อยาก เริ่มต้นศึกษาหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาล จะทำอย่างไรดี
ขอใช้วิธีที่เคยศึกษากลุ่มอื่นๆ ละกันครับ
เริ่มจาก ดูบริษัทในกลุ่มนี้กันก่อนเลย ว่ามีบริษัทไหนที่ดูดีมีสกุลบ้าง
เข้าเวบ www.settrade.com หาข้อมูลอันดับในอุตสาหกรรมออกมาได้ตามนี้
ข้อมูลวันที่ 29/7/15
มีทั้งหมด 15 บริษัทด้วยกันที่อยู่ในกลุ่มนี้
- ยังไม่นับบริษัทที่อยากจะเข้ามาใน sector นี้เพิ่ม ตอนนี้ที่พอทราบก็มี EVER, SUC/PRAKIT
- และยังไม่รวมบริษัทที่ไม่ใช่โรงพยาบาลเช่นพวก LDC (ร้านหมอฝัน), MEGA/APCO (ขายอาหารเสริม)
จากตารางข้างบนก็ถือว่าราคาหุ้นกลุ่มนี้แพงไม่เบาทีเดียว
คงเป็นเพราะคุณลักษณะในการเป็นหุ้น defensive stock และอยู่ใน mega trend aging society
ก็เลยเป็นที่ต้องการของตลาดในช่วงนี้พอสมควร
แต่ดูตารางข้างบนก็ยังไม่ค่อยสะใจ (ข้อมูลน้อยไป) ลองไปดูข้อมูลสัดส่วนทางการเงินต่างๆ
จาก website http://siamchart.com/stock/HELTH
และลอง sort ตาม Magic Number ซะเลย (ROE สูง, PE ต่ำ) ได้ออกมาตามด้านล่าง
เอาหล่ะ ใน List ที่น่าสนใจ ก็มี
- NTV สัดส่วนทางการเงินดูดีทีเดียว ROE 21%, ROA 19.5%, ปันผลจ่ายก็ดีกว่าฝากแบงค์ 3%, Market Cap. ประมาณ 5,320 ล้านบาท กำลังดีเลยแฮะ
- BDMS แน่นอน เป็น เบอร์ 1 ในตลาดด้าน Market Cap. เอาไว้เปรียบเทียบ (แต่ราคาก็แพงใช้ได้)
- อื่นๆ ไว้ดูเพิ่มอีกที ลองเปรียบเทียบ 2 บริษัทข้างบนดูก่อน
เอ แล้วจะต้องเปรียบเทียบในแง่มุมไหนบ้าง
ลอง search google ดู เจอเอกสารนี้น่าสนใจ
http://goo.gl/7gS0Dg
สรุปเป็น checklist ที่จะศึกษา[บริษัทใน Sector Healthcare เอาไว้ก่อนละกันครับ
1. บริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโตไหม ?
- Health sector โตแน่นอน Mega Trend Aging Society
2. กลุ่มลูกค้า (ผู้ป่วย) ของโรงพยาบาล คือ กลุ่มไหน? (จะบอกว่า ใครเป็นคนจ่ายตังค์ให้โรงพยาบาล)
- High-end (เน้น Brand) / Specialty Chain (โรคเฉพาะทาง) / กลุ่มประกันสังคม / etc.
3. การเข้าสู่ตลาดของบริษัทนั้นๆทำอย่างไร
- Greenfield (สร้างโรงพยาบาลใหม่) / M&A (ควบรวมกิจการ) / ขยายโรงพยาบาลเดิม
4. Operation efficiency ของแต่ละบริษัท
- ความสามารถในการควบคุมต้นทุน, etc.
(ไว้ต่อตอนหน้านะครับ)
อ่านย้อนหลัง
มองหุ้นกลุ่ม Healthcare (1)
Thursday, July 30, 2015
Tuesday, July 28, 2015
มองหุ้นกลุ่ม Healthcare (1)
ช่วงนี้ต้องยุ่งเกี่ยวกับโรงพยาบาลอยู่บ่อยๆ
ถือโอกาสศึกษาธุรกิจโรงพยาบาล และ Healthcare มันซะเลย
เริ่มต้น แปะข้อมูล Comment ที่น่าสนใจสำหรับหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลจาก พี่ leky thaivi ครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=14&t=50610&start=1740
ถือโอกาสศึกษาธุรกิจโรงพยาบาล และ Healthcare มันซะเลย
เริ่มต้น แปะข้อมูล Comment ที่น่าสนใจสำหรับหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลจาก พี่ leky thaivi ครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=14&t=50610&start=1740
leky wrote:
เห็นคุณลูกหินพูดถึงเรื่องหุ้นรพ. ผมเลยอยากจะแชร์หน่อยครับ
อันนี้เป็นมุมมองของผมนะครับ อาจจะเอาความรู้สึกส่วนตัวเข้ามาด้วย
ผม ว่าประเด็นที่หุ้นรพ.กลายเป็นหุ้นแทบจะเรียกได้ว่าเป็น Super stock นั้น ในความเห็นส่วนตัวของผม ผมคิดว่าส่วนหนึ่งเกิดจากเมกาเทรนด์จริงแต่ส่วนหนึ่งผมคิดว่ามันก็มีกระแส เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยครับ อาจจะเรียกได้ว่า 1+1 มันไม่ใช่เท่ากับ 2 แต่มันกลายเป็น 3 หรือ 4
ผมเองทันเห็นหุ้นรพ.ที่สมัยหนึ่ง ตลาด "ไม่เอา" บางตัวเจอหนี้จากยุคปี 40 ทันเห็น CPALL สมัยที่ยังเป็น CP7-11 ตัวหลังนี้ตอนนั้นผมยังคิดอยู่เลยว่าทำไมคนถึงไม่เล่นกัน ตัวเองก็เคยซื้อที่ 46 บาท น่าจะ low มากในตอนนั้น แต่ตอนนั้นเป็นมุมของคนที่ "เล่นหุ้น" นะครับ
จริงอยู่ครับ แนวโน้มของคนไทยเข้าสู่ภาวะผู้สูงอายุ ตรงนี้เป็นเมกาเทรนด์แน่ ๆ แบบในญี่ปุ่นหรือบางประเทศ
แต่ สิ่งที่ต้องระวังไว้อย่างหนึ่งที่ผมไม่ค่อยเห็นคนพูดถึงกันซักเท่าไหร่ก็คือ "โครงสร้างของลักษณะการจ่ายเงินของผู้ป่วยในรพ.เอกชน" ครับ
ต้อง เข้าใจนิดหนึ่งครับ ว่าถ้าจะดูที่การเติบโตจากการสร้างรพ.แห่งหนึ่งแล้วค่อย ๆ ทำให้มีคนไข้เข้ามารักษาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั้น กรณีแบบนี้ทำได้ "ไม่ง่าย" นักครับ ผมว่าเติบโตปีละ 10% ก็ถือว่าเก่งแล้วครับ ถ้าเอาแบรนด์เป็นจุดเสริมหาคนไข้ต่างชาติเข้ามา ผมว่าตัวเลขก็คงดีกว่านี้ไม่มากนัก ยังไม่นับว่าจริง ๆ รพ.นี่แหละครับ ยอดผู้ใช้บริการขึ้นกับสภาวะเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ผมเคยคุยกับแพทย์ท่านหนึ่งที่อยู่รพ.เอกชนในยุคปี 40 เค้าบอกว่า รพ.คนไข้น้อยมาก ดูสิ้นหวังมากครับ
ถ้าเราย้อนไปดู ผมว่ารพ.เอกชนเจ้าใหญ่ ๆ ทุกวันนี้ที่รายได้ดูโตมาก ส่วนหนึ่งเลยเพราะเค้าใช้วิธีซื้อกิจการครับ รวมถึงการควบรวม การซื้อกิจการที่แบรนด์ด้อยกว่า เปลี่ยนเป็นแบรนด์ที่มันดูดีกว่า แต่ทีมหมอยังเป็นชุดเดิม ส่วนค่ารักษานี่ผมไม่แน่ใจว่าจะอัพตามมากน้อยแค่ไหน ตรงนี้ครับ เป็นกลยุทธที่ทำให้กำไรดูเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างแท้จริง
ถ้าย้อนมา ดูเรื่องลักษณะโครงสร้างทางรายได้ที่ผมบอกไป สิ่งที่จะทำให้รพ.ได้ประโยชน์อย่างแท้จริงจากการที่มีผู้สูงอายุมากขึ้นก็ คือ คนไข้กลุ่มที่เรียกกว่ากลุ่มเงินสดครับ หมายถึงควักเงินจ่ายเอง ไม่ได้ใช้ประกันชีวิตหรือสิทธิ์การรักษาอย่างอื่น ๆ
ที่ผมต้องบอกอ ย่างน้้นก็เพราะว่าทุกวันนี้โครงสร้างทางรายได้ของรพ.แต่ละโรงมันมีความแตก ต่างกันครับ บางรพ.เน้นกลุ่มคนไข้ประกันสังคม บัตรทอง ซึ่งตรงนี้มาร์จิ้นต่ำ เน้นการบริหารต้นทุน เพราะได้เงินจากรัฐมาก้อนใหญ่ แต่ต้องทำอย่างไรก็ได้ให้เงินเหลือ
บางรพ.สัดส่วนคนไข้กลุ่มที่เบิก ค่ารักษาจากประกันชีวิตกับเงินสด สัดส่วนใกล้เคียงกัน ซึ่งในส่วนของกลุ่มประกันชีวิตนั้น ส่วนหนึ่งเป็นประกันที่ทำส่วนตัว แต่อีกส่วนหนึ่งซึ่งก็ใหญ่ไม่แพ้กันก็คือประกันกลุ่มที่มาจากบ.ต่าง ๆ ที่คุ้มครองพนักงาน ซึ่งทำให้คนไข้จำนวนไม่น้อย ใช้สิทธิ์ประกันตรงนี้แทนที่จะเป็นพวกบัตรทอง ประกันสังคม
