบ ก็ไปดูใน Google Doc เลยครับ

Thursday, January 14, 2016

เปรียบเทียบ หุ้นโรงกลั่น (เพื่อความบันเทิง)

ช่วงนี้เห็นราคาน้ำมันลงเอาๆ จนน่าใจหาย ลากเอาหุ้นกลุ่มพลังงาน และ Index ลงตามไปด้วย
แต่ก็มีหุ้นกลุ่มหนึ่งที่ (ดูเหมือน) จะได้ประโยชน์ จากราคาน้ำมันที่ลดลงโดยตรง
นั่นก็คือ หุ้นกลุ่มโรงกลั่น ซึ่งหุ้นกลุ่มนี้ ก็ไม่ได้เป็นที่ต้องการของตลาดมาเป็นเวลานมนาน
เพราะว่ามันดูน่าเบื่อ และไม่น่าทำกำไรได้เยอะ เพราะเป็นแค่ "โรงกลั่น"
ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ ว่าโรงกลั่นแต่ละที่ Margin บางเฉียบ แทบจะหากำไรกันไม่ได้เลยทีเดียว
แต่พอราคาน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักลดลง ก็ดูเหมือนจะทำให้ Spread Margin ดีขึ้น
และทำให้ 9 เดือน ที่ผ่านมา หุ้นกล่มนี้กลับมาทำกำไรได้บ้าง
และช่วงที่ตลาดกำลัง Correction คนเทขายหุ้นกันหนักๆ แบบนี้
ราคาหุ้นกลุ่มนี้กลับแข็งสู้ตลาด และมีบางตัววิ่งขึ้นมาเย้ยหยัน คนที่เทขายกันเลยทีเดียว

ผมก็เป็นหนึ่งในคนที่สงสัยว่าโรงกลั่นมันจะมีดีอะไรหนักหนา ในสถานการณ์แบบนี้
ก็เลยต้องลองแกะงบ โรงกลั่นดูซะหน่อย
แกะแล้วก็เอามาแชร์เพื่อนๆ ซะเลย

***Important Note***
1) ต้องบอกก่อนว่า รายได้และกำไร เป็นของ 9 เดือน
ซึ่งผมอยากเห็นข้อมูลแบบรายปี ก็เลยใช้วิธี no-brainer
เอาเลข 9 เดือนไปคูณ 12 หาร 9 ปรับให้เป็นรายปี ซะเลย
จึงต้องบอกว่า
ข้อมูลนี้ใช้ในการตัดสินใจ Trade ไม่ได้นะครับ
ต้องไปแกะรายบริษัทกันเอาเอง
และที่ใช้คำว่า Trade เพราะกลุ่มโรงกลั่นนี้คงถือยาวไม่ได้ (มั้ง)

2) SPRC เพิ่งเข้าตลาด ผม load ไฟล์จาก Web SET แล้วก็เอามาคำนวณคร่าวๆเลย
ใช้อ้างอิงไม่ได้อย่างแรง

3) อย่าลืมคิดถึง Stock loss ในการประเมินกำไรกันด้วย อย่างที่บอกว่าผมนี่ no-brainer เอา 12/9 คูณกำไร 9 เดือน

แปะเป็นรูปให้ดูกันก่อน


Pie Chart คือ Share Revenue 9M15
PTTGC ไม่เข้าพวก เป็นโรง Chemical

ไฟล์เอาไปปรับเล่นกันเอง
https://docs.google.com/spreadsheets/d/1iIXJuskq41SCscRCGHvuw2fr3DOKjmokqH6ZzfnfoZs/edit?usp=sharing


ปล. โปรดใช้ จักรยาน เอ๊ย วิจารณญานในการรับชม

**เพิ่ม Crude Oil Price


Wednesday, January 13, 2016

JMART เปิดโมเดลธุรกิจ โต 10 เท่า ใน 5 ปี

ลองไปฟังกันดูครับ


JMART ยังถือหุ้นบริษัทอื่นๆ ในตลาดหลักทรัพย์ ตามตารางข้างล่าง ครับ

กำไรเฉพาะกิจการของ JMART
- 9M15 กำไร 77 ล้านบาท / 9M14 กำไร 172 ล้านบาท
- 3Q15 กำไร 50 ล้านบาท / 3Q14 กำไร 46 ล้านบาท

