Blog แนะนำเกี่ยวกับ Value Investing ใน ตปท. ครับ
http://www.barelkarsan.com/search/label/Seth%20Klarman
http://www.tilsonfunds.com/
Sunday, March 30, 2014
Fisher's 15 Points
Fisher's 15 Points
All good principles are timeless, and Fisher's famous "Fifteen Points to Look for in a Common Stock" from Common Stocks and Uncommon Profits remain as relevant today as when they were first published. The 15 points are a qualitative guide to finding superbly managed companies with excellent growth prospects. According to Fisher, a company must qualify on most of these 15 points to be considered a worthwhile investment:
1. Does the company have products or services with sufficient market potential to make possible a sizable increase in sales for at least several years?
A company seeking a sustained period of spectacular growth must have products that address large and expanding markets.
2. Does the management have a determination to continue to develop products or processes that will still further increase total sales potentials when the growth potentials of currently attractive product lines have largely been exploited?
All markets eventually mature, and to maintain above-average growth over a period of decades, a company must continually develop new products to either expand existing markets or enter new ones.
3. How effective are the company's research-and-development efforts in relation to its size?
To develop new products, a company's research-and-development (R&D) effort must be both efficient and effective.
4. Does the company have an above-average sales organization?
Fisher wrote that in a competitive environment, few products or services are so compelling that they will sell to their maximum potential without expert merchandising.
5. Does the company have a worthwhile profit margin?
Berkshire Hathaway's BRK.B vice-chairman Charlie Munger is fond of saying that if something is not worth doing, it is not worth doing well. Similarly, a company can show tremendous growth, but the growth must bring worthwhile profits to reward investors.
6. What is the company doing to maintain or improve profit margins?
Fisher stated, "It is not the profit margin of the past but those of the future that are basically important to the investor." Because inflation increases a company's expenses and competitors will pressure profit margins, you should pay attention to a company's strategy for reducing costs and improving profit margins over the long haul. This is where the moat framework we've spoken about throughout the Investing Classroom series can be a big help.
7. Does the company have outstanding labor and personnel relations?
According to Fisher, a company with good labor relations tends to be more profitable than one with mediocre relations because happy employees are likely to be more productive. There is no single yardstick to measure the state of a company's labor relations, but there are a few items investors should investigate. First, companies with good labor relations usually make every effort to settle employee grievances quickly. In addition, a company that makes above-average profits, even while paying above-average wages to its employees is likely to have good labor relations. Finally, investors should pay attention to the attitude of top management toward employees.
8. Does the company have outstanding executive relations?
Just as having good employee relations is important, a company must also cultivate the right atmosphere in its executive suite. Fisher noted that in companies where the founding family retains control, family members should not be promoted ahead of more able executives. In addition, executive salaries should be at least in line with industry norms. Salaries should also be reviewed regularly so that merited pay increases are given without having to be demanded.
9. Does the company have depth to its management?
As a company continues to grow over a span of decades, it is vital that a deep pool of management talent be properly developed. Fisher warned investors to avoid companies where top management is reluctant to delegate significant authority to lower-level managers.
10. How good are the company's cost analysis and accounting controls?
A company cannot deliver outstanding results over the long term if it is unable to closely track costs in each step of its operations. Fisher stated that getting a precise handle on a company's cost analysis is difficult, but an investor can discern which companies are exceptionally deficient--these are the companies to avoid.
11. Are there other aspects of the business, somewhat peculiar to the industry involved, which will give the investor important clues as to how outstanding the company may be in relation to its competition?
Fisher described this point as a catch-all because the "important clues" will vary widely among industries. The skill with which a retailer, like Wal-Mart WMT or Costco COST, handles its merchandising and inventory is of paramount importance. However, in an industry such as insurance, a completely different set of business factors is important. It is critical for an investor to understand which industry factors determine the success of a company and how that company stacks up in relation to its rivals.
12. Does the company have a short-range or long-range outlook in regard to profits?
Fisher argued that investors should take a long-range view, and thus should favor companies that take a long-range view on profits. In addition, companies focused on meeting Wall Street's quarterly earnings estimates may forgo beneficial long-term actions if they cause a short-term hit to earnings. Even worse, management may be tempted to make aggressive accounting assumptions in order to report an acceptable quarterly profit number.
13. In the foreseeable future will the growth of the company require sufficient equity financing so that the larger number of shares then outstanding will largely cancel the existing stockholders' benefit from this anticipated growth?
As an investor, you should seek companies with sufficient cash or borrowing capacity to fund growth without diluting the interests of its current owners with follow-on equity offerings.
14. Does management talk freely to investors about its affairs when things are going well but "clam up" when troubles and disappointments occur?
Every business, no matter how wonderful, will occasionally face disappointments. Investors should seek out management that reports candidly to shareholders all aspects of the business, good or bad.
15. Does the company have a management of unquestionable integrity?
The accounting scandals that led to the bankruptcies of Enron and WorldCom should highlight the importance of investing only with management teams of unquestionable integrity. Investors will be well-served by following Fisher's warning that regardless of how highly a company rates on the other 14 points, "If there is a serious question of the lack of a strong management sense of trusteeship for shareholders, the investor should never seriously consider participating in such an enterprise."
http://news.morningstar.com/classroom2/printlesson.asp?docId=145662&CN=
All good principles are timeless, and Fisher's famous "Fifteen Points to Look for in a Common Stock" from Common Stocks and Uncommon Profits remain as relevant today as when they were first published. The 15 points are a qualitative guide to finding superbly managed companies with excellent growth prospects. According to Fisher, a company must qualify on most of these 15 points to be considered a worthwhile investment:
1. Does the company have products or services with sufficient market potential to make possible a sizable increase in sales for at least several years?
A company seeking a sustained period of spectacular growth must have products that address large and expanding markets.
2. Does the management have a determination to continue to develop products or processes that will still further increase total sales potentials when the growth potentials of currently attractive product lines have largely been exploited?
All markets eventually mature, and to maintain above-average growth over a period of decades, a company must continually develop new products to either expand existing markets or enter new ones.
3. How effective are the company's research-and-development efforts in relation to its size?
To develop new products, a company's research-and-development (R&D) effort must be both efficient and effective.
4. Does the company have an above-average sales organization?
Fisher wrote that in a competitive environment, few products or services are so compelling that they will sell to their maximum potential without expert merchandising.
5. Does the company have a worthwhile profit margin?
Berkshire Hathaway's BRK.B vice-chairman Charlie Munger is fond of saying that if something is not worth doing, it is not worth doing well. Similarly, a company can show tremendous growth, but the growth must bring worthwhile profits to reward investors.
6. What is the company doing to maintain or improve profit margins?
Fisher stated, "It is not the profit margin of the past but those of the future that are basically important to the investor." Because inflation increases a company's expenses and competitors will pressure profit margins, you should pay attention to a company's strategy for reducing costs and improving profit margins over the long haul. This is where the moat framework we've spoken about throughout the Investing Classroom series can be a big help.
7. Does the company have outstanding labor and personnel relations?
According to Fisher, a company with good labor relations tends to be more profitable than one with mediocre relations because happy employees are likely to be more productive. There is no single yardstick to measure the state of a company's labor relations, but there are a few items investors should investigate. First, companies with good labor relations usually make every effort to settle employee grievances quickly. In addition, a company that makes above-average profits, even while paying above-average wages to its employees is likely to have good labor relations. Finally, investors should pay attention to the attitude of top management toward employees.
8. Does the company have outstanding executive relations?
Just as having good employee relations is important, a company must also cultivate the right atmosphere in its executive suite. Fisher noted that in companies where the founding family retains control, family members should not be promoted ahead of more able executives. In addition, executive salaries should be at least in line with industry norms. Salaries should also be reviewed regularly so that merited pay increases are given without having to be demanded.
9. Does the company have depth to its management?
As a company continues to grow over a span of decades, it is vital that a deep pool of management talent be properly developed. Fisher warned investors to avoid companies where top management is reluctant to delegate significant authority to lower-level managers.
10. How good are the company's cost analysis and accounting controls?
A company cannot deliver outstanding results over the long term if it is unable to closely track costs in each step of its operations. Fisher stated that getting a precise handle on a company's cost analysis is difficult, but an investor can discern which companies are exceptionally deficient--these are the companies to avoid.
11. Are there other aspects of the business, somewhat peculiar to the industry involved, which will give the investor important clues as to how outstanding the company may be in relation to its competition?
Fisher described this point as a catch-all because the "important clues" will vary widely among industries. The skill with which a retailer, like Wal-Mart WMT or Costco COST, handles its merchandising and inventory is of paramount importance. However, in an industry such as insurance, a completely different set of business factors is important. It is critical for an investor to understand which industry factors determine the success of a company and how that company stacks up in relation to its rivals.
12. Does the company have a short-range or long-range outlook in regard to profits?
Fisher argued that investors should take a long-range view, and thus should favor companies that take a long-range view on profits. In addition, companies focused on meeting Wall Street's quarterly earnings estimates may forgo beneficial long-term actions if they cause a short-term hit to earnings. Even worse, management may be tempted to make aggressive accounting assumptions in order to report an acceptable quarterly profit number.
13. In the foreseeable future will the growth of the company require sufficient equity financing so that the larger number of shares then outstanding will largely cancel the existing stockholders' benefit from this anticipated growth?