นั่นก็แปล ว่าสิทธิตรงนี้มันมีความไม่แน่นอนอยู่ครับ เช่นถ้าย้ายที่ทำงานเค้าอาจจะไม่มีสิทธิ์ตรงนี้แล้ว กลายเป็นประกันสังคม แนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปรพ.อื่นก็มีครับ หรือแม้แต่ประกันส่วนตัว ถ้าวันหนึ่งจ่ายไม่ไหว หรือประกันครอบคลุมโรคค่าใช้จ่ายสูงไม่ได้ สุดท้ายก็ไปรพ.รัฐหรือกลับไปใช้สิทธิ์ขั้นพื้นฐานคือ บัตรทองและประกันสังคมครับ
ผมเข้าใจว่าการที่เศรษฐกิจดีขึ้น ธุรกิจต่าง ๆ ก็ยอมควักเงินทำประกันให้พนักงานด้วยเช่นกันครับ หรือบางบ.ก็มีงบตรงนี้ให้พนักงานไปเลยซึ่งก็มักจะเป็นบ.ใหญ่ ๆ บางบ.ก็ใช้สองอย่างเพื่อลดความเสี่ยง
ถ้าย้อนกลับมาดู คนที่จะเดินเข้ารพ.เอกชนแล้วจ่ายเงินได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งสิทธิ์การรักษาต้องเป็นคนที่ "มีเงินเก็บ" พอสมควร เพราะจากประสบการณ์ส่วนตัว ผมว่ากว่าครึ่งถ้าเจอความเจ็บป่วยที่รุนแรงและใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากจริง ๆ มัก "สู้ไม่ไหว" ครับ ยกตัวอย่างเช่นต้องนอน ICU ซึ่งค่าใช้จ่ายตกวันละไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท ถ้าต้องยาวนานต่อเนื่องและสิทธิ์ที่ครอบคลุมอยู่ไม่พอ สุดท้ายก็หนีไม่พ้นที่จะต้องขอไปรักษาตามสิทธิขั้นพื้นฐานครับ
ซึ่ง ถ้าย้อนกลับมาดูอีกครั้ง จะเห็นว่ากลุ่มคนสูงอายุโดยเฉพาะที่อายุเกิน 70 ปี นี่แหละครับ คือกลุ่มที่มีความเสี่ยง เสี่ยงที่จะมีค่าใช้จ้ายที่สูง และที่สำคัญเสี่ยงที่จะไม่มีสิทธิ์อะไรอย่างอื่นนอกจากสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน ในกรณีที่เงินเก็บมีไม่มาก เพราะในกรณีประกันชีวิต ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยครอบคลุมอายุที่เกิน 70 ยกเว้นจ่ายเบี้ยมากจริง หรือประกันสังคมซึ่งผมว่าก็ยังไม่น่าจะครอบคลุมนานขนาดนั้น
สิ่งที่ เกิดขึ้นแน่ ๆ ก็คือ ในอนาคต รพ.รัฐมีคนไข้เยอะขึ้นแน่ ๆ ครับ ด้วยเหตุผลว่า คนสูงอายุไม่ว่าจะมีหรือไม่มีเงินก็ต้องไปรพ.รัฐ เพราะถ้ามีเงินค่าใช้จ่ายก็ต่ำกว่า เพียงแต่ต้องทนกับคนไข้ที่เยอะกว่า ถ้าไม่มีเงินก็ใช้สิทธิข้าราชการ บัตรทอง
ส่วนรพ.เอกชน การเติบโตก็คงยังมีครับ เพราะถ้าโรคเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่รุนแรง คนก็ยังอยากไป แต่จะโตมาก ๆ เลยนั้นผมยอมรับว่าไม่แน่ใจ ยกเว้นว่าคนไทย "โดยรวม" รวยขึ้นมาก เงินเก็บเยอะมาก แต่การที่คนไทยมีแนวโน้มมีลูกลดลง บางครั้งมันก็อาจจะมีผลถ้าตัวหารค่าใช้จ่ายด้านการเจ็บป่วยของพ่อแม่ก็ลดลง ตาม
แต่อย่างน้อยถ้าการลงทุนของรพ.เอกชนลดลง ค่าเสื่อมถูกตัดออกน้อยลง EPS ก็คงดีขึ้นในอนาคต แต่ PE จะยืนที่จุดสูง ๆ แบบเดิมหรือเปล่าก็อีกเรื่องหนึ่ง
สิ่งที่อาจจะเป็นตัวเร่งให้รพ.เอกชนโตได้ ผมมองว่าต้องเป็นนโยบายระดับใหญ่ ๆ เลยครับ เช่น
1) ยกเลิกบัตรทอง ให้คนไทยทำประกันชีวิต ซึ่งก็แน่นอนว่าจะไปรพ.รัฐหรือเอกชนก็ได้ ซึ่งผมว่าคงเกิดขึ้นได้ยาก
2) คนที่มีสิทธิ์การรักษาอื่น เช่น ข้าราชการ สามารถไปรักษาที่รพ.เอกชนได้ และเบิกได้ในราคาที่สมเหตุสมผล ซึ่งปัจจุบันสามารถทำได้ แต่รพ.เอกชนหลายแห่งมองว่าไม่ค่อยคุ้ม เนื่องจากการเบิกเป็นราคากลาง รพ.ห้าดาวค่ารักษาแพงกว่าราคากลางมาก
สิ่งที่อาจจะเป็นตัวถ่วง
1) บุคลากรขาดแคลน ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งตรงนี้มันก็เริ่มเกิดขึ้นแล้วนะครับ
2) แนวโน้มการฟ้องร้องสูงขึ้น ทำให้มีการตรวจมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการมารพ.ของคนไข้สูงขึ้น
มองอีกมุมหนึ่ง ยิ่งรพ.เอกชนโตมาก รพ.รัฐอาจจะแย่ลงเพราะบุคลากรสมองไหล
มอง อีกมุมหนึ่ง รพ.เอกชนโตขึ้น แต่ผู้ใช้บริการอาจจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น ไม่ใช่เป็นลักษณะของ economy of scale แบบธุรกิจอื่น ๆ
ที่ต้องระวังคือ กับดักเรื่องความรู้สึกของรายได้ที่โตขึ้นมากของหุ้นในกลุ่มนี้ จากการซื้อและควบรวมกิจการ ซึ่งถ้าเมื่อไหร่หยุดซื้อ รายได้จะไม่โตก้าวกระโดดแบบเดิม
ที่ต้องระวังอีกเรื่องหนึ่งก็คือ "ค่าพรีเมี่ยม" ที่ตลาดให้กับหุ้นกลุ่มนี้ ถ้าวันหนึ่งค่าพรีเมี่ยมนั้นลดลง เช่นมุมมองว่าอุตสาหกรรมนี้ไม่โตแบบก้าวกระโดดแบบเมื่อก่อน
บางครั้งอาจจะทำให้เราได้หุ้นดี แต่ไม่ใช่การลงทุนที่ดีครับ โดยเฉพาะการซื้อหุ้นที่ราคาสูงครับ
อันนี้เป็นมุมมองของผมนะครับ อาจจะเอาความรู้สึกส่วนตัวเข้ามาด้วย
ผม ว่าประเด็นที่หุ้นรพ.กลายเป็นหุ้นแทบจะเรียกได้ว่าเป็น Super stock นั้น ในความเห็นส่วนตัวของผม ผมคิดว่าส่วนหนึ่งเกิดจากเมกาเทรนด์จริงแต่ส่วนหนึ่งผมคิดว่ามันก็มีกระแส เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยครับ อาจจะเรียกได้ว่า 1+1 มันไม่ใช่เท่ากับ 2 แต่มันกลายเป็น 3 หรือ 4
ผมเองทันเห็นหุ้นรพ.ที่สมัยหนึ่ง ตลาด "ไม่เอา" บางตัวเจอหนี้จากยุคปี 40 ทันเห็น CPALL สมัยที่ยังเป็น CP7-11 ตัวหลังนี้ตอนนั้นผมยังคิดอยู่เลยว่าทำไมคนถึงไม่เล่นกัน ตัวเองก็เคยซื้อที่ 46 บาท น่าจะ low มากในตอนนั้น แต่ตอนนั้นเป็นมุมของคนที่ "เล่นหุ้น" นะครับ
จริงอยู่ครับ แนวโน้มของคนไทยเข้าสู่ภาวะผู้สูงอายุ ตรงนี้เป็นเมกาเทรนด์แน่ ๆ แบบในญี่ปุ่นหรือบางประเทศ
แต่ สิ่งที่ต้องระวังไว้อย่างหนึ่งที่ผมไม่ค่อยเห็นคนพูดถึงกันซักเท่าไหร่ก็คือ "โครงสร้างของลักษณะการจ่ายเงินของผู้ป่วยในรพ.เอกชน" ครับ
ต้อง เข้าใจนิดหนึ่งครับ ว่าถ้าจะดูที่การเติบโตจากการสร้างรพ.แห่งหนึ่งแล้วค่อย ๆ ทำให้มีคนไข้เข้ามารักษาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั้น กรณีแบบนี้ทำได้ "ไม่ง่าย" นักครับ ผมว่าเติบโตปีละ 10% ก็ถือว่าเก่งแล้วครับ ถ้าเอาแบรนด์เป็นจุดเสริมหาคนไข้ต่างชาติเข้ามา ผมว่าตัวเลขก็คงดีกว่านี้ไม่มากนัก ยังไม่นับว่าจริง ๆ รพ.นี่แหละครับ ยอดผู้ใช้บริการขึ้นกับสภาวะเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ผมเคยคุยกับแพทย์ท่านหนึ่งที่อยู่รพ.เอกชนในยุคปี 40 เค้าบอกว่า รพ.คนไข้น้อยมาก ดูสิ้นหวังมากครับ