ปิดท้ายด้วย CV จากพี่ VI Hybrid

JMART CV
จดสรุปย้อนหลัง เมื่อตอนไป CV
เมื่อวันที่ ธันวาคม 2558
- Q4 ที่ผ่านมา แนวโน้มยอดขายมือถือ ถ้าไปในทรงนี้ จะออกมาดีที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท ดีกว่าปี 2013 ที่เคย Peak สุด
- SSSG(Same Store Sale Growth) พุ่งจากติดลบสู่ +23% !! หลังมี Jmoney > อย่าใช้ความรู้สึกมาตัดสิน เพราะมักจะขัดกับข้อเท็จจริงบ่อยๆ
- ยอดขายจำนวนเครื่อง โดยประมาณ Sumsung 50-60% เฉพาะ S6 ขายไปได้ 15,000 เครื่อง!! (3xx ล้านปลายๆ)
- มี Shop ที่เปิดขาย iPhone 90 แห่ง เป็นเบอร์2 ในตลาด จำนวนเครื่องขาย iPhoneได้ 15-20%
-ยอดขายต่อเดือน มากกว่า 10,000 เครื่อง/เดือน กระตุ้นยอดขายโดย เมื่อมีรุ่นใหม่มา ก็จะเอารุ่นเก่ามาทำ Promotion
- ยอดขายอันดับ 3-5 Hawei Oppo Vivo แต่ได้ Margin เยอะสุด
- Singer ขายมือถือ เฉพาะ S6 ได้ 2,500 ตัว(6x ล้าน) ให้ Sale ของ JMT มาเก็บ ลดค่าธรรมเนียมได้ 3% > เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง และจะเน้นมากขึ้น
- มีพูดคุยกับ Bank ญี่ปุ่นในส่วน JMT Plus วางแผนร่วมกันในส่วนของ Mobile Loan,Car Loan, Car for Cash
- กำลังเจรจาดีลในประเทศจีน เน้นเรื่อง Online เพราะจะเป็นอนาคตของธุรกิจ ยอดขาย online จีนกระโดด 12>50% ในเวลา5-7ปี เลยจะให้น้ำหนักในส่วนนี้มากขึ้น
- คุยกับ AIS โดย Jmart งจะไปช่วยดูแล Shop ตามสาขาให้ (อันนี้เริ่มทยอยออกตามมาแล้ว) โดย AIS ออกค่าตกแต่ง และเราได้ค่า fee payment คาดว่ารายได้ตรงนี้จะได้เพิ่มอีกราว 3xx ล้าน
- จะมีกล้องถ่ายรูป วางขายใน Jmart 50 สาขา !! NPM ราว 5 % (เริ่มมีใน โบรชั่วแล้ว) ยังไม่แน่ใจว่าจะผ่อนกับ Jmoney ได้เลยรึยัง

Friday, January 8, 2016

ปีใหม่ กับ Project ใหม่

เปิดปีใหม่ ขอเริ่ม Project ใหม่ๆ ครับ
ปีนี้ตั้งใจจะมองหาบริษัทที่เป็น Super Stocks จริงๆ จังๆละครับ
ที่ผ่านมาหุ้นดีๆ ราคาแพงมากเกินเอื้อมถึง 
เลยทำให้ ต้องไปขุดหุ้นที่อาจคุณภาพไม่ได้เยี่ยมยอดมาก มาลงทุน
ซึ่งถึงแม้ผลการลงทุนที่ผ่านมาถึงแม้ว่าจะพอไหว แต่ก็รู้สึกจะเหนื่อยไปหน่อยนึง
พอราคาขึ้นมาก็ต้องหาบริษัทใหม่มาแทน เพราะว่าคุณภาพของบริษัทที่ถือไม่ได้ดีมากขนาดนั้น