As an investor, you should seek companies with sufficient cash or borrowing capacity to fund growth without diluting the interests of its current owners with follow-on equity offerings.
14. Does management talk freely to investors about its affairs when things are going well but "clam up" when troubles and disappointments occur?
Every business, no matter how wonderful, will occasionally face disappointments. Investors should seek out management that reports candidly to shareholders all aspects of the business, good or bad.
15. Does the company have a management of unquestionable integrity?
The accounting scandals that led to the bankruptcies of Enron and WorldCom should highlight the importance of investing only with management teams of unquestionable integrity. Investors will be well-served by following Fisher's warning that regardless of how highly a company rates on the other 14 points, "If there is a serious question of the lack of a strong management sense of trusteeship for shareholders, the investor should never seriously consider participating in such an enterprise."
http://news.morningstar.com/classroom2/printlesson.asp?docId=145662&CN=
Saturday, March 8, 2014
PSR Screen 2013
วันนี้ลองใช้ PSR มา Screen บริษัท เอาไว้ศึกษาต่อครับ
เกณฑ์ที่ใช้
1. PSR < 1.0
2. NPM = 0-5%
3. Mkt. Cap < 1,500 MB
4. ROE > 6%
(ลอง Screen ดูเล่นๆ ตามความชอบส่วนบุคคล โปรดอย่าถามว่าเอาเกณฑ์มาจากไหนนะครับ)
ข้อมูลดิบจาก : http://siamchart.com/
ส่วน PSR คำนวณเอง
รวม Website และ Blog ที่น่าสนใจเกี่ยวกับธุรกิจประกันภัย
รวม Website และ Blog ที่น่าสนใจเกี่ยวกับธุรกิจประกันภัย
คปภ.
http://www.oic.or.th/th/home/index.php
IPRB
http://www.iprbthai.org/iprbthai2011/NEWS/default.aspx
สมาคมประกันวินาศภัยไทย
http://www.thaigia.com/Insure_News.html
สมาคมประกันชีวิตไทย
http://www.tlaa.org/2012/enews_safe_life_view_all_day.php
สรุปข่าวประจำวัน
http://www.thailife.com/Daily_News/?page=1
รู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับประกันภัยไทย
http://insurance-thai-knowledge.blogspot.com/
คปภ.
http://www.oic.or.th/th/home/index.php
IPRB
http://www.iprbthai.org/iprbthai2011/NEWS/default.aspx
สมาคมประกันวินาศภัยไทย
http://www.thaigia.com/Insure_News.html
สมาคมประกันชีวิตไทย
http://www.tlaa.org/2012/enews_safe_life_view_all_day.php
สรุปข่าวประจำวัน
http://www.thailife.com/Daily_News/?page=1
นักคณิตศาสตร์ประกันภัย (คุณ Tommy)
http://thaiactuary.blogspot.com/2014/02/2557.htmlรู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับประกันภัยไทย
http://insurance-thai-knowledge.blogspot.com/
Thursday, February 20, 2014
เหตุการณ์ที่สร้างราคาหุ้น : วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล
เหตุการณ์ที่สร้างราคาหุ้น : วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล
นัก ลงทุนทุกคนต่างต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติ (Abnormal Returns) จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหมั่นศึกษาถึงงบการเงิน งบกระแสเงินสด ภาวะอุตสาหกรรม ความคิดของนักลงทุนสถาบันของหุ้นตัวนั้น เพื่อหาปัจจัยบวก (Drivers) ในการผลักดันราคาหุ้นว่าจะปรับตัวขึ้นเมื่อไรและอย่างไร
Drivers ต่างๆเหล่านี้ จะมาพร้อมกับการปรับมุมมองของการลงทุนให้ดีขึ้น (Upgrade) นำไปสู่การเปลี่ยนคำแนะนำในที่สุด เช่น จากคำแนะนำเดิมจาก “ถือ” (Hold) เป็น “ซื้อ” (Buy) หรือจาก “ซื้อ” เป็น “ซื้ออย่างเต็มที่” (Strong Buy) แต่ Drivers ต่างๆเหล่านี้ จะต้องเป็นสิ่งที่ตลาดไม่ได้คาดหมาย
ถ้า นักลงทุนสามารถคาดการณ์เหตุการณ์เหล่านี้ได้อย่างแม่นยำ นักลงทุนท่านนั้นก็สามารถมีผลตอบแทนสูงกว่าปกติได้ (Buy before market expectations) เนื่องจากในตอนที่หุ้นตัวนั้นราคาถูกๆ นักลงทุนส่วนใหญ่ยังไม่มีหุ้นนั้นในพอร์ต จะเป็นสภาพ Under-owned Stocks เมื่อมีข่าวดีแบบไม่ได้คาดหมาย (Unexpected Good News) นักลงทุนจะรุมซื้อ และทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นในที่สุด
ในทางกลับกัน ถ้านักลงทุนได้คาดการณ์เหตุการณ์นั้นแล้ว ซื้อหุ้นเข้าพอร์ตแล้ว หุ้นตัวนั้นจะกลายเป็น สภาพ “Over-owned” คือสภาพที่ทุกคนมีหุ้นตัวนั้นอยู่ในพอร์ต เมื่อข่าวดีออกมา จะถูกเทขายทำกำไรทันที กลายเป็นสภาพ Buy on expectations and sell on facts
ผม ได้รวบรวมเหตุการณ์ 13 เหตุการณ์ (จริงๆมีมากกว่านี้มาก) ที่จะเป็นตัวผลักดัน หรือทำให้หุ้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นในขณะที่ราคายังต่ำอยู่
กรณีที่ 1 : ผลการดำเนินงาน “มากกว่า” คาดหมาย (Results beat market expectations) เช่น หุ้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีตัวหนึ่ง นักวิเคราะห์และนักลงทุนได้คาดการณ์ว่า ผลกำไรในไตรมาส 1 ของปี 2548 ได้กำไรกว่า 2,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 250 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกันกับไตรมาสเดียวกันนี้แล้ว ซึ่งเป็นผลการเติบโตของกำไรอย่างมหาศาล แต่เมื่อบริษัทได้ประกาศผลการดำเนินงานแล้ว ก็เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาด
แต่ ราคาหุ้นตัวนั้นกลับถูกแรงเทขายทำกำไร แสดงว่าการคาดการณ์ผลการประกอบการที่ดีนั้นได้ถูกคาดการณ์และนักลงทุนได้ ซื้อหุ้น (Build Position) ไว้แล้ว นักลงทุนกลับมุ่งความสนใจไปในผลการดำเนินงานในไตรมาสถัดไปทันที (Forward Expectation) แต่ในทางกลับกัน ถ้าผลกำไรของบริษัทได้เพิ่มเป็น 4,000 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้มาก หุ้นบริษัทปิโตรเคมีตัวนั้นจะตอบสนองในทางบวกทันที เนื่องจากบรรดานักวิเคราะห์ จะพากันพาเหรดกันปรับผลกำไรขึ้นทันที (Upgrade and Re-rate)
กรณีที่ 2 : งบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานหลังหักงบลงทุน (Free Cash Flow) เป็นบวกในไตรมาสแรกหลังจากติดลบมานาน ผมได้ศึกษาเรื่องนี้มา 15 บริษัท พบสิ่งที่น่าสนใจว่า บริษัทใดก็ตามที่มี Free Cash Flow หรืองบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานหลังหักงบลงทุนเป็นบวกในไตรมาสแรก หลังจากติดลบมาหลายๆ ปี ราคาหุ้นตัวนั้นจะมีการตอบสนองเป็นบวก และบวกมากๆด้วย
การที่ Free Cash Flow เป็นบวก สะท้อนให้เห็นถึงธุรกิจกำลังฟื้นตัว (Turn Around) เนื่องจากบริษัทได้ผ่านขั้นตอนการลงทุนไปแล้ว และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวดอกผลจากการลงทุนนั้น กระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่เหลือจากการลงทุน สามารถคืนหนี้ได้เร็วขึ้น และจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นเร็วขึ้น แต่ถ้า Free Cash Flow ยังคง “ติดลบ” หมายความว่า บริษัทต้องกู้เงินเพิ่ม หรืออาจต้องรบกวนกระเป๋าเงินผู้ถือหุ้นเพิ่มโดยการเพิ่มทุน