ถ้าเราย้อนไปดู ผมว่ารพ.เอกชนเจ้าใหญ่ ๆ ทุกวันนี้ที่รายได้ดูโตมาก ส่วนหนึ่งเลยเพราะเค้าใช้วิธีซื้อกิจการครับ รวมถึงการควบรวม การซื้อกิจการที่แบรนด์ด้อยกว่า เปลี่ยนเป็นแบรนด์ที่มันดูดีกว่า แต่ทีมหมอยังเป็นชุดเดิม ส่วนค่ารักษานี่ผมไม่แน่ใจว่าจะอัพตามมากน้อยแค่ไหน ตรงนี้ครับ เป็นกลยุทธที่ทำให้กำไรดูเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างแท้จริง
ถ้าย้อนมา ดูเรื่องลักษณะโครงสร้างทางรายได้ที่ผมบอกไป สิ่งที่จะทำให้รพ.ได้ประโยชน์อย่างแท้จริงจากการที่มีผู้สูงอายุมากขึ้นก็ คือ คนไข้กลุ่มที่เรียกกว่ากลุ่มเงินสดครับ หมายถึงควักเงินจ่ายเอง ไม่ได้ใช้ประกันชีวิตหรือสิทธิ์การรักษาอย่างอื่น ๆ
ที่ผมต้องบอกอ ย่างน้้นก็เพราะว่าทุกวันนี้โครงสร้างทางรายได้ของรพ.แต่ละโรงมันมีความแตก ต่างกันครับ บางรพ.เน้นกลุ่มคนไข้ประกันสังคม บัตรทอง ซึ่งตรงนี้มาร์จิ้นต่ำ เน้นการบริหารต้นทุน เพราะได้เงินจากรัฐมาก้อนใหญ่ แต่ต้องทำอย่างไรก็ได้ให้เงินเหลือ
บางรพ.สัดส่วนคนไข้กลุ่มที่เบิก ค่ารักษาจากประกันชีวิตกับเงินสด สัดส่วนใกล้เคียงกัน ซึ่งในส่วนของกลุ่มประกันชีวิตนั้น ส่วนหนึ่งเป็นประกันที่ทำส่วนตัว แต่อีกส่วนหนึ่งซึ่งก็ใหญ่ไม่แพ้กันก็คือประกันกลุ่มที่มาจากบ.ต่าง ๆ ที่คุ้มครองพนักงาน ซึ่งทำให้คนไข้จำนวนไม่น้อย ใช้สิทธิ์ประกันตรงนี้แทนที่จะเป็นพวกบัตรทอง ประกันสังคม
นั่นก็แปล ว่าสิทธิตรงนี้มันมีความไม่แน่นอนอยู่ครับ เช่นถ้าย้ายที่ทำงานเค้าอาจจะไม่มีสิทธิ์ตรงนี้แล้ว กลายเป็นประกันสังคม แนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปรพ.อื่นก็มีครับ หรือแม้แต่ประกันส่วนตัว ถ้าวันหนึ่งจ่ายไม่ไหว หรือประกันครอบคลุมโรคค่าใช้จ่ายสูงไม่ได้ สุดท้ายก็ไปรพ.รัฐหรือกลับไปใช้สิทธิ์ขั้นพื้นฐานคือ บัตรทองและประกันสังคมครับ
ผมเข้าใจว่าการที่เศรษฐกิจดีขึ้น ธุรกิจต่าง ๆ ก็ยอมควักเงินทำประกันให้พนักงานด้วยเช่นกันครับ หรือบางบ.ก็มีงบตรงนี้ให้พนักงานไปเลยซึ่งก็มักจะเป็นบ.ใหญ่ ๆ บางบ.ก็ใช้สองอย่างเพื่อลดความเสี่ยง
ถ้าย้อนกลับมาดู คนที่จะเดินเข้ารพ.เอกชนแล้วจ่ายเงินได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งสิทธิ์การรักษาต้องเป็นคนที่ "มีเงินเก็บ" พอสมควร เพราะจากประสบการณ์ส่วนตัว ผมว่ากว่าครึ่งถ้าเจอความเจ็บป่วยที่รุนแรงและใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากจริง ๆ มัก "สู้ไม่ไหว" ครับ ยกตัวอย่างเช่นต้องนอน ICU ซึ่งค่าใช้จ่ายตกวันละไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท ถ้าต้องยาวนานต่อเนื่องและสิทธิ์ที่ครอบคลุมอยู่ไม่พอ สุดท้ายก็หนีไม่พ้นที่จะต้องขอไปรักษาตามสิทธิขั้นพื้นฐานครับ
ซึ่ง ถ้าย้อนกลับมาดูอีกครั้ง จะเห็นว่ากลุ่มคนสูงอายุโดยเฉพาะที่อายุเกิน 70 ปี นี่แหละครับ คือกลุ่มที่มีความเสี่ยง เสี่ยงที่จะมีค่าใช้จ้ายที่สูง และที่สำคัญเสี่ยงที่จะไม่มีสิทธิ์อะไรอย่างอื่นนอกจากสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน ในกรณีที่เงินเก็บมีไม่มาก เพราะในกรณีประกันชีวิต ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยครอบคลุมอายุที่เกิน 70 ยกเว้นจ่ายเบี้ยมากจริง หรือประกันสังคมซึ่งผมว่าก็ยังไม่น่าจะครอบคลุมนานขนาดนั้น
สิ่งที่ เกิดขึ้นแน่ ๆ ก็คือ ในอนาคต รพ.รัฐมีคนไข้เยอะขึ้นแน่ ๆ ครับ ด้วยเหตุผลว่า คนสูงอายุไม่ว่าจะมีหรือไม่มีเงินก็ต้องไปรพ.รัฐ เพราะถ้ามีเงินค่าใช้จ่ายก็ต่ำกว่า เพียงแต่ต้องทนกับคนไข้ที่เยอะกว่า ถ้าไม่มีเงินก็ใช้สิทธิข้าราชการ บัตรทอง
ส่วนรพ.เอกชน การเติบโตก็คงยังมีครับ เพราะถ้าโรคเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่รุนแรง คนก็ยังอยากไป แต่จะโตมาก ๆ เลยนั้นผมยอมรับว่าไม่แน่ใจ ยกเว้นว่าคนไทย "โดยรวม" รวยขึ้นมาก เงินเก็บเยอะมาก แต่การที่คนไทยมีแนวโน้มมีลูกลดลง บางครั้งมันก็อาจจะมีผลถ้าตัวหารค่าใช้จ่ายด้านการเจ็บป่วยของพ่อแม่ก็ลดลง ตาม
แต่อย่างน้อยถ้าการลงทุนของรพ.เอกชนลดลง ค่าเสื่อมถูกตัดออกน้อยลง EPS ก็คงดีขึ้นในอนาคต แต่ PE จะยืนที่จุดสูง ๆ แบบเดิมหรือเปล่าก็อีกเรื่องหนึ่ง
สิ่งที่อาจจะเป็นตัวเร่งให้รพ.เอกชนโตได้ ผมมองว่าต้องเป็นนโยบายระดับใหญ่ ๆ เลยครับ เช่น
1) ยกเลิกบัตรทอง ให้คนไทยทำประกันชีวิต ซึ่งก็แน่นอนว่าจะไปรพ.รัฐหรือเอกชนก็ได้ ซึ่งผมว่าคงเกิดขึ้นได้ยาก
2) คนที่มีสิทธิ์การรักษาอื่น เช่น ข้าราชการ สามารถไปรักษาที่รพ.เอกชนได้ และเบิกได้ในราคาที่สมเหตุสมผล ซึ่งปัจจุบันสามารถทำได้ แต่รพ.เอกชนหลายแห่งมองว่าไม่ค่อยคุ้ม เนื่องจากการเบิกเป็นราคากลาง รพ.ห้าดาวค่ารักษาแพงกว่าราคากลางมาก
สิ่งที่อาจจะเป็นตัวถ่วง
1) บุคลากรขาดแคลน ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งตรงนี้มันก็เริ่มเกิดขึ้นแล้วนะครับ
2) แนวโน้มการฟ้องร้องสูงขึ้น ทำให้มีการตรวจมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการมารพ.ของคนไข้สูงขึ้น
มองอีกมุมหนึ่ง ยิ่งรพ.เอกชนโตมาก รพ.รัฐอาจจะแย่ลงเพราะบุคลากรสมองไหล
มอง อีกมุมหนึ่ง รพ.เอกชนโตขึ้น แต่ผู้ใช้บริการอาจจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น ไม่ใช่เป็นลักษณะของ economy of scale แบบธุรกิจอื่น ๆ
ที่ต้องระวังคือ กับดักเรื่องความรู้สึกของรายได้ที่โตขึ้นมากของหุ้นในกลุ่มนี้ จากการซื้อและควบรวมกิจการ ซึ่งถ้าเมื่อไหร่หยุดซื้อ รายได้จะไม่โตก้าวกระโดดแบบเดิม
ที่ต้องระวังอีกเรื่องหนึ่งก็คือ "ค่าพรีเมี่ยม" ที่ตลาดให้กับหุ้นกลุ่มนี้ ถ้าวันหนึ่งค่าพรีเมี่ยมนั้นลดลง เช่นมุมมองว่าอุตสาหกรรมนี้ไม่โตแบบก้าวกระโดดแบบเมื่อก่อน
บางครั้งอาจจะทำให้เราได้หุ้นดี แต่ไม่ใช่การลงทุนที่ดีครับ โดยเฉพาะการซื้อหุ้นที่ราคาสูงครับ
Sunday, July 26, 2015
Smoke-filled Theaters....by Monish Pabrai
Question: We were fortunate to have heard you speak in Professor
Greenwald’s Value Investing Seminar, where you used an analogy about
smoke-filled theaters and spectacular waterfalls. Can you discuss this concept?