และตั้งใจอีกอย่างคือ จะเปิดตัวเองสู่โลกกว้าง จะลงทุนในหุ้นต่างประเทศละครับ
ซึ่ง Step ที่ตั้งใจ ก็ขอศึกษาตลาดหุ้น USA ก่อนเลย เพราะเป็นตลาดที่ใหญ่มาก
มีบริษัทให้เลือกหลากหลาย เหมือนมีแหล่งปลาชุกชุมอยู่ ให้ไปเลือกตกได้
หรือจะโดนปลาใหญ่งับเอาก็ไม่รู้นะครับ...ก็ค่อยๆศึกษากันไปละกัน

ส่วนหุ้นไทย ก็ยังไม่สิ้นศรัทธานะครับ ผมยังเชื่อว่ายังมีบริษัทดีๆ ที่มี Potential Growth อยู่
แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจบ้านเรา ที่ดูจะแผ่วไปมาก ก็ทำให้เสน่ห์ของบริษัทต่างๆ ดูลดลงไปด้วย
เลยขอปันใจ ไปศึกษาหุ้นนอกซักหน่อยครับ

สำหรับหุ้น USA นั้น ผมก็ได้ไปจัดหนังสือเล่มนี้มาเรียบร้อย

จัดมาจากร้าน Kinokuniya สาขา Siam Paragon ครับ
เนื้อหาผมว่าเหมาะกับ Amateur ตลาดหุ้นอเมริกาแบบผม มากๆ เพราะไม่รู้จักหุ้นตัวไหนเลย
อ่านเล่มนี้ถือว่าได้รู้เพิ่ม 100 บริษัท 
หนังสือราคา 603 บาท ราคาหารเฉลี่ย ก็ตกบริษัทละ 6 บาท ก็ถือว่า OK นะครับ

ไว้วันหลังมา Review ให้อ่านกันนะครับ

Saturday, January 2, 2016

XO Exotic Food

พอดีมีเวลาว่าง นั่งฟัง Oppday ของ บริษัท XO ย้อนหลัง
Opportunity Day XO 11Sep15


ฟังไป ก็เลย Note ไปด้วย เอามา Share ลง Blog หน่อยละกันครับ
(จดบางหัวข้อ นะครับ)

Slide Oppday
http://www.dcs-digital.com/setweb/downloads/2558q2/20150911_xo.pdf

ลักษณะธุรกิจ
จาก Website ของ SET

บริษัทฯ ประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิตและจำหน่าย 
1. ผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรสอาหาร เช่น ซอสพริก น้ำจิ้มไก่ และซอสต่างๆ 
2.ผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบอาหาร เช่น กะทิและเครื่องแกงต่างๆ 
3. ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจากผักและผลไม้ เช่น น้ำมะพร้าวและน้ำว่านหางจระเข้ 
4. ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน เช่น ข้าวแกงเขียวหวานและก๋วยเตี๋ยวผัดไทย 
และ 5. ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปและกึ่งสำเร็จรูปต่าง ๆ เช่น สินค้าในน้ำมันและน้ำเกลือ, ผักและผลไม้กระป๋อง, ผลิตภัณฑ์จากข้าว, ของแห้งและของดองต่างๆ 
โดยผลิตภัณฑ์ของบริษัทถูกจัดจำหน่ายภายใต้ตราสินค้าของบริษัท เช่น EXOTIC FOOD, THAI PRIDE, FLYING GOOSE, และ COCO LOTO เป็นต้น


Business Outlook
- ใช้เงินกู้ 45%, เงินจาก IPO และกำไรสะสม 55%
- เครื่องจักร หักค่าเสื่อมราคา 20 ปี (นานจัง) เนื่องจากใช้เครื่องจักรยุโรปทั้งหมด (ผบห. แจ้งว่ามี Certificate เครื่องจักรใช้ได้ถึง 25 ปีอย่างน้อย)
- แผนใหม่ ติดตั้ง&Test Run Q1/2016
(คงต้องลองกลับไปอ่านรายละเอียดในเอกสาร Filling IPO อีกที)