เช่นในปี 2546 Free Cash Flow ของ บมจ.สามารถ คอร์ปอเรชั่น (SAMART) เป็นบวกครั้งแรกในไตรมาส 3 ในรอบหลายปี ประกอบกับบริษัทได้ประสบความสำเร็จ ในการปรับโครงสร้างหนี้ด้วย หนี้ได้ลดลงอย่างมหาศาลในปีนั้น ทำให้ราคาหุ้นของ SAMART ได้ทะยานขึ้นราว 4-5 เท่า ในระยะ เวลา 1 ปี
กรณี ที่ 3 : การเปลี่ยนแปลงภาวะอุตสาหกรรม หุ้นจะเป็นไปตามวัฏจักรของอุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply) ซึ่งจะมีผลต่ออำนาจการต่อรอง (Pricing Power) ของผู้ซื้อและผู้ขาย และกระทบต่อกำไร (Margins) ของผู้ขาย
เช่นเมื่อปี 2539 ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ในประเทศไทย มีจำนวนผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Property Development) จำนวนมากกว่า 2,000 ราย แต่เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ จำนวนผู้ประกอบการกลับลดลงเหลือแค่ 100-200 ราย ในขณะที่ความต้องการบ้านถึงแม้จะลดลงแต่การลดลงยังน้อยกว่าจำนวนผู้ประกอบ การ ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่ ซึ่งแน่นอนต้องเป็นผู้แข็งแกร่งเท่านั้นที่อยู่รอด สามารถกำหนดราคาขายได้
ใน ช่วงปี 2542-2547 เป็นยุคทองของผู้แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ เช่น บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH) ในกรณีที่ผู้ขายรายอื่นล้มหายตายไป หรืออยู่ในระหว่างปรับโครงสร้างหนี้ LH กลับสามารถทำกำไรขั้นต้น (Gross Margins) โตถึง 40-45 เปอร์เซ็นต์ แทบจะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของวงการสังหาริมทรัพย์
ลักษณะวัฏจักร อุตสาหกรรมแบบนี้เรียกว่า “Oligopoly Business” (อุตสาหกรรมที่มีผู้ประกอบการน้อยราย แต่ผู้ประกอบการสามารถตั้งราคาขายที่มีกำไรสูงได้) ซึ่งอำนาจในการกำหนดราคา (Pricing Power) จะอยู่ที่ผู้ขาย หุ้นของบริษัทในอุตสาหกรรมจะปรับตัวขึ้นอย่างมาก เช่น ราคาหุ้น LH ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 20 บาท (Par 10 บาท) มาเป็น 14 บาท (Par 1 บาท) เนื่องจากกำไรจะพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เมื่อไรก็ตามที่กำไรมากก็ต้องดึงดูดจำนวนผู้ประกอบการเข้ามามากขึ้น รวมทั้งผู้ประกอบการรายเก่าที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้สินมา มีการลดเงินต้นและลดดอกเบี้ยมากมาย ทำให้ต้นทุนของบริษัทเหล่านี้ถูกลง
สิ่ง ที่เกิดขึ้นคือ มีผู้ประกอบการหน้าใหม่และหน้าเก่าเกิดขึ้นแทบจะทุกวันในปี 2546 ถึง 2547 วัฏจักรอุตสาหกรรมเปลี่ยนทันทีจาก Oligopoly เป็นการแข่งขันกันอย่างค่อนข้างดุเดือด (Perfect Competition) ราคาหุ้นของบริษัทในกลุ่มนี้ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว
เช่นเดียวกับ อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมัน โรงกลั่นโรงสุดท้ายที่สร้างขึ้นในประเทศไทย ซึ่งสร้างเมื่อปี 2538-2539 จากนั้นเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ โรงกลั่นไม่ว่าจะดีอย่างไรก็ขาดทุนมหาศาล ไม่ว่าจะเป็น บมจ.ไทยออยล์ (THAI OIL), บมจ.สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (STAR Refinery) เนื่องจากหนี้เพิ่มขึ้นและความต้องการลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นอุตสาหกรรมที่นักลงทุนหลบเลี่ยงในช่วงนั้น ราคาหนี้ของโรงกลั่นเหล่านี้ถูกเทขายในราคา 25 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าตลาด (ราคาได้ตกต่ำกว่าราคาหนี้มาก) จากนั้นใช้เวลาประมาณเกือบ 8-9 ปี ทำให้กลุ่มโรงกลั่นถึงมีกำไรมากๆถึงปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท ธนาคารที่ซื้อหนี้ของไทยออยล์ ที่ราคา 25-30 เปอร์เซ็นต์ ของราคาหน้าตั๋ว แล้วแปลงหนี้เป็นทุนสามารถทำกำไรมหาศาล
กรณีที่ 4 : การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์หรือแก้ไขสัญญาสัมปทาน เช่น ในกรณี บมจ.ไอทีวี (ITV) เมื่อปี 2547 ที่ได้รับการลดค่าสัมปทานจากที่ต้องจ่ายปีละกว่า 1,000 ล้านบาท มาเป็นจ่ายปีละ 200-300 ล้านบาท หรือการที่บริษัทยูบีซี (UBC) สามารถมีโฆษณาในเคเบิลทีวีได้ ตลอดจนการแก้ไขส่วนแบ่งรายได้ของบริษัท โทรคมนาคมต่างๆ ซึ่งการแก้ไขเหล่านี้ ค่าต้นทุนและการแบ่งรายได้กับภาครัฐลดลง ผลกำไรของบริษัทนั้นเพิ่มขึ้น แต่ถ้ามีการกลับคืนของสัญญาสัมปทาน ราคาหุ้นก็พร้อมจะปรับตัวลงทันที
กรณี ที่ 5 : การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นรายใหม่หรือเป็นมืออาชีพ (Strategic Partner) เช่น ในกรณีที่ บมจ.แมกเนคคอมพ์ พรีซิชั่น (Magnecomp) เข้าซื้อกิจการ บมจ.เค อาร์ พรีซิชั่น (KRP) เมื่อปลายปี 2547 ในอดีต KRP ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์แขนจับหัวอ่าน ในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ขาดทุนมาตลอด 5-6 ปีที่ผ่านมา และต้องมีการเพิ่มทุนอยู่เสมอ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และ KRP ไม่สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้
เมื่อแมกเนคคอมพ์ซึ่งเป็นบริษัท ที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้เข้าซื้อกิจการของ KRP โดยการออกหุ้น ทำการแลกหุ้น (swap) และเอาโรงงานของแมกเนคคอมพ์ในสิงคโปร์มา ภายในไตรมาสแรกหลังเข้าซื้อกิจการ บริษัท KRP และแมกเนคคอมพ์มีผลการประกอบการที่ดีขึ้น นอกจากนี้ราคาที่แลกหุ้นกัน ทำให้เกิดค่าความนิยม (Good Will) น้อยมาก ทำให้บริษัทแมกเนคคอมพ์ไม่ต้องมีการคิดค่าใช้จ่ายทางด้านความนิยมด้วย หรือในกรณี บมจ.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทย (TPI) ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) ซึ่งบมจ. ปตท. (PTT) และ “พันธมิตร” ได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนในราคาหุ้นละ 3.30 บาท นักลงทุนก็มีความเชื่อว่า หลังจากที่ บมจ.ปตท เข้ามาบริหารงานใน IRPC อาจจะทำให้มูลค่าหุ้นของ IRPC เพิ่มขึ้นกว่ามูลค่าทางบัญชีได้
กรณี ที่ 6 : หุ้นที่ได้รับความสนใจภายใต้สภาพเศรษฐกิจภาวะใดภาวะหนึ่ง ในปกติสภาวะเศรษฐกิจจะมีทั้งเงินเฟ้อและเงินฝืด ในสภาวะใดสภาวะหนึ่งของเศรษฐกิจ อาจก่อให้เกิดกระแสเกี่ยวกับการลงทุน (Investment Theme) เกิดขึ้น
เช่น ในภาวะเงินฝืด (Deflation) ซึ่งเป็นสภาวะที่ปริมาณสินค้ามีมากกว่าความต้องการ (Over Capacity) ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขยายตัวลดลง กำลังซื้อหดอย่างฉับพลัน ผู้บริโภคชะลอการซื้อ ทำให้สินค้าหลายอย่างขายไม่ได้ กระแสการลงทุนในช่วงนี้จะเน้นไปสู่หุ้นกลุ่มที่มีอำนาจผูกขาด (Monopoly) หรือมีอำนาจเหนือผู้บริโภค เช่น หุ้นกลุ่มพลังงาน ผู้บริโภคจำเป็นต้องใช้พลังงาน ทำให้หุ้นกลุ่มพลังงานขนาดใหญ่บางบริษัทมีอำนาจในการผูกขาดหรือเกือบผูกขาด เป็นระยะเวลานาน อำนาจกึ่งผูกขาดนี้อาจมาจากสิทธิมอบให้จากภาครัฐ หรือความที่บริษัทนั้นมีส่วนแบ่งตลาดมหาศาลจนสามารถกำหนดราคาได้ หรือเป็นบริษัทที่กระแสเงินสดแข็งแกร่ง จนกระทั่งการขยายตลาดในอนาคตนำไปสู่การผูกขาดในระยะยาว (Life-long Monopoly) เงินจะไหลไปสู่การลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้และจะทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ
กรณี ที่ 7 : การเป็นบริษัทหายาก (Scarcity) โดยลักษณะผลิตภัณฑ์หรือรายได้ของบริษัทเหล่านี้ต้องไม่เหมือนใครในท้องตลาด (มี Unique and Scarcity) จะมีอุปสงค์ (Demand) สูงทำให้นักลงทุนยินดีที่จะจ่ายราคาแพง (Premiums) เพื่อซื้อหุ้นกลุ่มนี้
P/E Ratio ของหุ้นกลุ่มนี้จะไม่ต่ำ และจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตราบเท่าที่นักลงทุนให้ Premium กับหุ้นกลุ่มนี้ เช่น หุ้นในกลุ่มพลังงานตัวหนึ่ง ทำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถซื้อขายที่ PE สูงถึง 20-30 เท่าได้ ตราบเท่าที่บริษัทจะมีผลกำไรเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ถ้าผลกำไรเติบโตลดลง หุ้นก็มีโอกาสปรับตัวลงได้อย่างมาก
กรณีที่ 8 : หุ้นที่ได้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้และธุรกิจ จนสามารถพลิกฟื้นสถานการณ์จากการล้มละลาย (Bankruptcy and Distress) จะสังเกตได้ว่าก่อนวิกฤติทางการเงินปี 2540 บริษัทจดทะเบียนหลายแห่งได้ลงทุนในธุรกิจต่างๆ นอกเหนือจากธุรกิจที่ตัวเองทำและถนัดอยู่ โดยมีความคิดว่าการกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ (Diversified) ถือว่าเป็นบริษัทที่มีวิสัยทัศน์ไกล (High Vision) และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นได้ โดยที่ตัวเองไม่มีความชำนาญ
การ ลงทุนส่วนใหญ่จะเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเป็นผู้ถือร่วมในลักษณะการร่วมทุน (Joint Ventures) ในอัตราส่วน 20-25 เปอร์เซ็นต์ โดยหวังจะได้ผลกำไร (Equity Accounting) มาช่วยผลกำไรบริษัทแม่ โดยมิได้สนใจว่าบริษัทร่วมทุนนั้นจะมีเงินปันผลหรือไม่ เพื่อต้องการให้กำไรต่อหุ้นของบริษัทแม่ดูดี เพื่อจะได้ P/E ที่ต่ำ หรืออาจจะจัดตั้งในรูปแบบบริษัท Holding Company ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งในขณะนี้ใช้โครงสร้างแบบนี้ เพื่อกระจายความเสี่ยงของรายได้
บริษัทก่อสร้างใหญ่ๆ ก็มักทำโครงสร้างแบบร่วมทุนโครงการต่างๆเพื่อการประมูลงาน หรือเข้าไปถือในบริษัทซัพพลายเออร์ โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่มักเป็นเงินกู้ เมื่อเศรษฐกิจถดถอย กระแสเงินสดในบริษัทร่วมทุนเหล่านี้ไม่สามารถที่จะชำระดอกเบี้ยเงินกู้ของ บริษัทแม่ที่ยืมมาร่วมทุนได้ ทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้ มีการลดเงินต้นและลดดอกเบี้ย (Hair cut) ทำให้มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นเพิ่มสูงขึ้น และมีการขายทรัพย์สินที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลัก (Non-core Assets) เช่น บริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สุดของไทย ซึ่งแน่นอนว่าราคาหุ้นของบริษัทนั้นจะทรุดหนัก แต่นักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสูงเป็นพิเศษ ต้องหาจังหวะลงทุนในช่วง “ราคาที่ถูกทุบลงมา” (Distress) โดยที่เราต้องศึกษาและมั่นใจว่า บริษัทนั้นต้องไม่ถูก “ลดทุน” หรือถูก Written off ในส่วนของทุนจดทะเบียนจนหมด ผมเคยแนะนำให้ “เฮดจ์ฟันด์” ลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ ผลตอบแทน 14 เท่า ในรอบ 2 ปี
กรณีที่ 9 : การนำบริษัทลูก (Subsidiary) หรือบริษัทร่วม (Associates) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะเพิ่มมูลค่าให้บริษัทแม่ เพราะบริษัทแม่สามารถมี “กำไรที่ยังไม่รับรู้” (Unrealized Gains) เนื่องจากเป็นมูลค่าซ่อนเร้น ทำให้มูลค่าสินทรัพย์ของบริษัทแม่เพิ่มขึ้น ถ้ามูลค่าของบริษัทลูกหรือบริษัทร่วมอยู่ในงบดุลของบริษัทแม่ มูลค่าเหล่านั้นจะถูกบันทึกเป็นมูลค่าทางบัญชีเท่านั้น แต่ถ้าบริษัทลูกและบริษัทร่วมนั้นถูกจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มูลค่านั้นจะเป็น “มูลค่าตลาดทันที” (Market value) ซึ่งโดยเฉลี่ยจะมีมูลค่าประมาณ 2-3 เท่าของมูลค่าทางบัญชี
บริษัทจด ทะเบียนหลายบริษัทที่ได้ใช้กลยุทธ์ดังกล่าว เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถค้นหาได้ว่า บริษัทไหนมีมูลค่าซ่อนเร้นอยู่โดยการเปลี่ยนจากมูลค่าทางบัญชีเป็นมูลค่า ตลาด เราก็ลงทุนหุ้นตัวนั้นล่วงหน้าก่อน ก่อนที่คนทั่วไปจะค้นพบ
กรณี ที่ 10 : บริษัทที่มีโครงสร้างทางการเงินหรือธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อการควบรวม กิจการ (Merger and Acquisitions) การควบรวมกิจการจะเกิดขึ้นได้ ถ้าบริษัทที่ต้องการซื้อ (Acquirers) เห็นประโยชน์ที่ “ซ่อนเร้น” (Hidden) หรือไม่ซ่อนเร้นในกิจการที่บริษัทกำลังถูกซื้อหรือ “ควบรวมกิจการ” (Takeover Target) ทำให้เกิดการเก็งกำไรได้ บริษัทที่มีโอกาสถูกควบรวมกิจการ มักมีลักษณะ
ก.เป็นบริษัทที่มี สินทรัพย์ (Assets) , ที่ดิน (Land Bank) หรือใบอนุญาต (Licenses) ที่ซ่อนอยู่มหาศาล จนกระทั่งมูลค่าของสินทรัพย์เหล่านั้น มีมูลค่ามากกว่ามูลค่าหุ้นทั้งหมดของบริษัท (Market Capitalization) หรือมากกว่ามูลค่ากิจการทั้งหมดของบริษัท (Enterprise Value) อย่าลืมว่า Enterprise Value จะมีค่าเท่ากับมูลค่า หนี้สินสุทธิ + มูลค่าหุ้นทั้งหมดของบริษัท ซึ่งโดยปกติมูลค่า Enterprise value จะมีค่ามากกว่ามาร์เก็ตแคปเสมอ ยกเว้นในกรณีที่บริษัทนั้นเป็นบริษัทที่ไม่มีหนี้หรือมีเงินสดในมือ
ข.บริษัทที่ขาดทุนสะสมมากจนสามารถนำ “ขาดทุนสะสม” (Loss Carried Foreword) มาใช้ในการหักภาษีได้
ค.มี เงินสดในมือมากกว่ามาร์เก็ตแคป จะเห็นว่า บางช่วงขณะ ราคาหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์บางบริษัทได้ตกลงมามาก จนกระทั่งมูลค่าเงินสดในงบดุลมากกว่ามาร์เก็ตแคปเสียอีก ทำให้เป็นโอกาสในการถูกซื้อกิจการเพื่อเอาเงินสดในบริษัทได้
ง.การ ควบรวมกิจการในลักษณะแนวดิ่ง (Vertical Integration) ซึ่งสามารถทำได้ทั้งทางขึ้นหรือต้นน้ำ (Upward) และทางลงหรือปลายน้ำ (Downward) เช่น บมจ.ปิโตรเคมีแห่งชาติ หรือ NPC มีความพยายามที่จะ ขยายกิจการไปทางปลายน้ำ เพื่อลดความผันผวนของกำไรและราคาผลิตภัณฑ์ที่บริษัทผลิตอยู่ หรือกรณีกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดโอกาสให้ทำธนาคารเต็มรูปแบบ (Universal Banking) ทำให้ธนาคารขนาดใหญ่เหล่านี้ต้องการต่อยอดธุรกิจสินเชื่อประเภทเช่าซื้อ หรือ Leasing ที่ตัวเองยังไม่มีความถนัด กลุ่มบริษัท Leasing หรือสถาบันการเงินที่จะเป็นเป้าหมายในการควบรวมกิจการของธนาคารพาณิชย์ บริษัทที่ถูกเข้าซื้อจะมีลักษณะทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงในอัตราส่วนที่สูงหรือ กองทุนขั้น 1 เช่น ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ โดยปกติ สถาบันการเงินถ้ามีทุน 10 บาท สามารถขยายสินเชื่อได้ 10-12 เท่า หรือ 100 บาท หรือ 120 บาท ถ้ามี “อัตราส่วนกองทุนขั้นที่หนึ่งสูง” หมายความว่า สถาบันการเงินนั้นสามารถขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องเพิ่มทุน