Monish Pabrai : I was recently discussing this concept with a bunch of value investors
and they all said they never heard Buffett use this analogy,
but I could swear that I heard it from Buffett.
So for now, I will continue to say that I got it from Warren Buffett.
Here is the basic concept.
Let’s say you go to see a movie and you pay $10 to buy a ticket.
Every seat in the theater is occupied – the house is full.
Suddenly, the smoke alarm goes off in the middle of the movie
and as smoke begins to fill the theater, people run for the exit.
Now, this movie theater has special rules, and the rule is that
you can only leave the theater as long as you find someone from
outside the theater who will take your ticket and seat.
You must enter into some type of transaction
where that person pays you for your ticket.
So the question that comes up is at what price
will that $10 ticket sell for now that there is this alarm
and smoke in the theater, and the answer is that it
probably doesn’t sell for very much, or you might have to
give it away for free, or you may even have to pay the guy
to take it off of your hands.
That theater is the New York Stock Exchange,
because on the stock exchange every share of any business
is owned by someone at all times.
If there is an event which is a distressing event for a company
which leads people to say I no longer want to own the stock,
that is like the smoke in the theater and people wanting to exit the theater.
The person who you want to sell the stock to,
which is the person who wants to enter the theater,
has access to the exact same information that you do.
He also knows there is smoke in the theater.
Therefore, for him to still be willing to buy it,
the price at which the transaction takes place, is likely to be
a significant discount at what the stock was trading at before the smoke.
If you enter selected smoke-filled theaters, and you later find that
the smoke is really nothing to worry about, or it has been put out,
then there is a chance you have gotten a great investment
and you can do quite well with it.
The second part of this is when you have smoke in theaters,
you are going to have these huge collapses in stock prices.
If you look at the stock’s chart, these will look like a waterfall.
So what this means is that smoke-filled theaters are likely
to lead to spectacular waterfalls.
As a value investor, you don’t want to enter every smoke-filled theater.
What you want to do is carefully analyze these smoke-filled theaters
to try to find one where the smoke is not real,
or the fire alarm is not real, it went off for no reason,
and then buy those tickets at hugely discounted prices,
then sit back and watch the rest of the movie.
Greenwald’s Value Investing Seminar, where you used an analogy about
smoke-filled theaters and spectacular waterfalls. Can you discuss this concept?
Monish Pabrai : I was recently discussing this concept with a bunch of value investors
and they all said they never heard Buffett use this analogy,
but I could swear that I heard it from Buffett.
So for now, I will continue to say that I got it from Warren Buffett.
Here is the basic concept.
Let’s say you go to see a movie and you pay $10 to buy a ticket.
Every seat in the theater is occupied – the house is full.
Suddenly, the smoke alarm goes off in the middle of the movie
and as smoke begins to fill the theater, people run for the exit.
Now, this movie theater has special rules, and the rule is that
you can only leave the theater as long as you find someone from
outside the theater who will take your ticket and seat.
You must enter into some type of transaction
where that person pays you for your ticket.
So the question that comes up is at what price
will that $10 ticket sell for now that there is this alarm
and smoke in the theater, and the answer is that it
probably doesn’t sell for very much, or you might have to
give it away for free, or you may even have to pay the guy
to take it off of your hands.
That theater is the New York Stock Exchange,
because on the stock exchange every share of any business
is owned by someone at all times.
If there is an event which is a distressing event for a company
which leads people to say I no longer want to own the stock,
that is like the smoke in the theater and people wanting to exit the theater.
The person who you want to sell the stock to,
which is the person who wants to enter the theater,
has access to the exact same information that you do.
He also knows there is smoke in the theater.
Therefore, for him to still be willing to buy it,
the price at which the transaction takes place, is likely to be
a significant discount at what the stock was trading at before the smoke.
If you enter selected smoke-filled theaters, and you later find that
the smoke is really nothing to worry about, or it has been put out,
then there is a chance you have gotten a great investment
and you can do quite well with it.
The second part of this is when you have smoke in theaters,
you are going to have these huge collapses in stock prices.
If you look at the stock’s chart, these will look like a waterfall.
So what this means is that smoke-filled theaters are likely
to lead to spectacular waterfalls.
As a value investor, you don’t want to enter every smoke-filled theater.
What you want to do is carefully analyze these smoke-filled theaters
to try to find one where the smoke is not real,
or the fire alarm is not real, it went off for no reason,
and then buy those tickets at hugely discounted prices,
then sit back and watch the rest of the movie.
.
.
.
Read more at : http://www8.gsb.columbia.edu/sites/valueinvesting/files/files/Graham%20And%20Doddsville%20-%20Issue%204%20Summer%202008.pdf
Saturday, July 25, 2015
Tuesday, July 21, 2015
นิทานสอนใจการใช้เหตุผล เรื่อง ไปเป็นนายอำเภอ
บทละคร (มีตัวละคร 3 คน)
คนที่หนึ่ง เป็น ผู้เล่าเรื่องบนเวที
คนที่สอง เป็น ฮุ่ยจื้อ ทำท่าร้อนรนเดินทาง พูดว่า
“เดี๋ยวไม่ทัน ไม่ทัน จะต้องไปรับตำแหน่งให้ทันก่อนพระอาทิตย์ตก”
ฮุ่ยจื้อ เดินมาพบคนแจวเรือ จึงพูดว่า “พาข้าข้ามไปฝั่งโน้นหน่อย รีบๆ นะ”
คนที่สาม เป็น คนแจวเรือ พูดว่า “เชิญเลยท่าน ค่อยๆ ก้าวลงเรือมา”
ฮุ่ยจื้อ ทำท่าก้าวลงเรือ แต่ด้วยความรีบร้อน ทำให้ตกน้ำ
