วันนี้จะขอ Share เรื่องการแบ่งหุ้นใน SET ออกเป็นหมวดหมู่ ตามกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจครับ
Q : ทำไมต้องมีการแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรม ใน SET ทำไมไม่รวมกันแบบ mai?
A : หากมองในภาพของประเทศ ก็จะทำให้สามารถสะท้อนภาพของอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะบริษัทใน SET ส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทชั้นนำของประเทศทั้งนั้น
แต่หากมองในแง่ของการลงทุน การแบ่งหุ้นตามอุตสาหกรรมนับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากบริษัทที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม หรือ หมวดธุรกิจเดียวกัน จะมีลักษณะการประกอบธุรกิจที่ใกล้เคียงกัน ทำให้นักลงทุนอย่างเราๆ สามารถเปรียบเทียบข้อมูลในการลงทุนได้อย่างเหมาะสม เช่น พวกค่า PE, P/BV, อัตรากำไรขั้นต้น (GPM), ROE, ROA, หรือ ยอดขายต่างๆ เป็นต้น
แต่หากมองในแง่ของการลงทุน การแบ่งหุ้นตามอุตสาหกรรมนับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากบริษัทที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม หรือ หมวดธุรกิจเดียวกัน จะมีลักษณะการประกอบธุรกิจที่ใกล้เคียงกัน ทำให้นักลงทุนอย่างเราๆ สามารถเปรียบเทียบข้อมูลในการลงทุนได้อย่างเหมาะสม เช่น พวกค่า PE, P/BV, อัตรากำไรขั้นต้น (GPM), ROE, ROA, หรือ ยอดขายต่างๆ เป็นต้น
Q : สำหรับบริษัทใน SET แบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมได้ไว้อย่างไรบ้าง
A : ข้อมูลนี้หาได้จาก Website ของ SET โดยตรง
ตามตารางด้านล่างครับ
A : ข้อมูลนี้หาได้จาก Website ของ SET โดยตรง
ตามตารางด้านล่างครับ
ตารางแสดงโครงสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจ | |
ตลาด : SET |
* มีผลตั้งแต่ 4 มกราคม 2554
|
กลุ่มอุตสาหกรรม
|
หมวดธุรกิจ
|
|
เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (.AGRO) |
AGRI
|
ธุรกิจการเกษตร
|
FOOD
|
อาหารและเครื่องดื่ม
|
|
สินค้าอุปโภคบริโภค (.CONSUMP) |
FASHION
|
แฟชั่น
|
HOME
|
ของใช้ในครัวเรือนและสำนักงาน
|
|
PERSON
|
ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์
|
|
ธุรกิจการเงิน (.FINCIAL) |
BANK
|
ธนาคาร
|
FIN
|
เงินทุนและหลักทรัพย์
|
|
INSUR
|
ประกันภัยและประกันชีวิต
|
|
สินค้าอุตสาหกรรม (.INDUS) |
AUTO
|
ยานยนต์ |
IMM
|
วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร | |
PAPER
|
กระดาษและวัสดุการพิมพ์ | |
PETRO
|
ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ | |
PKG
|
บรรจุภัณฑ์ | |
STEEL
|
เหล็ก | |
อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (.PROPCON) |
CONMAT
|
วัสดุก่อสร้าง
|
PFUND
|
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
|
|
PROP
|
พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
|
|
ทรัพยากร (.RESOURC) |
ENERG
|
พลังงานและสาธารณูปโภค
|
MINE
|
เหมืองแร่
|
|
บริการ (.SERVICE ) |
COMM
|
พาณิชย์ |
HELTH
|
การแพทย์ | |
MEDIA
|
สื่อและสิ่งพิมพ์ | |
PROF
|
บริการเฉพาะกิจ | |
TOURISM
|
การท่องเที่ยวและสันทนาการ | |
TRANS
|
ขนส่งและโลจิสติกส์ | |
เทคโนโลยี (.TECH) |
ETRON
|
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ |
ICT
|
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
Q : อยากรู้ความถูก/แพงของหุ้น โดยดูจาก PE (Price to Earning Ratio) ของกลุ่มอุตสาหกรรม/หมวดธุรกิจ หาได้ที่ไหนดี?
A : บาง Broker น่าจะมีบทวิเคราะห์รายกลุ่มอุตสาหกรรมส่งให้ลูกค้าอยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่ได้รับข้อมูล แนะนำให้ดูข้อมูลใน Website Siam Chart ครับ ดูข้อมูลฟรี หน้าตา Website ก็ตามด้านล่างนี้ครับ
ผมลองนำข้อมูล PE แต่ละหมวดธุรกิจมาทำเป็นตารางให้ดู โดยเรียงจากหมวดธุรกิจที่มี PE ต่ำๆ ไล่ไปหา PE สูงๆ นะครับ
Q : PE ของแต่ละหมวดธุรกิจบอกอะไรเราได้บ้าง?