นอก จากนี้การควบรวมอาจจะควบรวมกิจการทางแนวราบ (Horizontal Integration) เพื่อลดจำนวนคู่แข่งหรือสกัดดาวรุ่งก็ได้ เช่น การควบรวมกิจการระหว่างเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป (MAJOR) กับ อีจีวี (EGV) แต่การควบรวมกิจการแบบนี้อาจก่อให้เกิดค่า “กู๊ดวิลล์” (Good will หรือส่วนต่างระหว่างราคาซื้อขายกับ มูลค่าทางบัญชี) และจะทำให้บริษัทที่เป็นบริษัทแม่ (Acquirers) มีกำไรที่ลดลงจากการตัดค่าใช้จ่ายทางกู๊ดวิลล์ ได้ แต่ถ้าการควบรวมกิจการเป็นไปในลักษณะการเกิดบริษัทใหม่ หรือ Amalgamation เช่นกรณี บมจ.ปิโตรเคมี แห่งชาติ (NP) กับ บมจ.ไทยโอเลฟินส์ (TOC) การรวมลักษณะนี้ทำให้ บมจ.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สามารถมีสิทธิในการออกเสียงได้ ตลอดจนนำไปสู่การลดสัดส่วนการถือหุ้นของ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น บมจ.ไทยโอเลฟินส์ ได้
เหมือนสมัยหนึ่งนาน มาแล้ว บริษัทเคเบิลทีวี 2 แห่งในประเทศไทย เช่น ยูทีวี กับ ไอบีซี รวมกันเกิดบริษัท ใหม่เป็น “ยูบีซี” แต่ถ้าการควบรวมแบบซื้อกิจการเลยเหมือนในกรณีเมเจอร์ ผู้ถือรายใหญ่จะไม่มีสิทธิในการออก เสียง
กรณีที่ 11 : การเพิ่มทุนแต่กลับทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นและทำให้หุ้นปรับตัวขึ้น เช่น กรณีบมจ.อาปิโก ไฮเทค (AH) ที่มีการเพิ่มทุนในปี 2546 และการเพิ่มทุนนี้ทำให้ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Assets) หลังเพิ่มทุนสูงขึ้น
กรณีที่ 12 : การที่บริษัทสามารถเริ่มจ่ายเงินปันผลให้เป็นครั้งแรก (Dividend Signaling) ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม ราคาหุ้นจะตอบสนองในทางบวกทันที เช่น บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น (SHIN) เริ่มจ่ายปันผลในปี 2546 หลังจากเป็น Holding company ที่ไม่จ่ายปันผลเสียนาน ราคาหุ้น SHIN ก็เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อมา
กรณีที่ 13 : การที่ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าสร้างใหม่ (Replacement Cost) มาก ซึ่งจะทำให้หุ้นของบริษัทนั้นมีการปรับตัวขึ้นมาก เช่น HMPRO (เมื่อกลางปี 2547) TPI (เมื่อกลางปี 2547 เช่นกัน) รายละเอียดในเรื่องนี้ ผมจะขยายความต่อไป เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะเราสามารถหาหุ้นที่มีโอกาสปรับตัวขึ้นสูงเป็น ร้อยเปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ราคายังต่ำอยู่
ส่วนหนึ่งจากหนังสือ Money Game โดย วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล
นัก ลงทุนทุกคนต่างต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติ (Abnormal Returns) จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหมั่นศึกษาถึงงบการเงิน งบกระแสเงินสด ภาวะอุตสาหกรรม ความคิดของนักลงทุนสถาบันของหุ้นตัวนั้น เพื่อหาปัจจัยบวก (Drivers) ในการผลักดันราคาหุ้นว่าจะปรับตัวขึ้นเมื่อไรและอย่างไร
Drivers ต่างๆเหล่านี้ จะมาพร้อมกับการปรับมุมมองของการลงทุนให้ดีขึ้น (Upgrade) นำไปสู่การเปลี่ยนคำแนะนำในที่สุด เช่น จากคำแนะนำเดิมจาก “ถือ” (Hold) เป็น “ซื้อ” (Buy) หรือจาก “ซื้อ” เป็น “ซื้ออย่างเต็มที่” (Strong Buy) แต่ Drivers ต่างๆเหล่านี้ จะต้องเป็นสิ่งที่ตลาดไม่ได้คาดหมาย
ถ้า นักลงทุนสามารถคาดการณ์เหตุการณ์เหล่านี้ได้อย่างแม่นยำ นักลงทุนท่านนั้นก็สามารถมีผลตอบแทนสูงกว่าปกติได้ (Buy before market expectations) เนื่องจากในตอนที่หุ้นตัวนั้นราคาถูกๆ นักลงทุนส่วนใหญ่ยังไม่มีหุ้นนั้นในพอร์ต จะเป็นสภาพ Under-owned Stocks เมื่อมีข่าวดีแบบไม่ได้คาดหมาย (Unexpected Good News) นักลงทุนจะรุมซื้อ และทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นในที่สุด
ในทางกลับกัน ถ้านักลงทุนได้คาดการณ์เหตุการณ์นั้นแล้ว ซื้อหุ้นเข้าพอร์ตแล้ว หุ้นตัวนั้นจะกลายเป็น สภาพ “Over-owned” คือสภาพที่ทุกคนมีหุ้นตัวนั้นอยู่ในพอร์ต เมื่อข่าวดีออกมา จะถูกเทขายทำกำไรทันที กลายเป็นสภาพ Buy on expectations and sell on facts
ผม ได้รวบรวมเหตุการณ์ 13 เหตุการณ์ (จริงๆมีมากกว่านี้มาก) ที่จะเป็นตัวผลักดัน หรือทำให้หุ้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นในขณะที่ราคายังต่ำอยู่
กรณีที่ 1 : ผลการดำเนินงาน “มากกว่า” คาดหมาย (Results beat market expectations) เช่น หุ้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีตัวหนึ่ง นักวิเคราะห์และนักลงทุนได้คาดการณ์ว่า ผลกำไรในไตรมาส 1 ของปี 2548 ได้กำไรกว่า 2,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 250 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกันกับไตรมาสเดียวกันนี้แล้ว ซึ่งเป็นผลการเติบโตของกำไรอย่างมหาศาล แต่เมื่อบริษัทได้ประกาศผลการดำเนินงานแล้ว ก็เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาด
แต่ ราคาหุ้นตัวนั้นกลับถูกแรงเทขายทำกำไร แสดงว่าการคาดการณ์ผลการประกอบการที่ดีนั้นได้ถูกคาดการณ์และนักลงทุนได้ ซื้อหุ้น (Build Position) ไว้แล้ว นักลงทุนกลับมุ่งความสนใจไปในผลการดำเนินงานในไตรมาสถัดไปทันที (Forward Expectation) แต่ในทางกลับกัน ถ้าผลกำไรของบริษัทได้เพิ่มเป็น 4,000 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้มาก หุ้นบริษัทปิโตรเคมีตัวนั้นจะตอบสนองในทางบวกทันที เนื่องจากบรรดานักวิเคราะห์ จะพากันพาเหรดกันปรับผลกำไรขึ้นทันที (Upgrade and Re-rate)
กรณีที่ 2 : งบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานหลังหักงบลงทุน (Free Cash Flow) เป็นบวกในไตรมาสแรกหลังจากติดลบมานาน ผมได้ศึกษาเรื่องนี้มา 15 บริษัท พบสิ่งที่น่าสนใจว่า บริษัทใดก็ตามที่มี Free Cash Flow หรืองบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานหลังหักงบลงทุนเป็นบวกในไตรมาสแรก หลังจากติดลบมาหลายๆ ปี ราคาหุ้นตัวนั้นจะมีการตอบสนองเป็นบวก และบวกมากๆด้วย
การที่ Free Cash Flow เป็นบวก สะท้อนให้เห็นถึงธุรกิจกำลังฟื้นตัว (Turn Around) เนื่องจากบริษัทได้ผ่านขั้นตอนการลงทุนไปแล้ว และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวดอกผลจากการลงทุนนั้น กระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่เหลือจากการลงทุน สามารถคืนหนี้ได้เร็วขึ้น และจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นเร็วขึ้น แต่ถ้า Free Cash Flow ยังคง “ติดลบ” หมายความว่า บริษัทต้องกู้เงินเพิ่ม หรืออาจต้องรบกวนกระเป๋าเงินผู้ถือหุ้นเพิ่มโดยการเพิ่มทุน
เช่นในปี 2546 Free Cash Flow ของ บมจ.สามารถ คอร์ปอเรชั่น (SAMART) เป็นบวกครั้งแรกในไตรมาส 3 ในรอบหลายปี ประกอบกับบริษัทได้ประสบความสำเร็จ ในการปรับโครงสร้างหนี้ด้วย หนี้ได้ลดลงอย่างมหาศาลในปีนั้น ทำให้ราคาหุ้นของ SAMART ได้ทะยานขึ้นราว 4-5 เท่า ในระยะ เวลา 1 ปี
กรณี ที่ 3 : การเปลี่ยนแปลงภาวะอุตสาหกรรม หุ้นจะเป็นไปตามวัฏจักรของอุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply) ซึ่งจะมีผลต่ออำนาจการต่อรอง (Pricing Power) ของผู้ซื้อและผู้ขาย และกระทบต่อกำไร (Margins) ของผู้ขาย