คนเล่าเรื่อง ซึ่งทำตัวเป็นต้นไม้ พูด
“เอาล่ะสิ ฮุ่ยจื้อไปอ้างเหตุผลผิดๆ แบบนั้น แล้วจะตอบคนแจวเรืออย่างไรล่ะนี่”
ฮุ่ยจื้อ “ข้าพเจ้านี้ ขาดความรอบคอบนัก ขอขอบคุณท่านคนแจวเรือ ที่เตือนสติข้าพเจ้า”
คนแจวเรือ “ข้าพเจ้าหรือ? ข้าพเจ้ามิกล้าเช่นนั้น!”
ฮุ่ยจื้อ “ท่านได้เตือนสติข้าพเจ้า โดยที่ท่านมิได้ตั้งใจ บัดนี้ข้าพเจ้ารู้แล้วว่า
คนเล่าเรื่อง หยุดทำตัวเป็นต้นไม้ แล้วพูดว่า
“นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ไม่ว่าใครก็สามารถอ้างเหตุผลผิดได้ ดังนั้น เราทุกคนควรระวังเรื่องการใช้เหตุผลให้มากขึ้น”
ผศ.พกุล แองเกอร์ สรุปและเรียบเรียงจาก เรื่องสั้นของจีน
source: http://math1.snru.ac.th/UserFiles/File/math1@snru/thinking%20and%20decise%20subject/mathing%20decise%20abt/unit%20%202.doc
คนที่หนึ่ง เป็น ผู้เล่าเรื่องบนเวที
ให้ยืนที่มุมเวทีด้านใดด้านหนึ่งตลอดเวลา พูดว่า
“ฮุ่ยจื้อ เป็นบัณฑิตสอบจอหงวนได้ และกำลังเดินทางไปรับตำแหน่งนายอำเภอที่เมืองเหลียง
“ฮุ่ยจื้อ เป็นบัณฑิตสอบจอหงวนได้ และกำลังเดินทางไปรับตำแหน่งนายอำเภอที่เมืองเหลียง
เขาเดินทางมาถึงแม่น้ำแห่งหนึ่ง จึงว่าจ้างคนแจวเรือ ให้ช่วยพาข้ามแม่น้ำ”
คนที่สอง เป็น ฮุ่ยจื้อ ทำท่าร้อนรนเดินทาง พูดว่า
“เดี๋ยวไม่ทัน ไม่ทัน จะต้องไปรับตำแหน่งให้ทันก่อนพระอาทิตย์ตก”
ฮุ่ยจื้อ เดินมาพบคนแจวเรือ จึงพูดว่า “พาข้าข้ามไปฝั่งโน้นหน่อย รีบๆ นะ”
คนที่สาม เป็น คนแจวเรือ พูดว่า “เชิญเลยท่าน ค่อยๆ ก้าวลงเรือมา”
ฮุ่ยจื้อ ทำท่าก้าวลงเรือ แต่ด้วยความรีบร้อน ทำให้ตกน้ำ
น้ำลึกพอสมควร ฮุ่ยจื้อช่วยตัวเองไม่ได้ คนแจวเรือต้องช่วยฉุดขึ้นจากน้ำ
แล้วพูดว่า “ทำไมท่านจึงรีบร้อนนัก”
ฮุ่ยจื้อ “ข้าจำเป็นต้องเดินทางไปรับตำแหน่งนายอำเภอเมืองเหลียง”
คนแจวเรือ “ท่านนะหรือ จะไปเป็นนายอำเภอ แค่ตกลงไปในน้ำเมื่อครู่
คนแจวเรือ “ท่านนะหรือ จะไปเป็นนายอำเภอ แค่ตกลงไปในน้ำเมื่อครู่
ยังช่วยตัวเองไม่ได้ หากข้าไม่ช่วยขึ้นเรือ ก็คงยังอยู่ในน้ำ
แล้วเช่นน้ำจะให้ไปเป็นนายอำเภอได้อย่างไร”
ผู้เล่าเรื่องบนเวที พูด
“เอ๊ะ คนแจวเรือ เขาอ้างเหตุผลผิดนะ สงสัยเหลือเกินว่าท่านฮุ่ยจื้อจะตอบอย่างไร”
ฮุ่ยจื้อ “แม้ว่าข้าพเจ้าจะว่ายน้ำไม่คล่อง
“เอ๊ะ คนแจวเรือ เขาอ้างเหตุผลผิดนะ สงสัยเหลือเกินว่าท่านฮุ่ยจื้อจะตอบอย่างไร”
ฮุ่ยจื้อ “แม้ว่าข้าพเจ้าจะว่ายน้ำไม่คล่อง
แต่ก็ไม่ใช่สาเหตุสำคัญที่จะทำให้ข้าพเจ้าเป็นนายอำเภอไม่ได้นะ ท่านคนแจวเรือ
ที่ข้าพเจ้าเป็นที่ยอมรับของทางบ้านเมืองให้รับผิดชอบหน้าที่นี้
เพราะข้าพเจ้ามีความรู้เรื่องการปกครอง การทำนุบำรุงบ้านเมืองนะท่าน”
คนแจวเรือ “ต้องขอโทษด้วยนายท่าน ข้าพเจ้าทราบแล้ว”
คนแจวเรือ ทำท่าแจวเรือจนถึงฝั่ง ฮุ่ยจื้อจ่ายค่าตอบแทน
คนแจวเรือ “ต้องขอโทษด้วยนายท่าน ข้าพเจ้าทราบแล้ว”
คนแจวเรือ ทำท่าแจวเรือจนถึงฝั่ง ฮุ่ยจื้อจ่ายค่าตอบแทน
ขณะนั้นเอง ฮุ่ยจื้อเห็นต้นไม้ (คนเล่าเรื่อง ทำตัวเป็นต้นไม้)
ฮุ่ยจื้อ “ท่านๆ คนแจวเรือ ต้นไม้นี้มีคาคบไม้ที่มีน้ำขังอยู่เต็ม
มีปลาว่ายน้ำอยู่ด้วย อัศจรรย์แท้ เร็วๆ มาดูกัน”
คนแจวเรือ ทำท่าผูกเรือ แล้วเดินไปสบทบกับฮุ่ยจื้อ ที่ต้นไม้
ฮุ่ยจื้อ “แปลกแท้ๆ ปลาที่ไหนจะมาอยู่ในแอ่งน้ำที่คบไม้นี้ได้
คนแจวเรือ ทำท่าผูกเรือ แล้วเดินไปสบทบกับฮุ่ยจื้อ ที่ต้นไม้
ฮุ่ยจื้อ “แปลกแท้ๆ ปลาที่ไหนจะมาอยู่ในแอ่งน้ำที่คบไม้นี้ได้
ท่านว่าไหม ท่านคนแจวเรือ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเลย
ข้าพเจ้าว่าปลาตัวนี้จะต้องเป็นมัจฉาศักดิ์สิทธิ์อย่างแน่นอน”
คนแจวเรือ “มิได้ท่าน ปลาตัวนี้เป็นปลาธรรมดา มิได้เป็นมัจฉาศักดิ์สิทธิ์
คนแจวเรือ “มิได้ท่าน ปลาตัวนี้เป็นปลาธรรมดา มิได้เป็นมัจฉาศักดิ์สิทธิ์
เมื่อคืนนี้ฝนตก น้ำก็ขังอยู่ในคาคบไม้นี้ ข้าพเจ้าเองที่นึกสนุก
เอาปลาเป็นๆ ตัวหนึ่งปล่อยลงไป กะว่าเย็นนี้จะนำกลับไปทำอาหารรับประทานที่บ้าน”
คนเล่าเรื่อง ซึ่งทำตัวเป็นต้นไม้ พูด
“เอาล่ะสิ ฮุ่ยจื้อไปอ้างเหตุผลผิดๆ แบบนั้น แล้วจะตอบคนแจวเรืออย่างไรล่ะนี่”
ฮุ่ยจื้อ “ข้าพเจ้านี้ ขาดความรอบคอบนัก ขอขอบคุณท่านคนแจวเรือ ที่เตือนสติข้าพเจ้า”
คนแจวเรือ “ข้าพเจ้าหรือ? ข้าพเจ้ามิกล้าเช่นนั้น!”
ฮุ่ยจื้อ “ท่านได้เตือนสติข้าพเจ้า โดยที่ท่านมิได้ตั้งใจ บัดนี้ข้าพเจ้ารู้แล้วว่า
ตนเองยังขาดคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับการเป็นนายอำเภอ
เพราะไปอ้างความไม่รู้ แล้วสรุปว่าปลาต้องเป็นมัจฉาศักดิ์สิทธิ์”
คนแจวเรือ “ท่านอ้างความไม่รู้ ไม่เคยเห็น ไม่เคยมีประสบการณ์
คนแจวเรือ “ท่านอ้างความไม่รู้ ไม่เคยเห็น ไม่เคยมีประสบการณ์
แล้วสรุปไปต่างๆ นาๆ นั้นเป็นความเห็นที่ผิด ที่บกพร่องแน่นอน
แต่ถึงอย่างไร ข้าพเจ้าก็เห็นว่าท่านยังสามารถเป็นนายอำเภอได้”
ฮุ่ยจื้อ “ทำไมล่ะท่าน”
คนแจวเรือ “เพราะเมื่อท่านรู้ข้อเท็จจริงมากขึ้นแล้ว ท่านก็ยอมรับผิด
ฮุ่ยจื้อ “ทำไมล่ะท่าน”
คนแจวเรือ “เพราะเมื่อท่านรู้ข้อเท็จจริงมากขึ้นแล้ว ท่านก็ยอมรับผิด
และพร้อมจะเปลี่ยนความเข้าใจให้ถูกต้องไงล่ะ
คุณสมบัตินี้ก็สำคัญเหมือนกันสำหรับผู้ปกครอง
ข้าพเจ้าเห็นว่า บัดนี้เวลาล่วงมามากแล้ว ขอให้นายท่านรีบเดินทางเถิด
จะได้ไปทันรับตำแหน่ง อย่าได้เปลี่ยนใจล้มเลิกการเดินทางเลย”
ฮุ่ยจื้อ ทำท่าลา แล้วเดินทางต่อ คนแจวเรือเดินไปอีกทางหนึ่ง ทำท่านั่งในเรือ
ฮุ่ยจื้อ ทำท่าลา แล้วเดินทางต่อ คนแจวเรือเดินไปอีกทางหนึ่ง ทำท่านั่งในเรือ
คนเล่าเรื่อง หยุดทำตัวเป็นต้นไม้ แล้วพูดว่า
“นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ไม่ว่าใครก็สามารถอ้างเหตุผลผิดได้ ดังนั้น เราทุกคนควรระวังเรื่องการใช้เหตุผลให้มากขึ้น”
ผศ.พกุล แองเกอร์ สรุปและเรียบเรียงจาก เรื่องสั้นของจีน
source: http://math1.snru.ac.th/UserFiles/File/math1@snru/thinking%20and%20decise%20subject/mathing%20decise%20abt/unit%20%202.doc
Sunday, July 19, 2015
5 ข้อคิดที่ Mohnish Pabrai เรียนรู้จาก Warren Buffett และ Charlie Munger
เมื่อปี 2007 Mohnish Pabrai ผู้เขียนหนังสือการลงทุน เรื่อง "Dhandho Investor"
ได้ประมูลตั๋ว (การกุศล) เพื่อทานข้าวเที่ยงกับ Warren Buffett และ Charlie Munger
ด้วยมูลค่าสูงถึง 650,000 US dollars เราไปดูสิ่งที่ Mohnish เรียนรู้กันครับ
1. Don't use leverage (Warren)
Mohnish ถาม Warren เกี่ยวกับ Rick Guerin
ผู้ซึ่งเคยทำงานบริหารกองทุนร่วมกับ Warren และ Charlie
อีกทั้งยังถือเคยถือหุ้น Berkshire ด้วย
Warren ก็เล่าให้ฟังว่า
Rick Guerin ถือว่าเป็นเพื่อนร่วมงานที่มีฝีมือในการลงทุนเทียบเท่า Warren และ Charlie
แต่เขารีบไปหน่อย เลยใช้ Margin (กู้มาลงทุน)
และไปพลาดช่วงปี 1973-1974 ที่ตลาดหุ้นลงอย่างหนักถึง 70%
ซึ่ง Rick Guerin ก็เลยโดน Margin Call ไปด้วย
เขาก็เลยจำเป็นต้องขายหุ้น Berkshire ให้ Warren ในราคาน้อยกว่า 40 $/หุ้น
(ปัจจุบัน ราคา Berkshire ทะลุ 200,000 $/หุ้น ไปแล้ว)
2. Be Patient (Warren)
นอกจากนี้ Warren ยังเสริมว่า
"If you're even a slightly above-average investor who spends less than they earn, over a lifetime you cannot help but get rich if you are patient."
คือ ต้องทนรวยให้ได้
3. Carefully look at what the other great investors have done (Charlie)
ลองดูว่านักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ เขาทำยังไง
ลอกวิธีการซะเลย
4. Look at the cannibals (Charlie)
เคยดูหนังเรื่อง Cannibals ที่กินเนื้อคน ไหมครับ?