A : หากดูเฉพาะค่า PE อาจมองภาพได้ว่า
หมวดธุรกิจที่ PE ต่ำๆ (ประมาณ 8-10)
1. ค่า P หรือ Price มีค่าต่ำมาก คือ เป็นธุรกิจที่คนไม่ค่อยซื้อ ไม่อยากเป็นเจ้าของ เป็นธุรกิจที่น่าเบื่อ
2. ค่า E หรือ Earning มีค่าสูง อาจเกิดจาก Trend ธุรกิจที่ดีขึ้น หรือ บางหมวดธุรกิจมีลักษณะที่เป็น หุ้นวัฏจักร (Cyclical) เช่น หมวด PETRO, พลังงาน บางปีอาจทำให้ค่า E สูงมาก
แต่ถ้าจะให้เรียกว่าต่ำจริงๆ PE น่าจะน้อยกว่า 5
แต่ถ้าจะให้เรียกว่าต่ำจริงๆ PE น่าจะน้อยกว่า 5
หมวดธุรกิจ ที่ PE สูงๆ (ระดับ 20-30 หรือมากกว่า)
1. ค่า P ที่สูง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นธุรกิจยอดนิยมในปัจจุบัน ที่นักลงทุนส่วนใหญ่ชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็น หมวดพาณิชย์ (พวก Modern Trade ต่างๆ), กลุ่มสื่อสาร, หรือ พวกกลุ่มโรงพยาบาล กลุ่มนี้มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี
2. ค่า E มีค่าต่ำมาก อาจเป็นช่วงขาลงของกลุ่มธุรกิจนั้นๆ สำหรับที่เห็นได้ชัดในปีนี้ก็คือ กลุ่ม Insurance หรือ ประกันภัย ที่โดนผลกระทบจากน้ำท่วมปีที่แล้วกันหลายบริษัท ส่วนใหญ่ยังไม่ฟื้น
Step ถัดไปพอได้หมวดธุรกิจที่เราหมายตาเอาไว้ (ที่เราพอรู้เรื่องว่าเขาประกอบธุรกิจอะไร) ก็ลองไปไล่ดูบริษัทในหมวดธุรกิจ ว่ามีบริษัทอะไรบ้าง เริ่มจากตัวที่เราพอรู้จัก หรือเริ่มจากตัวที่ PE ต่ำๆ ก็ได้ (จริงๆต้องดูข้อมูลอื่นๆ ประกอบ ไว้สำเร็จวิชา แล้วจะมาเล่าให้ฟังนะครับ)
อย่างไรก็ตาม หากเราพิจารณาให้ดีจะพบว่า ส่วนกลับของ PE ก็คือ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่เราจะได้รับ ตัวอย่างเช่น
บริษัท A มี PE เท่ากับ 5 เราก็จะคำนวณได้ว่า หากบริษัท A มีกำไรเท่าเดิมในปีถัดๆ ไป เราก็จะได้รับผลตอบแทนคือ 1/5 x 100 = 20% ต่อปี ซึ่งหากเทียบกับการฝากธนาคารดอกเบี้ย 3% ต่อปี แล้ว ก็พบว่า เป็นผลตอบแทนที่ดีมาก
ในทางกลับกัน หาก บริษัท B มี PE เท่ากับ 30 แต่กำไรในปีถัดๆไป เท่าเดิมเหมือนบริษัท A ก็จะพบว่า บริษัท B มีผลตอบแทนเพียง 1/30x100 = 3.3% เท่านั้น ซึ่งใกล้เคียงกับการดอกเบี้ยฝากประจำ แถมความเสี่ยงมาอีกส่วนหนึ่ง ดูแล้วไม่ค่อยน่าลงทุน
อย่างไรก็ตามบริษัท B ที่มี PE 30 มักจะมาพร้อมอัตราการเติบโตด้วยเสมอ เพราะนักลงทุนก็จะลงทุนโดยการซื้ออนาคตอยู่แล้ว ซึ่งหากอัตราการเติบโตของบริษัท B ซัก 30% ต่อปี ก็ถือว่าน่าสนใจทีเดียว (ไว้มีโอกาสจะขยายความอีกรอบ)
นอกจากนี้เราอาจดู PE ย้อนหลัง ไปหลายๆ ปีประกอบกัน เพื่อให้เห็นภาวะตลาด (เมื่อตอน Sub Prime ปี 2008-09 มีหุ้น PE 2-3 ก็มี ตอนนั้นผมยังไม่ได้เริ่มลงทุนในหุ้น ซื้อแต่ LTF ยังได้กำไรดีมากๆ
ขอสรุปประเด็น 2 ข้อ
1. Warren Buffett นักลงทุนเอกของโลกพยายามเน้นย้ำก็คือ "Circle of Competence" หรือ "ขอบเขตความรู้" ของเรา ว่ามีความเข้าใจธุรกิจนั้นๆ มากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะสามารถประเมินมูลค่าของธุรกิจได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น หากลองคิดว่าเราจะเอาเงินไปทำธุรกิจอะไรซักอย่างนึง เราก็จะคิดแล้วคิดอีกใช่ไหมครับ ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี, มีคู่แข่งเยอะไหม อะไรประมาณนี้ การลงทุนในหุ้นก็เหมือนกัน เราคงไม่เสี่ยงเอาเงินที่สะสมมา ไปลงทุนในธุรกิจที่เราไม่รู้เรื่องใช่ไหมครับ
2. หากเราเลือกลงทุนในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอยู่ในขณะนั้นๆ และสามารถหาบริษัทที่มีอัตราการเติบโตที่ดี และราคาที่เหมาะสม ก็จะสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนได้อย่างมหาศาล (ประมาณว่าหา "ราชันในหมู่ราชา")
Reference :
2. หากเราเลือกลงทุนในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอยู่ในขณะนั้นๆ และสามารถหาบริษัทที่มีอัตราการเติบโตที่ดี และราคาที่เหมาะสม ก็จะสามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนได้อย่างมหาศาล (ประมาณว่าหา "ราชันในหมู่ราชา")
Reference :
http://www.set.or.th/th/products/index/files/2011_01_04_SET_Classification.pdf
http://siamchart.com/
http://siamchart.com/
No comments:
Post a Comment