เช่นเมื่อปี 2539 ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ในประเทศไทย มีจำนวนผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Property Development) จำนวนมากกว่า 2,000 ราย แต่เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ จำนวนผู้ประกอบการกลับลดลงเหลือแค่ 100-200 ราย ในขณะที่ความต้องการบ้านถึงแม้จะลดลงแต่การลดลงยังน้อยกว่าจำนวนผู้ประกอบ การ ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่ ซึ่งแน่นอนต้องเป็นผู้แข็งแกร่งเท่านั้นที่อยู่รอด สามารถกำหนดราคาขายได้
ใน ช่วงปี 2542-2547 เป็นยุคทองของผู้แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ เช่น บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH) ในกรณีที่ผู้ขายรายอื่นล้มหายตายไป หรืออยู่ในระหว่างปรับโครงสร้างหนี้ LH กลับสามารถทำกำไรขั้นต้น (Gross Margins) โตถึง 40-45 เปอร์เซ็นต์ แทบจะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของวงการสังหาริมทรัพย์
ลักษณะวัฏจักร อุตสาหกรรมแบบนี้เรียกว่า “Oligopoly Business” (อุตสาหกรรมที่มีผู้ประกอบการน้อยราย แต่ผู้ประกอบการสามารถตั้งราคาขายที่มีกำไรสูงได้) ซึ่งอำนาจในการกำหนดราคา (Pricing Power) จะอยู่ที่ผู้ขาย หุ้นของบริษัทในอุตสาหกรรมจะปรับตัวขึ้นอย่างมาก เช่น ราคาหุ้น LH ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 20 บาท (Par 10 บาท) มาเป็น 14 บาท (Par 1 บาท) เนื่องจากกำไรจะพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เมื่อไรก็ตามที่กำไรมากก็ต้องดึงดูดจำนวนผู้ประกอบการเข้ามามากขึ้น รวมทั้งผู้ประกอบการรายเก่าที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้สินมา มีการลดเงินต้นและลดดอกเบี้ยมากมาย ทำให้ต้นทุนของบริษัทเหล่านี้ถูกลง
สิ่ง ที่เกิดขึ้นคือ มีผู้ประกอบการหน้าใหม่และหน้าเก่าเกิดขึ้นแทบจะทุกวันในปี 2546 ถึง 2547 วัฏจักรอุตสาหกรรมเปลี่ยนทันทีจาก Oligopoly เป็นการแข่งขันกันอย่างค่อนข้างดุเดือด (Perfect Competition) ราคาหุ้นของบริษัทในกลุ่มนี้ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว
เช่นเดียวกับ อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมัน โรงกลั่นโรงสุดท้ายที่สร้างขึ้นในประเทศไทย ซึ่งสร้างเมื่อปี 2538-2539 จากนั้นเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ โรงกลั่นไม่ว่าจะดีอย่างไรก็ขาดทุนมหาศาล ไม่ว่าจะเป็น บมจ.ไทยออยล์ (THAI OIL), บมจ.สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (STAR Refinery) เนื่องจากหนี้เพิ่มขึ้นและความต้องการลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นอุตสาหกรรมที่นักลงทุนหลบเลี่ยงในช่วงนั้น ราคาหนี้ของโรงกลั่นเหล่านี้ถูกเทขายในราคา 25 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าตลาด (ราคาได้ตกต่ำกว่าราคาหนี้มาก) จากนั้นใช้เวลาประมาณเกือบ 8-9 ปี ทำให้กลุ่มโรงกลั่นถึงมีกำไรมากๆถึงปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท ธนาคารที่ซื้อหนี้ของไทยออยล์ ที่ราคา 25-30 เปอร์เซ็นต์ ของราคาหน้าตั๋ว แล้วแปลงหนี้เป็นทุนสามารถทำกำไรมหาศาล
กรณีที่ 4 : การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์หรือแก้ไขสัญญาสัมปทาน เช่น ในกรณี บมจ.ไอทีวี (ITV) เมื่อปี 2547 ที่ได้รับการลดค่าสัมปทานจากที่ต้องจ่ายปีละกว่า 1,000 ล้านบาท มาเป็นจ่ายปีละ 200-300 ล้านบาท หรือการที่บริษัทยูบีซี (UBC) สามารถมีโฆษณาในเคเบิลทีวีได้ ตลอดจนการแก้ไขส่วนแบ่งรายได้ของบริษัท โทรคมนาคมต่างๆ ซึ่งการแก้ไขเหล่านี้ ค่าต้นทุนและการแบ่งรายได้กับภาครัฐลดลง ผลกำไรของบริษัทนั้นเพิ่มขึ้น แต่ถ้ามีการกลับคืนของสัญญาสัมปทาน ราคาหุ้นก็พร้อมจะปรับตัวลงทันที
กรณี ที่ 5 : การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นรายใหม่หรือเป็นมืออาชีพ (Strategic Partner) เช่น ในกรณีที่ บมจ.แมกเนคคอมพ์ พรีซิชั่น (Magnecomp) เข้าซื้อกิจการ บมจ.เค อาร์ พรีซิชั่น (KRP) เมื่อปลายปี 2547 ในอดีต KRP ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์แขนจับหัวอ่าน ในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ขาดทุนมาตลอด 5-6 ปีที่ผ่านมา และต้องมีการเพิ่มทุนอยู่เสมอ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และ KRP ไม่สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้
เมื่อแมกเนคคอมพ์ซึ่งเป็นบริษัท ที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้เข้าซื้อกิจการของ KRP โดยการออกหุ้น ทำการแลกหุ้น (swap) และเอาโรงงานของแมกเนคคอมพ์ในสิงคโปร์มา ภายในไตรมาสแรกหลังเข้าซื้อกิจการ บริษัท KRP และแมกเนคคอมพ์มีผลการประกอบการที่ดีขึ้น นอกจากนี้ราคาที่แลกหุ้นกัน ทำให้เกิดค่าความนิยม (Good Will) น้อยมาก ทำให้บริษัทแมกเนคคอมพ์ไม่ต้องมีการคิดค่าใช้จ่ายทางด้านความนิยมด้วย หรือในกรณี บมจ.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทย (TPI) ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) ซึ่งบมจ. ปตท. (PTT) และ “พันธมิตร” ได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนในราคาหุ้นละ 3.30 บาท นักลงทุนก็มีความเชื่อว่า หลังจากที่ บมจ.ปตท เข้ามาบริหารงานใน IRPC อาจจะทำให้มูลค่าหุ้นของ IRPC เพิ่มขึ้นกว่ามูลค่าทางบัญชีได้
กรณี ที่ 6 : หุ้นที่ได้รับความสนใจภายใต้สภาพเศรษฐกิจภาวะใดภาวะหนึ่ง ในปกติสภาวะเศรษฐกิจจะมีทั้งเงินเฟ้อและเงินฝืด ในสภาวะใดสภาวะหนึ่งของเศรษฐกิจ อาจก่อให้เกิดกระแสเกี่ยวกับการลงทุน (Investment Theme) เกิดขึ้น
เช่น ในภาวะเงินฝืด (Deflation) ซึ่งเป็นสภาวะที่ปริมาณสินค้ามีมากกว่าความต้องการ (Over Capacity) ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขยายตัวลดลง กำลังซื้อหดอย่างฉับพลัน ผู้บริโภคชะลอการซื้อ ทำให้สินค้าหลายอย่างขายไม่ได้ กระแสการลงทุนในช่วงนี้จะเน้นไปสู่หุ้นกลุ่มที่มีอำนาจผูกขาด (Monopoly) หรือมีอำนาจเหนือผู้บริโภค เช่น หุ้นกลุ่มพลังงาน ผู้บริโภคจำเป็นต้องใช้พลังงาน ทำให้หุ้นกลุ่มพลังงานขนาดใหญ่บางบริษัทมีอำนาจในการผูกขาดหรือเกือบผูกขาด เป็นระยะเวลานาน อำนาจกึ่งผูกขาดนี้อาจมาจากสิทธิมอบให้จากภาครัฐ หรือความที่บริษัทนั้นมีส่วนแบ่งตลาดมหาศาลจนสามารถกำหนดราคาได้ หรือเป็นบริษัทที่กระแสเงินสดแข็งแกร่ง จนกระทั่งการขยายตลาดในอนาคตนำไปสู่การผูกขาดในระยะยาว (Life-long Monopoly) เงินจะไหลไปสู่การลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้และจะทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ
กรณี ที่ 7 : การเป็นบริษัทหายาก (Scarcity) โดยลักษณะผลิตภัณฑ์หรือรายได้ของบริษัทเหล่านี้ต้องไม่เหมือนใครในท้องตลาด (มี Unique and Scarcity) จะมีอุปสงค์ (Demand) สูงทำให้นักลงทุนยินดีที่จะจ่ายราคาแพง (Premiums) เพื่อซื้อหุ้นกลุ่มนี้