อันนี้หมายถึง มองหาบริษัทที่ซื้อหุ้นคืนในปริมาณที่มากๆ
5. Carefully study spin-offs (Charlie)
มองหาบริษัทที่กำลัง Spin-offs กิจการออกมา
เช่น การเอาบริษัทลูก มาออก IPO ขายหุ้นให้นักลงทุน
(อ่านรายละเอียดได้จากหนังสือ "You can be a stock market genius" ของ Joel Greenblatt
ที่มา : http://www.fool.com/investing/general/2013/01/10/mohnish-pabrai-what-ive-learned-from-warren-and-ch.aspx
ได้ประมูลตั๋ว (การกุศล) เพื่อทานข้าวเที่ยงกับ Warren Buffett และ Charlie Munger
ด้วยมูลค่าสูงถึง 650,000 US dollars เราไปดูสิ่งที่ Mohnish เรียนรู้กันครับ
1. Don't use leverage (Warren)
Mohnish ถาม Warren เกี่ยวกับ Rick Guerin
ผู้ซึ่งเคยทำงานบริหารกองทุนร่วมกับ Warren และ Charlie
อีกทั้งยังถือเคยถือหุ้น Berkshire ด้วย
Warren ก็เล่าให้ฟังว่า
Rick Guerin ถือว่าเป็นเพื่อนร่วมงานที่มีฝีมือในการลงทุนเทียบเท่า Warren และ Charlie
แต่เขารีบไปหน่อย เลยใช้ Margin (กู้มาลงทุน)
และไปพลาดช่วงปี 1973-1974 ที่ตลาดหุ้นลงอย่างหนักถึง 70%
ซึ่ง Rick Guerin ก็เลยโดน Margin Call ไปด้วย
เขาก็เลยจำเป็นต้องขายหุ้น Berkshire ให้ Warren ในราคาน้อยกว่า 40 $/หุ้น
(ปัจจุบัน ราคา Berkshire ทะลุ 200,000 $/หุ้น ไปแล้ว)
2. Be Patient (Warren)
นอกจากนี้ Warren ยังเสริมว่า
"If you're even a slightly above-average investor who spends less than they earn, over a lifetime you cannot help but get rich if you are patient."
คือ ต้องทนรวยให้ได้
3. Carefully look at what the other great investors have done (Charlie)
ลองดูว่านักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ เขาทำยังไง
ลอกวิธีการซะเลย
4. Look at the cannibals (Charlie)
เคยดูหนังเรื่อง Cannibals ที่กินเนื้อคน ไหมครับ?
อันนี้หมายถึง มองหาบริษัทที่ซื้อหุ้นคืนในปริมาณที่มากๆ
5. Carefully study spin-offs (Charlie)
มองหาบริษัทที่กำลัง Spin-offs กิจการออกมา
เช่น การเอาบริษัทลูก มาออก IPO ขายหุ้นให้นักลงทุน
(อ่านรายละเอียดได้จากหนังสือ "You can be a stock market genius" ของ Joel Greenblatt
ที่มา : http://www.fool.com/investing/general/2013/01/10/mohnish-pabrai-what-ive-learned-from-warren-and-ch.aspx
อย่ารอให้ใครมาอนุญาตให้คุณประสบความสำเร็จ
ครั้งหนึ่งเคยมีชายชื่อโกลด์เบิร์ก
ผู้ซึ่งไม่ปรารถนาอะไรมากไปกว่าความร่ำรวย
ดังนั้น ทุกวันเขาจึงไปที่โบสถ์และอธิษฐานขอพรต่อพระเจ้าให้เขาถูกลอตเตอรี่
เหตุการณ์เช่นนี้ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ
จากวันเป็นสัปดาห์ จากสัปดาห์เป็นเดือน และจากเดือนเป็นปี
แต่เขาก็ไม่เคยถูกรางวัลเลยซักครั้ง...
ในที่สุดโกลด์เบิร์กก็อับจนหนทาง
เขาจึงตัดพ้อกับพระเจ้าว่า "พระองค์ทำให้ข้าผิดหวังอย่างที่สุด"
ทันใดนั้น ความเงียบก็มลายหายไป
พระเจ้าตอบกลับมาด้วยเสียงดังสนั่นว่า!!
"โกลด์เบิร์ก เจ้าต้องช่วยข้าอีกแรง
อย่างน้อยก็ซื้อลอตเตอรี่สักใบก่อนเถอะ!"
คุณไม่มีวันถูกลอตเตอรี่ ถ้าคุณไม่ซื้อมันซักใบ
เอ้า ออกไปซื้อลอตเตอรี่กันได้แล้ว!
เฮ้ย ไม่ใช่ ไม่มีใครประเคนเครื่องมือไปสู่ความสำเร็จใส่มือคุณหรอก
คุณต้องสร้างมันเอง...
ที่มา จากหนังสือ "What I Wish I Knew When I Was 20" by Tina Seelig
Saturday, July 18, 2015
เร่งผลตอบแทนการลงทุนด้วย Warrant
นักลงทุนมือฉมังหลายๆ ท่าน คงคุ้นเคยกับ Warrant เป็นอย่างดี
แต่นักลงทุนหน้าใหม่อาจสงสัย ว่า Warrant คืออะไร
สามารถซื้อลงทุนได้ไหม หรือเอาไว้ เก็(ร)ง กำไร กันเท่านั้น
วันนี้ลองมาศึกษาเรื่อง Warrant กันครับ
Q : วอร์แรนท์ (Warrant) คือ อะไร?
A : ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นทุน ที่บริษัทออกให้กับผู้ถือหุ้น
โดยที่ผู้ที่ถือ Warrant สามารถ เลือกที่จะใช้สิทธิ (เหมือนเป็น Option)
ที่จะ จ่ายเงินเพิ่มเพื่อแปลง Warrant เป็นหุ้นของบริษัทได้
เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ขอ ยกตัวอย่าง Case จริง ดังนี้
เร็วๆนี้ บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) JAS (ผู้ให้บริการ Internet 3BB)
ได้ แจก Warrant ให้กับผู้ถือหุ้นเดิม คือ JAS-w3
ในกรณีนี้ขอ เรียก หุ้น JAS ว่า "หุ้นแม่"
JAS-w3 มีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
หมายความว่า
- หากเราซื้อ JAS-w3 ในตลาดตอนนี้ (วันที่ 17/7/15) ซึ่งมีราคา อยู่ที่ 1.5 บาท/หุ้น
- เราสามารถจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อแปลงเป็นหุ้นแม่ (JAS) ได้
โดยอัตราการใช้สิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิ : หุ้นสามัญใหม่ = 1 : 1
และจ่ายเงินเพิ่ม 4.3 บาท/หุ้น (ราคาใช้สิทธิ)
นั่นก็คือ ต้องจ่ายเงินเพิ่ม = 1 x 4.3 = 4.3 บาท/หุ้น
- ดังนั้นราคา JAS-w3 หากแปลง = 1.5+4.3 = 5.8 บาท/หุ้น
ซึ่งหากดูราคา JAS ล่าสุดได้ 5.25 บาท/หุ้น
ก็จะพบว่าราคา JAS-w3 แพงกว่า JAS ประมาณ 10% ได้
- ราคาใบสำคัญแสดงสิทธิ ระบุว่า 0.00 บาท/หน่วย หมายความว่า
ผู้ถือหุ้น JAS ได้ JAS-w3 มาฟรี ไม่ต้องเสียเงินซื้อ
(แต่ราคา JAS ก็ Dilute ไปแล้ว คือราคาลงในวันที่แจก Warrant)
- JAS-w3 มีอายุ 5 ปี หลังจาก 5 ปี หากไม่ใช้สิทธิแปลง
Warrant ก็จะกลายเป็นเพียงเศษกระดาษ
Q : คำศัพท์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Warrant?
A : (บางคำศัพธ์มีอธิบายข้างบนแล้ว)
- อัตราใช้สิทธิ (Conversion Ratio) = อัตราส่วนการแปลง Warrant เป็นหุ้นแม่
ตัวอย่างเช่น
ใบสำคัญแสดงสิทธิ : หุ้นสามัญใหม่ = 2:1 ก็คือ ซื้อ Warrant 2 หน่วย แปลงเป็น หุ้นแม่ได้ 1 หุ้น
- ราคาใช้สิทธิ (Exercise Price) = ราคาแปลง Warrant เป็นหุ้นแม่ (หลังคูณอัตราใช้สิทธิแล้ว)
- วันหมดอายุ (Expiration Date) = เลยจากวันนี้ไม่สามารถแปลง Warrant เป็นหุ้นแม่ ได้
- อัตราทด (Gearing Ratio) = คำนวณโดยการเอา ราคาหุ้นแม่ หารด้วยราคา Warrant (หลังคูณอัตราใช้สิทธิแล้ว)
เช่น อัตราทด 2 เท่าหมายความว่า ใช้เงินทุนตัวเองเพียง 1 ส่วน
แต่มีโอกาสได้ %ผลตอบแทน (หรือขาดทุน) 2 เท่า ของการซื้อหุ้นแม่
- In the money = Warrant เมื่อรวมราคาใช้สิทธิ แล้วถูกกว่าหุ้นแม่
- Out of the money = Warrant เมื่อรวมราคาใช้สิทธิ แล้วแพงกว่าหุ้นแม่ หรือเรียกว่ามี "Premium"
- จริงๆ มีคำศัพทธ์อื่นๆ เชิงการเงินอีกเช่นพวก คำนวณ Intrinsic Value แต่ผมว่ามันซับซ้อนเกิ๊น
Q : แล้ว Warrant ให้ผลตอบแทนที่แตกต่างจากลงทุนในหุ้นสามัญ (หุ้นแม่) อย่างไร?
A : กลับ มาที่ ตย. JAS ทำเป็นตารางให้ดูครับ
โดยขอยกตัวอย่าง สมมติว่า ราคา JAS-w3 เป็นไปตามราคาแปลงเป็นหุ้นแม่
คือ ราคา JAS-w3 = ราคา JAS ณ ปัจจุบัน x อัตราการใช้สิทธิ - 4.3 บาท/หุ้น
= 5.25-4.3 = 0.95 บาท/หุ้น
(แต่ในปัจจุบัน JAS-w3 มี Premium)
จะเห็นได้ว่า ราคา Warant ขึ้นลงเยอะกว่าในสัดส่วนที่สูงกว่าหุ้นแม่ มาก
คือ ขึ้นลงด้วย "อัตราทด" หรือ Gearing Ratio => ในกรณีนี้คือ 5.5 เท่า
ในกรณีนี้ หากหุ้นแม่ขึ้น 2.9% Warrant จะขึ้น 5.5 เท่า คือ 15.8%
ในทางตรงกันข้าม ก็ลบหนักๆ ได้เหมือนกัน
ดังนั้น ควรเลือกลงทุนใน Warrant ด้วยความระมัดระวังมากๆ
Q : จะข้อมูล Warrant หาได้จากที่ไหน?