Q&A
1. การเจาะตลาดญี่ปุ่น?
- ขายมาเกือบ 10 ปีสัดส่วนประมาณ 2%

2. Currency ของราคาขายในระยะยาว?
- Q3 จะปรับตัวเลขอีกนิดหน่อย จะเน้นเป็นเงินบาท หรือ USD
- เดิมที XO ขายเป็นเงิน USD แต่มีบางช่วง USD drop เร็ว เลยขอลูกค้าปรับเป็น EURO แต่ก็เจอ EURO อ่อน ก็เลยขอปรับเป็นเงินบาท หรือ USD
- เวลาปรับราคาลูกค้าต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือน เนื่องจากต้องมีการเซ็นต์ contract กับ Supermarket
- แต่ตอนนี้ EURO แข็ง ก็เลยรู้สึกแย่ๆ นิดๆ แต่คงปรับไม่ได้แล้ว

3. ผลตอบรับ Sauce ศรีราชา ที่ไม่มีผงชูรส?
- ของเวียดนาม เคยมี Case โดน Sue เรื่องมีไอพริกออกมาจากโรงงานที่ USA
- USA ชอบ Clean Product เลยเอาผงชูรสออก ทำให้ 6 sku ที่ขายอยู่ มีผลตอบรับดี, ส่วน Europe ยังชอบผงชูรส

4. วิธีการหาลูกค้าใหม่ ใน ตปท.?
- ลูกค้าใหม่ๆ มาจาก 2 Channel
1) งานแสดงสินค้า ซึ่ง XO เด่นเรื่อง Packaging, Cooking Instruction, และ Certificate
2) บางประเทศ เช่น Bulgaria อยากขายสินค้าไทย เพราะมี Reference product ที่ Germany

5. โรงงานใหม่?
- กำลังการผลิต 1 กะ (8 ชม.) เพิ่มขึ้น 100%, มี 2 line ใหม่
- Cap จะเต็มคงใช้เวลา 5-10 ปี
- Opportunity loss มีเยอะ Order ล่วงหน้าต้องใช้เวลา 5-6 อาทิตย์ ทำให้มี Order ที่เสียโอกาสไปเยอะเพราะลูกค้ารู้ว่า XO ผลิตให้ไม่ทัน บางทีลูกค้าอยากได้สินค้าภายใน 2 อาทิตย์ XO ก็ทำให้ไม่ได้
- มีแผนจะชวนลูกค้ามาดูโรงงานใหม่ เพื่อสร้างความมั่นใจ
- พื้นที่ทั้งหมด 10,000 ตร.ม. มีพื้นที่เหลือ เพิ่ม line การผลิตได้อีก 4-6 line

6. Speed ในการส่งมอบงานหลังมีโรงงานใหม่?
- Speed ในการส่งมอบงานน่าจะลดเหลือ 2 อาทิตย์ (เดิมติดพวก packaging และเครื่องจักร)

7. เงินลงทุน 2 line แรก และโรงงานใหม่ นิ่งรึยัง?
- สั่งของไปหมดแล้ว ยังตาม Budget 310 MB ตาม AGM
- Building 30%, M&E และ Machine 70% แต่อาจมีเพิ่มลด

8. การแข่งขันกับคู่แข่ง ตปท. ใช้จุดเด่นอะไร?
- ไม่แข่งราคา ตั้งราคา กลาง ถึง Premium
- คิดว่าขายได้จากหลายๆ อย่างรวมกัน
1) มี Quality Certificate, บางอันได้ Cer คนแรกในไทย
2) Packaging โดดเด่น (มีคนพยายามทำตาม)
3) Cooking Instruction มี VDO ใน Youtube
4) Promotion เที่ยวเมืองไทย

9. ขายสินค้าส่วนใหญ่ไปยุโรป มีลูกค้า 2 รายกิน Market Share ของ XO 50% บริษัทมีวิธีป้องกันความเสี่ยงอย่างไร?
- ข้อดี คือ เพิ่มยอดขายง่าย
- ข้อเสีย Rely กับ Supplier มากไป ใช้วิธีขยายตลาดเพิ่ม เช่น HK ปีนี้ขายได้ 200,000 USD ตลาดมีอยู่ทุกประเทศ แต่ต้องไปเจอคนที่มีกำลังการส่งของ, การซื้อ, มี Knowhow, สนิทกับ Buyer
- จริงๆ ลูกค้าราหลักที่ ยุโรป 1 ใน 2 ราย มีการซื้อน้อยลงด้วย! แต่ XO ปล่อยไป พยายามหาตลาดใหม่มาเสริม