P/E Ratio ของหุ้นกลุ่มนี้จะไม่ต่ำ และจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตราบเท่าที่นักลงทุนให้ Premium กับหุ้นกลุ่มนี้ เช่น หุ้นในกลุ่มพลังงานตัวหนึ่ง ทำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถซื้อขายที่ PE สูงถึง 20-30 เท่าได้ ตราบเท่าที่บริษัทจะมีผลกำไรเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ถ้าผลกำไรเติบโตลดลง หุ้นก็มีโอกาสปรับตัวลงได้อย่างมาก
กรณีที่ 8 : หุ้นที่ได้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้และธุรกิจ จนสามารถพลิกฟื้นสถานการณ์จากการล้มละลาย (Bankruptcy and Distress) จะสังเกตได้ว่าก่อนวิกฤติทางการเงินปี 2540 บริษัทจดทะเบียนหลายแห่งได้ลงทุนในธุรกิจต่างๆ นอกเหนือจากธุรกิจที่ตัวเองทำและถนัดอยู่ โดยมีความคิดว่าการกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ (Diversified) ถือว่าเป็นบริษัทที่มีวิสัยทัศน์ไกล (High Vision) และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นได้ โดยที่ตัวเองไม่มีความชำนาญ
การ ลงทุนส่วนใหญ่จะเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเป็นผู้ถือร่วมในลักษณะการร่วมทุน (Joint Ventures) ในอัตราส่วน 20-25 เปอร์เซ็นต์ โดยหวังจะได้ผลกำไร (Equity Accounting) มาช่วยผลกำไรบริษัทแม่ โดยมิได้สนใจว่าบริษัทร่วมทุนนั้นจะมีเงินปันผลหรือไม่ เพื่อต้องการให้กำไรต่อหุ้นของบริษัทแม่ดูดี เพื่อจะได้ P/E ที่ต่ำ หรืออาจจะจัดตั้งในรูปแบบบริษัท Holding Company ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งในขณะนี้ใช้โครงสร้างแบบนี้ เพื่อกระจายความเสี่ยงของรายได้
บริษัทก่อสร้างใหญ่ๆ ก็มักทำโครงสร้างแบบร่วมทุนโครงการต่างๆเพื่อการประมูลงาน หรือเข้าไปถือในบริษัทซัพพลายเออร์ โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่มักเป็นเงินกู้ เมื่อเศรษฐกิจถดถอย กระแสเงินสดในบริษัทร่วมทุนเหล่านี้ไม่สามารถที่จะชำระดอกเบี้ยเงินกู้ของ บริษัทแม่ที่ยืมมาร่วมทุนได้ ทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้ มีการลดเงินต้นและลดดอกเบี้ย (Hair cut) ทำให้มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นเพิ่มสูงขึ้น และมีการขายทรัพย์สินที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลัก (Non-core Assets) เช่น บริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สุดของไทย ซึ่งแน่นอนว่าราคาหุ้นของบริษัทนั้นจะทรุดหนัก แต่นักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสูงเป็นพิเศษ ต้องหาจังหวะลงทุนในช่วง “ราคาที่ถูกทุบลงมา” (Distress) โดยที่เราต้องศึกษาและมั่นใจว่า บริษัทนั้นต้องไม่ถูก “ลดทุน” หรือถูก Written off ในส่วนของทุนจดทะเบียนจนหมด ผมเคยแนะนำให้ “เฮดจ์ฟันด์” ลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ ผลตอบแทน 14 เท่า ในรอบ 2 ปี
กรณีที่ 9 : การนำบริษัทลูก (Subsidiary) หรือบริษัทร่วม (Associates) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะเพิ่มมูลค่าให้บริษัทแม่ เพราะบริษัทแม่สามารถมี “กำไรที่ยังไม่รับรู้” (Unrealized Gains) เนื่องจากเป็นมูลค่าซ่อนเร้น ทำให้มูลค่าสินทรัพย์ของบริษัทแม่เพิ่มขึ้น ถ้ามูลค่าของบริษัทลูกหรือบริษัทร่วมอยู่ในงบดุลของบริษัทแม่ มูลค่าเหล่านั้นจะถูกบันทึกเป็นมูลค่าทางบัญชีเท่านั้น แต่ถ้าบริษัทลูกและบริษัทร่วมนั้นถูกจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มูลค่านั้นจะเป็น “มูลค่าตลาดทันที” (Market value) ซึ่งโดยเฉลี่ยจะมีมูลค่าประมาณ 2-3 เท่าของมูลค่าทางบัญชี
บริษัทจด ทะเบียนหลายบริษัทที่ได้ใช้กลยุทธ์ดังกล่าว เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถค้นหาได้ว่า บริษัทไหนมีมูลค่าซ่อนเร้นอยู่โดยการเปลี่ยนจากมูลค่าทางบัญชีเป็นมูลค่า ตลาด เราก็ลงทุนหุ้นตัวนั้นล่วงหน้าก่อน ก่อนที่คนทั่วไปจะค้นพบ
กรณี ที่ 10 : บริษัทที่มีโครงสร้างทางการเงินหรือธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อการควบรวม กิจการ (Merger and Acquisitions) การควบรวมกิจการจะเกิดขึ้นได้ ถ้าบริษัทที่ต้องการซื้อ (Acquirers) เห็นประโยชน์ที่ “ซ่อนเร้น” (Hidden) หรือไม่ซ่อนเร้นในกิจการที่บริษัทกำลังถูกซื้อหรือ “ควบรวมกิจการ” (Takeover Target) ทำให้เกิดการเก็งกำไรได้ บริษัทที่มีโอกาสถูกควบรวมกิจการ มักมีลักษณะ
ก.เป็นบริษัทที่มี สินทรัพย์ (Assets) , ที่ดิน (Land Bank) หรือใบอนุญาต (Licenses) ที่ซ่อนอยู่มหาศาล จนกระทั่งมูลค่าของสินทรัพย์เหล่านั้น มีมูลค่ามากกว่ามูลค่าหุ้นทั้งหมดของบริษัท (Market Capitalization) หรือมากกว่ามูลค่ากิจการทั้งหมดของบริษัท (Enterprise Value) อย่าลืมว่า Enterprise Value จะมีค่าเท่ากับมูลค่า หนี้สินสุทธิ + มูลค่าหุ้นทั้งหมดของบริษัท ซึ่งโดยปกติมูลค่า Enterprise value จะมีค่ามากกว่ามาร์เก็ตแคปเสมอ ยกเว้นในกรณีที่บริษัทนั้นเป็นบริษัทที่ไม่มีหนี้หรือมีเงินสดในมือ
ข.บริษัทที่ขาดทุนสะสมมากจนสามารถนำ “ขาดทุนสะสม” (Loss Carried Foreword) มาใช้ในการหักภาษีได้
ค.มี เงินสดในมือมากกว่ามาร์เก็ตแคป จะเห็นว่า บางช่วงขณะ ราคาหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์บางบริษัทได้ตกลงมามาก จนกระทั่งมูลค่าเงินสดในงบดุลมากกว่ามาร์เก็ตแคปเสียอีก ทำให้เป็นโอกาสในการถูกซื้อกิจการเพื่อเอาเงินสดในบริษัทได้
ง.การ ควบรวมกิจการในลักษณะแนวดิ่ง (Vertical Integration) ซึ่งสามารถทำได้ทั้งทางขึ้นหรือต้นน้ำ (Upward) และทางลงหรือปลายน้ำ (Downward) เช่น บมจ.ปิโตรเคมีแห่งชาติ หรือ NPC มีความพยายามที่จะ ขยายกิจการไปทางปลายน้ำ เพื่อลดความผันผวนของกำไรและราคาผลิตภัณฑ์ที่บริษัทผลิตอยู่ หรือกรณีกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดโอกาสให้ทำธนาคารเต็มรูปแบบ (Universal Banking) ทำให้ธนาคารขนาดใหญ่เหล่านี้ต้องการต่อยอดธุรกิจสินเชื่อประเภทเช่าซื้อ หรือ Leasing ที่ตัวเองยังไม่มีความถนัด กลุ่มบริษัท Leasing หรือสถาบันการเงินที่จะเป็นเป้าหมายในการควบรวมกิจการของธนาคารพาณิชย์ บริษัทที่ถูกเข้าซื้อจะมีลักษณะทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงในอัตราส่วนที่สูงหรือ กองทุนขั้น 1 เช่น ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ โดยปกติ สถาบันการเงินถ้ามีทุน 10 บาท สามารถขยายสินเชื่อได้ 10-12 เท่า หรือ 100 บาท หรือ 120 บาท ถ้ามี “อัตราส่วนกองทุนขั้นที่หนึ่งสูง” หมายความว่า สถาบันการเงินนั้นสามารถขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องเพิ่มทุน
นอก จากนี้การควบรวมอาจจะควบรวมกิจการทางแนวราบ (Horizontal Integration) เพื่อลดจำนวนคู่แข่งหรือสกัดดาวรุ่งก็ได้ เช่น การควบรวมกิจการระหว่างเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป (MAJOR) กับ อีจีวี (EGV) แต่การควบรวมกิจการแบบนี้อาจก่อให้เกิดค่า “กู๊ดวิลล์” (Good will หรือส่วนต่างระหว่างราคาซื้อขายกับ มูลค่าทางบัญชี) และจะทำให้บริษัทที่เป็นบริษัทแม่ (Acquirers) มีกำไรที่ลดลงจากการตัดค่าใช้จ่ายทางกู๊ดวิลล์ ได้ แต่ถ้าการควบรวมกิจการเป็นไปในลักษณะการเกิดบริษัทใหม่ หรือ Amalgamation เช่นกรณี บมจ.ปิโตรเคมี แห่งชาติ (NP) กับ บมจ.ไทยโอเลฟินส์ (TOC) การรวมลักษณะนี้ทำให้ บมจ.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สามารถมีสิทธิในการออกเสียงได้ ตลอดจนนำไปสู่การลดสัดส่วนการถือหุ้นของ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น บมจ.ไทยโอเลฟินส์ ได้