A : แนะนำ Website http://siamchart.com/stock/W (เครดิตคุณ vim ThaiVI)
ทำเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ ของ Warrant ไว้ดีมากๆ
แต่จุดสำคัญคือ ควรศึกษาหุ้นแม้ ที่ออก Warrant ให้ดีก่อนลงทุน Warrant
Q : แล้วเวลาเลือกลงทุนใน Warrant ต้องดูอะไรบ้าง?
A : สิ่งสำคัญที่ผมใช้พิจารณาเวลาเลือกลงทุนใน Warrant ก็คือ
1. หุ้นแม่ต้องน่าสนใจ
- บริษัททำอะไร?
- วัตถุประสงค์ที่แจก Warrant คืออะไร?
เช่น หากมีแผนว่าจะต้องใช้เงินในอนาคต เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัท
อันนี้ก็น่าสนใจ, แต่ตรงกันข้าม หากออก Warrant มาเพื่อปั่นหุ้นแม่ อันนี้ก็น่ากลัว
ผมชอบบริษัทที่มี Warrant เพียง 1 ตัวเท่านั้น
และพยายามหลีกเลี่ยงบริษัทที่มี Warrant หลายๆ ตัว และออกถี่ๆ ทุกปี
- ราคาของบริษัทแม่ (รวมมูลค่าของลูก Warrant แล้ว) ก็ต้องน่าสนใจ
ไม่แพงเว่อร์ แบบ ซื้อชาตินี้ ถอนทุนคืนได้ชาติหน้า
2. อายุ Warrant ต้องมีเหลือพอสมควร
- หลีกเลี่ยงการลงทุนใน Warrant ที่อายุน้อยกว่า 1 ปี
ผมชอบการลงทุนที่มีเวลาเป็นเพื่อน คือ ให้โอกาสบริษัทได้แสดงผลงานออกมา ซึ่งต้องใช้เวลา
ดังนั้น การลงทุนใน Warrant ที่มีอายุน้อยเกินไป อาจมีความเสี่ยงอย่างมาก
ถ้าผลประกอบการของบริษัท ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้
โดยเฉพาะ Warrant ที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน อันนี้เสี่ยงมากๆ
Warrant ที่หุ้นแม่ทำผลงาน ย่ำแย่
จะมีราคาลดลงอย่างรวดเร็ว จนมีค่าเพียงเศษกระดาษ
ซึ่งช่วงนี้ราคา Warrant จะผันผวนมาก
บางที นักเก็(ร)ง กำไร ก็อาจจะชอบเล่นกัน แต่ผมขอบาย
3. ราคา Warrant ไม่แพงเว่อร์ จนเกินไป
- เพื่อไม่ให้เจ็บตัวมาก ผมพยายามมองหา Warrant
ที่เมื่อรวมราคาแปลงแล้ว มูลค่าใกล้เคียงกับหุ้นแม่
ไม่ In the money หรือ Out of money มากจนเกินไป
- สำหรับ Warrant ที่ In the money มากๆ อาจเกิดจาก
อายุเหลือน้อย
หรือ บริษัทแม่มีการจ่ายปันผลที่มาก แต่ Warrant ไม่ได้รับปันผล
หรือ หุ้นแม่อาจลงมาหาลูกได้อีก
- สำหรับ Warrant ที่ Out of money มากๆ อาจเกิดจาก
อายุเหลืออีกนาน
หรือ หุ้นแม่กำลัง Hot
หรือ หุ้นแม่ราคาต่ำเตี้ยติดดิน ออกลูก Warrant มากินตังเม่า
Q : แล้วจะลงทุน Warrant ในสัดส่วนเท่าไหร่ของ Port ดี?
A : อันนี้ก็แล้วแต่โอกาส และความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนแต่ละท่าน
แต่โดยทั่วไปแล้ว ข้อแนะนำง่ายๆ ก็คือ
ควรลงทุน Warrant ในสัดส่วนที่คิดว่าสามารถหาเงินมาจ่ายค่าแปลง Warrant เป็นหุ้นแม่ได้
ตัวอย่าง เช่น
- หุ้นบริษัท XYZ ราคา 3 บาท/หุ้น
- XYZ-w1 ราคา 2 บาท/หุ้น, อัตราใช้สิทธิ 1:1, Exercise Price 1 บาท/หุ้น
- หากเราอยากลงทุนใน XYZ ด้วยเงินเงิน 300,000 บาท ก็จะได้ 100,000 หุ้น
- แต่เนื่องจากมีทางเลือกเป็น XYZ-w1 ซึ่งใช้เงินเพียง 200,000 บาทซื้อ 100,000 หุ้นเท่ากัน
ดังนั้นเราก็อาจเลือกซิ้อ XYZ-w1 แทน และสามารถเก็บเงิน 100,000 บาทที่เหลือ
ไว้เป็นสภาพคล่องได้
- บางคนอาจมั่นใจ ซื้อ XYZ-w1 ทั้งหมด 300,000 บาท เลยก็ได้
(แล้วแต่ Risk Appetite ของแต่ละคน แต่ผมขี้กลัว ;p)
Q : ผลตอบแทนย้อนหลังของ Warrant?
A : อย่างที่บอกไปว่า Warrant ก็จะมีราคาขึ้นลงสัมพันธ์กับหุ้นแม่
แต่ขึ้นลงแบบมีอัตราทด ซึ่งผลตอบแทนก็หวือหวามากเลยหล่ะ
(เลือกผิดตัว อาจร้องไห้หนักมาก)
ลองไปดูผลตอบแทน 3 เดือน ย้อนหลัง กันครับ
Q : แล้ว Derivative Warrant (DW) หล่ะ?
A : หลักทรัพย์จำพวกนี้ คือ Option ที่ออกโดย Broker
เป็นหลักทรัพย์ที่อ้างอิงราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เฉยๆ
ไม่สามารถแปลงเป็นหุ้นสามัญได้
หลักการก็คล้ายๆ Warrant แต่มีทั้งขา Call (คิดว่าหุ้นจะขึ้น) และขา Put (คิดว่าหุ้นจะลง)
ซึ่ง DW นี้ คล้ายๆ กับการเล่นพนันกับเจ้า (ฺBroker)
ไม่ได้มีมูลค่าเพิ่มใดๆ
**การลงทุน มีความเสี่ยง คิดให้รอบคอบก่อนลงทุนครับ**
แต่นักลงทุนหน้าใหม่อาจสงสัย ว่า Warrant คืออะไร
สามารถซื้อลงทุนได้ไหม หรือเอาไว้ เก็(ร)ง กำไร กันเท่านั้น
วันนี้ลองมาศึกษาเรื่อง Warrant กันครับ
Q : วอร์แรนท์ (Warrant) คือ อะไร?
A : ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นทุน ที่บริษัทออกให้กับผู้ถือหุ้น
โดยที่ผู้ที่ถือ Warrant สามารถ เลือกที่จะใช้สิทธิ (เหมือนเป็น Option)
ที่จะ จ่ายเงินเพิ่มเพื่อแปลง Warrant เป็นหุ้นของบริษัทได้
เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ขอ ยกตัวอย่าง Case จริง ดังนี้
เร็วๆนี้ บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) JAS (ผู้ให้บริการ Internet 3BB)
ได้ แจก Warrant ให้กับผู้ถือหุ้นเดิม คือ JAS-w3
ในกรณีนี้ขอ เรียก หุ้น JAS ว่า "หุ้นแม่"
JAS-w3 มีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
รับหลักทรัพย์ : ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ ชื่อบริษัท : บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (JAS) ชื่อย่อใบสำคัญแสดงสิทธิ : JAS-W3 ตลาดรอง : SET วันที่เริ่มทำการซื้อขาย : 16 ก.ค. 2558 จำนวนหน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน : 3,428,457,991 อัตราการใช้สิทธิ (ใบสำคัญแสดงสิทธิ : หุ้นสามัญใหม่) : 1 : 1 ราคาการใช้สิทธิ (บาทต่อหุ้น) : 4.30 อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ : 5 ปี นับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ (6 กรกฎาคม 2558) ราคาใบสำคัญแสดงสิทธิ (บาทต่อหน่วย) : 0.00 วันใช้สิทธิครั้งแรก : 30 ก.ย. 2558 วันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย : 03 ก.ค. 2563
หมายความว่า
- หากเราซื้อ JAS-w3 ในตลาดตอนนี้ (วันที่ 17/7/15) ซึ่งมีราคา อยู่ที่ 1.5 บาท/หุ้น
- เราสามารถจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อแปลงเป็นหุ้นแม่ (JAS) ได้
โดยอัตราการใช้สิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิ : หุ้นสามัญใหม่ = 1 : 1
และจ่ายเงินเพิ่ม 4.3 บาท/หุ้น (ราคาใช้สิทธิ)
นั่นก็คือ ต้องจ่ายเงินเพิ่ม = 1 x 4.3 = 4.3 บาท/หุ้น
- ดังนั้นราคา JAS-w3 หากแปลง = 1.5+4.3 = 5.8 บาท/หุ้น
ซึ่งหากดูราคา JAS ล่าสุดได้ 5.25 บาท/หุ้น
ก็จะพบว่าราคา JAS-w3 แพงกว่า JAS ประมาณ 10% ได้
- ราคาใบสำคัญแสดงสิทธิ ระบุว่า 0.00 บาท/หน่วย หมายความว่า
ผู้ถือหุ้น JAS ได้ JAS-w3 มาฟรี ไม่ต้องเสียเงินซื้อ
(แต่ราคา JAS ก็ Dilute ไปแล้ว คือราคาลงในวันที่แจก Warrant)
- JAS-w3 มีอายุ 5 ปี หลังจาก 5 ปี หากไม่ใช้สิทธิแปลง
Warrant ก็จะกลายเป็นเพียงเศษกระดาษ
Q : คำศัพท์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Warrant?
