ขอเริ่มต้น Blog แรก ด้วยแนวคิดดีๆ ที่ได้จากการอ่าน โดยตอนนี้กำลังเน้นการอ่านหนังสือเกี่ยวกับแนวคิดทางธุรกิจและการลงทุนในตลาดหุ้น
ตลอด 50 ปีมานี้ หากถามว่าใครคือนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ทุกคนคงคิดถึงชื่อ Warren Buffett ออกเป็นชื่อต้นๆ อย่างแน่นอน ผมก็เป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับแนวคิดในการลงทุนและการทำธุรกิจของ Buffett เลยได้ลองศึกษาประวัติของ Buffett จากหนังสือและ Website ต่างๆ พอดูข้อมูลหลายๆแหล่ง ก็พบว่า Buffett จะทำเขียนแนวคิดดีๆในการลงทุนเอาไว้ในรายงานผลประกอบการประจำปีของบริษัท Berkshire Hathaway ผมก็เลยได้ลองดาวน์โหลดมาอ่านดู แล้วก็พบว่ามีแนวคิดที่โดนใจอยู่หลายเรื่องทีเดียว แต่ประเด็นที่จะขอนำมา Share ในวันนี้ อยู่ใน Annual Report ปี 2010 ประมาณหน้าที่ 21 คือประโยคที่ว่า :
“We would rather be approximately right than precisely wrong.”
ผมลองนำแนวคิดนี้มาคิดให้ละเอียดก็พบว่า สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการลงทุนและการทำงานได้อย่างดีทีเดียว
อันดับแรก หากมองในแง่ของการลงทุนในตลาดหุ้น หากเทียบกับการที่คิดว่าเราจะเลือกลงทุนในบริษัทใดดี หรือลงทุนในหุ้นตัวไหน ก็คงต้องทำการบ้านมาก่อน โดยศึกษาพื้นฐานและปัจจัยที่จะทำให้บริษัทสามารถสร้างผลกำไรได้ ไม่ใช่ใช้วิธีคาดเดาไปเองว่าซื้อแล้วหุ้นน่าจะขึ้น เพราะมีผู้รู้แนะนำมาให้ซื้อหุ้นตัวนั้นตัวนี้ ซึ่งหากศึกษาการลงทุนแนว Value Investment หรือ VI นั้น มีสิ่งสำคัญที่จะต้องทำก็คือการประเมิน Intrinsic Value ของตัวหุ้น ซึ่งก็คือ บริษัทออกมาให้ได้ก่อน ซึ่งหากอ่านตาม Blog ต่างๆ ก็จะพบแหล่งความรู้มากมาย (ผมก็กำลังศึกษาอยู่ ยังไม่เชี่ยวชาญครับ)
สำหรับการประยุกต์ใช้ในชีวิตการทำงานนั้น บางทีเราอาจพบว่าการแก้ปัญหาบางอย่าง (จริงๆ คือ ปัญหาส่วนใหญ่) จะไม่สามารถเทียบกับทฤษฎี หรือวิชาการ ได้ 100% สิ่งสำคัญที่จะต้องทำในขั้นตอนการแก้ปัญหาก็คือ การรวบรวมข้อมูลเพื่อที่จะใช้วิเคราะห์ปัญหา และยิ่งกว่านั้นคือ การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้มาให้แน่ใจก่อน ไม่อย่างนั้น ต่อให้มีกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาที่ดีเพียงใด แต่หากข้อมูลที่ได้มาผิดทั้งหมด ก็จะทำให้สรุปผิดได้ง่ายๆ เลยทีเดียว เหมือนวลีภาษาอังกฤษที่ยังติดหูอยู่ทุกวันนี้ก็คือ “Garbage in, Garbage out” นั่นเอง
และพอดีช่วงเดือนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปอบรม วิชาทางสถิติเรื่อง Design of Experiment หรือ DOE เพื่อใช้หา Model สำหรับวางแผนการทดลองต่างๆ ซึ่ง อาจารย์ที่สอนก็ได้ให้แนวคิดอันหนึ่งซึ่งเป็นคำพูดของนักสถิติด้าน QC ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าค่อนข้างตรงกับ Buffett ทีเดียวครับ
"Essentially, all models are wrong, but some are useful" -George Box
ซึ่งแนวคิดก็คือ Model คณิตศาสตร์ ที่ได้จากการทำการทดลองแล้ววิเคราะห์ จะ “ผิด” ทั้งหมด คือ ไม่ได้ตรงเป๊ะ แต่ Model เหล่านั้นบางส่วน (จริงๆ แล้วคือ ส่วนใหญ่) จะให้ข้อมูลบางอย่างที่เป็นประโยชน์ได้
วันนี้ขอจบแค่นี้ก่อน และหากเพื่อนๆ คนไหน สนใจสามารถไปดาวน์โหลด Annual Report ของ Berkshire Hathaway มาอ่านกันได้ตาม Website ด้านล่างนี้ครับ