10. ตลาด AFRICA?
- Bozwana เห็นมีสินค้า XO ขายที่ South Africa
- Kenya ก็มีขาย

11. ได้ถามไหม ว่าทำไมลูกค้ารายใหญ่ที่ยุโรป ซื้อลดลง?
- เกิดจากการปรับ Price List แล้ว Supermarket ไม่อยากซื้อที่ราคาใหม่

12. ต้นทุนการผลิต มีการลดลงอย่างไรบ้าง? เช่น วัตถุดิบใหม่ๆ มาผสม
- สินค้าหลักๆ ที่ขายปริมาณเยอะๆ พยายามให้ R&D พยายามลดต้นทุน โดยที่หน้าตากับรสชาติยังเหมือนเดิม
- Packaging มีการปรับปรุง เช่น เอาจุกบนฝาศรีราชาออก ชิ้นละบาทกว่า ปีหนึ่งๆ ขายเป็นล้านชิ้น (ด้านในมี Seal อยู่แล้ว), ช่วงเริ่มต้น จะมี Tag คล้องที่ขวด ให้คนสนใจ พอติดตลาดแล้วก็เอาออก

13. โรงงานไหมลดต้นทุนการผลิตไหม
- จะลด Cost เรื่องค่าแรง ลดไปอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง และในอนาคตจะ Run กะ 2-3 ก็สามารถทำได้ ไม่ต้องหาคนเติมเข้าไป

14. บริษัทสนใจเปิดตลาดไทย?
- ขายน้อยมาก ใน Siam Paragon, Emporium, Central Chidlom
- รอให้โรงงานใหม่เสร็จก่อน อาจทำตลาดในประเทศสำหรับสินค้าแต่ละตัว

15. ภัยแล้ง กระทบ Contract farmer?
- พริก XO ใช้น้อยมาก เทียบทั้งประเทศ
- อื่นๆ เช่น น้ำตาล ทำ Contract ปีต่อปี ยังไม่มีผลกระทบ

Wrap-up
- โอกาส
1. การเพิ่มยอดขาย จากการขยายโรงงาน ที่นักลงทุน รอกันมานาน
2. ตลาดในประเทศ หากขายเพิ่มได้บ้าง น่าจะดี ไม่ต้องเสียค่าขนส่ง อาจขายชาวต่างชาติเป็นหลัก
(แต่ต้องแข่งกับเจ้าตลาดปัจจุบันซึ่งแข็งแกร่งมาก)
- ข้อกังวล
1. จะทำอย่างไรให้ Brand เข้าถึงใจผู้บริโภคโดยตรงให้ได้ ตอนนี้เน้นใช้ความพลังของ Distributor เป็นหลัก และสินค้า ก็ Price Sensitive พอสมควร
2. โรงงานใหม่ ฟังน้ำเสียงแล้ว รู้สึกไม่ค่อยมั่นใจว่าจะเสร็จ Q1/2016 ตามแผนใหม่
3. การตัดค่าเสื่อม 20 ปี ฟังดูไม่ค่อย Conservative เท่าไหร่ แต่งบกำไรขาดทุน จะดูดี เพราะตัดค่าเสื่อมน้อยลง (ปกติพวกเครื่องจักร น่าจะตัดค่าเสื่อม 5-10 ปี)
4. ค่าเงิน ยังน่าเป็นห่วงอยู่ดี โดยเฉพาะการ Fix Rate ขายเป็นเงินบาท หากบาทแข็ง ก็หนาว แน่นอน
(แต่คงไม่แข็งง่ายๆ สำหรับเงินบาท)

แถมงบรายไตรมาส จากไฟล์ ESP16Year12 ByQ

หรือจะไปดูข้อมูลกิจการและกราฟผลประกอบการสวยๆ ที่ Facebook ของพี่ Saran Prohsoontron

##

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...