A : (บางคำศัพธ์มีอธิบายข้างบนแล้ว)
- อัตราใช้สิทธิ (Conversion Ratio) = อัตราส่วนการแปลง Warrant เป็นหุ้นแม่
ตัวอย่างเช่น
ใบสำคัญแสดงสิทธิ : หุ้นสามัญใหม่ = 2:1 ก็คือ ซื้อ Warrant 2 หน่วย แปลงเป็น หุ้นแม่ได้ 1 หุ้น
- ราคาใช้สิทธิ (Exercise Price) = ราคาแปลง Warrant เป็นหุ้นแม่ (หลังคูณอัตราใช้สิทธิแล้ว)
- วันหมดอายุ (Expiration Date) = เลยจากวันนี้ไม่สามารถแปลง Warrant เป็นหุ้นแม่ ได้
- อัตราทด (Gearing Ratio) = คำนวณโดยการเอา ราคาหุ้นแม่ หารด้วยราคา Warrant (หลังคูณอัตราใช้สิทธิแล้ว)
เช่น อัตราทด 2 เท่าหมายความว่า ใช้เงินทุนตัวเองเพียง 1 ส่วน
แต่มีโอกาสได้ %ผลตอบแทน (หรือขาดทุน) 2 เท่า ของการซื้อหุ้นแม่
- In the money = Warrant เมื่อรวมราคาใช้สิทธิ แล้วถูกกว่าหุ้นแม่
- Out of the money = Warrant เมื่อรวมราคาใช้สิทธิ แล้วแพงกว่าหุ้นแม่ หรือเรียกว่ามี "Premium"
- จริงๆ มีคำศัพทธ์อื่นๆ เชิงการเงินอีกเช่นพวก คำนวณ Intrinsic Value แต่ผมว่ามันซับซ้อนเกิ๊น
Q : แล้ว Warrant ให้ผลตอบแทนที่แตกต่างจากลงทุนในหุ้นสามัญ (หุ้นแม่) อย่างไร?
A : กลับ มาที่ ตย. JAS ทำเป็นตารางให้ดูครับ
โดยขอยกตัวอย่าง สมมติว่า ราคา JAS-w3 เป็นไปตามราคาแปลงเป็นหุ้นแม่
คือ ราคา JAS-w3 = ราคา JAS ณ ปัจจุบัน x อัตราการใช้สิทธิ - 4.3 บาท/หุ้น
= 5.25-4.3 = 0.95 บาท/หุ้น
(แต่ในปัจจุบัน JAS-w3 มี Premium)
จะเห็นได้ว่า ราคา Warant ขึ้นลงเยอะกว่าในสัดส่วนที่สูงกว่าหุ้นแม่ มาก
คือ ขึ้นลงด้วย "อัตราทด" หรือ Gearing Ratio => ในกรณีนี้คือ 5.5 เท่า
ในกรณีนี้ หากหุ้นแม่ขึ้น 2.9% Warrant จะขึ้น 5.5 เท่า คือ 15.8%
ในทางตรงกันข้าม ก็ลบหนักๆ ได้เหมือนกัน
ดังนั้น ควรเลือกลงทุนใน Warrant ด้วยความระมัดระวังมากๆ
Q : จะข้อมูล Warrant หาได้จากที่ไหน?
A : แนะนำ Website http://siamchart.com/stock/W (เครดิตคุณ vim ThaiVI)
ทำเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ ของ Warrant ไว้ดีมากๆ
แต่จุดสำคัญคือ ควรศึกษาหุ้นแม้ ที่ออก Warrant ให้ดีก่อนลงทุน Warrant
Q : แล้วเวลาเลือกลงทุนใน Warrant ต้องดูอะไรบ้าง?
A : สิ่งสำคัญที่ผมใช้พิจารณาเวลาเลือกลงทุนใน Warrant ก็คือ
1. หุ้นแม่ต้องน่าสนใจ
- บริษัททำอะไร?
- วัตถุประสงค์ที่แจก Warrant คืออะไร?
เช่น หากมีแผนว่าจะต้องใช้เงินในอนาคต เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัท
อันนี้ก็น่าสนใจ, แต่ตรงกันข้าม หากออก Warrant มาเพื่อปั่นหุ้นแม่ อันนี้ก็น่ากลัว
ผมชอบบริษัทที่มี Warrant เพียง 1 ตัวเท่านั้น
และพยายามหลีกเลี่ยงบริษัทที่มี Warrant หลายๆ ตัว และออกถี่ๆ ทุกปี
- ราคาของบริษัทแม่ (รวมมูลค่าของลูก Warrant แล้ว) ก็ต้องน่าสนใจ
ไม่แพงเว่อร์ แบบ ซื้อชาตินี้ ถอนทุนคืนได้ชาติหน้า
2. อายุ Warrant ต้องมีเหลือพอสมควร
- หลีกเลี่ยงการลงทุนใน Warrant ที่อายุน้อยกว่า 1 ปี
ผมชอบการลงทุนที่มีเวลาเป็นเพื่อน คือ ให้โอกาสบริษัทได้แสดงผลงานออกมา ซึ่งต้องใช้เวลา
ดังนั้น การลงทุนใน Warrant ที่มีอายุน้อยเกินไป อาจมีความเสี่ยงอย่างมาก
ถ้าผลประกอบการของบริษัท ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้
โดยเฉพาะ Warrant ที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน อันนี้เสี่ยงมากๆ
Warrant ที่หุ้นแม่ทำผลงาน ย่ำแย่
จะมีราคาลดลงอย่างรวดเร็ว จนมีค่าเพียงเศษกระดาษ
ซึ่งช่วงนี้ราคา Warrant จะผันผวนมาก
บางที นักเก็(ร)ง กำไร ก็อาจจะชอบเล่นกัน แต่ผมขอบาย
3. ราคา Warrant ไม่แพงเว่อร์ จนเกินไป
- เพื่อไม่ให้เจ็บตัวมาก ผมพยายามมองหา Warrant
ที่เมื่อรวมราคาแปลงแล้ว มูลค่าใกล้เคียงกับหุ้นแม่
ไม่ In the money หรือ Out of money มากจนเกินไป
- สำหรับ Warrant ที่ In the money มากๆ อาจเกิดจาก
อายุเหลือน้อย
หรือ บริษัทแม่มีการจ่ายปันผลที่มาก แต่ Warrant ไม่ได้รับปันผล
หรือ หุ้นแม่อาจลงมาหาลูกได้อีก
- สำหรับ Warrant ที่ Out of money มากๆ อาจเกิดจาก
อายุเหลืออีกนาน
หรือ หุ้นแม่กำลัง Hot
หรือ หุ้นแม่ราคาต่ำเตี้ยติดดิน ออกลูก Warrant มากินตังเม่า
Q : แล้วจะลงทุน Warrant ในสัดส่วนเท่าไหร่ของ Port ดี?
A : อันนี้ก็แล้วแต่โอกาส และความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนแต่ละท่าน
แต่โดยทั่วไปแล้ว ข้อแนะนำง่ายๆ ก็คือ
ควรลงทุน Warrant ในสัดส่วนที่คิดว่าสามารถหาเงินมาจ่ายค่าแปลง Warrant เป็นหุ้นแม่ได้
ตัวอย่าง เช่น
- หุ้นบริษัท XYZ ราคา 3 บาท/หุ้น
- XYZ-w1 ราคา 2 บาท/หุ้น, อัตราใช้สิทธิ 1:1, Exercise Price 1 บาท/หุ้น
- หากเราอยากลงทุนใน XYZ ด้วยเงินเงิน 300,000 บาท ก็จะได้ 100,000 หุ้น
- แต่เนื่องจากมีทางเลือกเป็น XYZ-w1 ซึ่งใช้เงินเพียง 200,000 บาทซื้อ 100,000 หุ้นเท่ากัน
ดังนั้นเราก็อาจเลือกซิ้อ XYZ-w1 แทน และสามารถเก็บเงิน 100,000 บาทที่เหลือ
ไว้เป็นสภาพคล่องได้
- บางคนอาจมั่นใจ ซื้อ XYZ-w1 ทั้งหมด 300,000 บาท เลยก็ได้
(แล้วแต่ Risk Appetite ของแต่ละคน แต่ผมขี้กลัว ;p)
Q : ผลตอบแทนย้อนหลังของ Warrant?
A : อย่างที่บอกไปว่า Warrant ก็จะมีราคาขึ้นลงสัมพันธ์กับหุ้นแม่
แต่ขึ้นลงแบบมีอัตราทด ซึ่งผลตอบแทนก็หวือหวามากเลยหล่ะ
(เลือกผิดตัว อาจร้องไห้หนักมาก)
ลองไปดูผลตอบแทน 3 เดือน ย้อนหลัง กันครับ
Q : แล้ว Derivative Warrant (DW) หล่ะ?
A : หลักทรัพย์จำพวกนี้ คือ Option ที่ออกโดย Broker
เป็นหลักทรัพย์ที่อ้างอิงราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เฉยๆ
ไม่สามารถแปลงเป็นหุ้นสามัญได้
หลักการก็คล้ายๆ Warrant แต่มีทั้งขา Call (คิดว่าหุ้นจะขึ้น) และขา Put (คิดว่าหุ้นจะลง)
ซึ่ง DW นี้ คล้ายๆ กับการเล่นพนันกับเจ้า (ฺBroker)
ไม่ได้มีมูลค่าเพิ่มใดๆ
**การลงทุน มีความเสี่ยง คิดให้รอบคอบก่อนลงทุนครับ**
Subscribe to:
Posts (Atom)