เหมือนสมัยหนึ่งนาน มาแล้ว บริษัทเคเบิลทีวี 2 แห่งในประเทศไทย เช่น ยูทีวี กับ ไอบีซี รวมกันเกิดบริษัท ใหม่เป็น “ยูบีซี” แต่ถ้าการควบรวมแบบซื้อกิจการเลยเหมือนในกรณีเมเจอร์ ผู้ถือรายใหญ่จะไม่มีสิทธิในการออก เสียง
กรณีที่ 11 : การเพิ่มทุนแต่กลับทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นและทำให้หุ้นปรับตัวขึ้น เช่น กรณีบมจ.อาปิโก ไฮเทค (AH) ที่มีการเพิ่มทุนในปี 2546 และการเพิ่มทุนนี้ทำให้ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Assets) หลังเพิ่มทุนสูงขึ้น
กรณีที่ 12 : การที่บริษัทสามารถเริ่มจ่ายเงินปันผลให้เป็นครั้งแรก (Dividend Signaling) ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม ราคาหุ้นจะตอบสนองในทางบวกทันที เช่น บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น (SHIN) เริ่มจ่ายปันผลในปี 2546 หลังจากเป็น Holding company ที่ไม่จ่ายปันผลเสียนาน ราคาหุ้น SHIN ก็เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อมา
กรณีที่ 13 : การที่ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าสร้างใหม่ (Replacement Cost) มาก ซึ่งจะทำให้หุ้นของบริษัทนั้นมีการปรับตัวขึ้นมาก เช่น HMPRO (เมื่อกลางปี 2547) TPI (เมื่อกลางปี 2547 เช่นกัน) รายละเอียดในเรื่องนี้ ผมจะขยายความต่อไป เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะเราสามารถหาหุ้นที่มีโอกาสปรับตัวขึ้นสูงเป็น ร้อยเปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ราคายังต่ำอยู่
ส่วนหนึ่งจากหนังสือ Money Game โดย วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล
Wednesday, January 29, 2014
สู้ไม่ถอย
เอา บทความดีๆ มาฝากครับ
_____________________________________
สู้ไม่ถอย
บทเรียนจากประสบการณ์ของสี่นักธุรกิจซึ่งเริ่มต้นจากศูนย์และฝ่าฟันจนสำเร็จ
By โดย ขวัญดวง แซ่เตีย
http://www.readersdigestthailand.co.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%A2
ประวิทย์ จิตนราพงศ์, อายุ 55 ปี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด
ความ สำเร็จสูงสุด: ตลอดชีวิตของการเป็นลูกจ้าง ประวิทย์ จิตนราพงษ์ใฝ่ฝันอยากมีธุรกิจของตัวเอง "ผมเห็นรุ่นพี่ที่จบจากอัสสัมชัญพาณิชย์ด้วยกันเปิดกิจการทำธุรกิจส่วนตัว ผมเลยอยากมีธุรกิจของตัวเองบ้างเพราะไม่ชอบอยู่ภายใต้เงื่อนไขกฎเกณฑ์ที่คน อื่นวางไว้ การทำอาชีพส่วนตัวน่าจะมีอิสรภาพในแง่ของความคิดและการเลือกทางเดินชีวิต มากกว่า" เขากล่าว
เมื่อมีโอกาสในปี 2527 เขาชักชวนเพื่อนๆร่วมหุ้นลงทุนเปิดบริษัทซอฟต์แวร์เล็กๆชื่อบริษัท ดาต้าโปร จำกัด รับจ้างเขียนโปรแกรมให้บริษัททั่วๆไปและจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ด้านคอมพิวเตอร์ หลังล้มลุกคลุกคลานระยะหนึ่งจนมาพบกับซอฟต์แวร์สำเร็จรูปบีพีซีเอส (Business Planning and Control System) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการและควบคุมการผลิตของสหรัฐฯ มีลูกค้าที่เป็นบริษัทสาขามาจากอเมริกาหรือยุโรปที่บริษัทแม่ระบุไว้เลยว่า ให้ใช้ซอฟต์แวร์ตัวนี้เป็นมาตรฐาน
ประวิทย์จึงติดต่อขอเป็นตัวแทน กระทั่งประสบความสำเร็จสูงสุดในธุรกิจไอที ภายใต้กลุ่มบริษัท โปรซอฟท์ จำกัด และ บริษัท โปร-ลายน์ (ประเทศไทย) จำกัด มีฐานลูกค้าเกือบ 200 บริษัท เช่น ยูนิลีเวอร์, 3 เอ็ม, มิตซูบิชิ อีลิเวเตอร์, เบทาโกร, ซูซูกิมอเตอร์ ฯลฯ
จุดต่ำสุดในชีวิต: เนื่องจากธุรกิจไอทีเป็นการดำเนินงานในฐานะตัวแทนซึ่งประวิทย์มองว่าไม่มี ความมั่นคงพอ ต้องมองหาธุรกิจที่สามารถสร้างแบรนด์เป็นของตัวเองได้ จึงเลือกทำร้านอาหาร โดยเบื้องต้นเป็นการซื้อแบรนด์จากต่างประเทศมาบริหารเอง
แต่การเริ่ม ต้นธุรกิจร้านอาหารของประวิทย์ในปี 2536 แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากเมื่อครั้งเริ่มต้นธุรกิจไอที เขาก้าวเข้ามาทำธุรกิจนี้โดยที่ตนเองไม่มีพื้นฐานความรู้ความชำนาญหรือแม้ กระทั่งใจรักในสินค้าที่จะขายเลยด้วยซ้ำ "อย่างเดียวที่ผมมีในเวลานั้นคือความอยากที่จะทำ" ประวิทย์กล่าว
ช่วง สี่ปีแรกของการทำธุรกิจร้านแบล็คแคนยอน การเติบโตไม่ค่อยดีนัก ประวิทย์ต้องประสบปัญหามากมายเนื่องจากเขาไม่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจร้าน อาหารและเครื่องดื่ม ในช่วงนั้น ธุรกิจร้านแบล็คแคนยอนขยายสาขาได้เพียงปีละสามถึงสี่สาขา ซ้ำร้ายยังเผชิญกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้ต้องแบกรับภาระขาดทุนสะสมต่อเนื่อง สถานการณ์ย่ำแย่จนถึงขั้นเกือบล้มเลิกกิจการ
กลยุทธ์ลุกขึ้นสู้ : แต่การหยุดกลางคันย่อมหมายถึงเงินลงทุน 20 ล้านบาทละลายหายไปด้วย ประวิทย์ประเมินสถานการณ์ในช่วงนั้นว่าเกิดจากปัญหาหลักๆสามส่วน นั่นคือ บุคลากร ระบบการทำงาน และการหาพื้นที่ เขาค่อยๆแก้ปัญหาทีละเปลาะไปพร้อมๆกับการแก้ไขสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ด้วยการเร่งขยายการลงทุนในช่วงที่ทุกคนไม่กล้าและหยุดอยู่เฉยๆ เขาฉวยโอกาสช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกู้เงินไปทำสัญญาระยะยาวเช่าพื้นที่ทำเล ดีๆ กระทั่งในที่สุดไม่เพียงผ่านพ้นวิกฤตมาได้ แต่ยังทำให้ขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว "พอคนไม่กล้าลงทุน ทำให้เรามีโอกาสได้พื้นที่ทำเลดีๆในราคาที่เหมาะสม เราไม่ปล่อยโอกาสนี้ไป ตะลุยเปิดสาขาในพื้นที่ต่างๆเยอะมาก" ประวิทย์กล่าว
บทเรียน : "ผู้นำอาจตัดสินใจผิดพลาดได้ แต่ขอให้ส่วนที่ผิดมีน้อยที่สุดและก่อให้เกิดความเสียหายไม่มากนัก เพราะผู้นำที่ตัดสินใจผิดมากกว่าถูกในที่สุดก็จะล้มเหลว"
ปิยะ ธนากิจอำนวย, อายุ 58 ปี, ประธาน กรรมการบริหาร บริษัท รีโน (ประเทศไทย) จำกัด
ความ สำเร็จสูงสุด:ด้วยความถ่อมตนว่าเป็นคนไร้ปริญญา ปิยะทำงานหนักทุกอย่างตามแต่เจ้านายจะสั่งให้ทำ จากจุดเริ่มต้นในตำแหน่งพนักงานขายภายในร้านเสื้อผ้าเล็กๆแห่งหนึ่ง เขาเก็บเกี่ยวประสบการณ์จริงในชีวิตทำงานโดยเรียนรู้และพัฒนาตัวเองจนกลาย เป็นที่ต้องการของคนในวงการเสื้อผ้าแฟชั่น ก่อนจะผันตัวเองมาเป็นเจ้าของแบรนด์ดัง "AIIZ" ธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นที่มียอดขายต่อปีกว่า 2,000 ล้านบาทจากสาขาทั่วประเทศรวมกว่า 450 แห่ง ทั้งแบบร้านเดี่ยว เคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้า และส่งออกไปยังแปดประเทศแถบเอเชียและตะวันออกกลาง พร้อมศักยภาพที่จะเปิดร้านสาขาในต่างประเทศได้อีกมาก
จุดต่ำสุดใน ชีวิต: ก่อน AIIZ จะกลายเป็นแบรนด์ดังมียอดขายสูงกว่าเสื้อผ้าแบรนด์อื่นสองถึงแปดเท่าใน ปัจจุบัน ธุรกิจเคยประสบปัญหาหนักจนเกือบหยุดชะงักในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ช่วงเวลานั้น เสื้อผ้า AIIZ เพิ่งเปิดตัวได้เพียงปีกว่า มีเงินลงทุนไม่มากนัก ปิยะใช้วิธีเปิดร้านจำนวนมาก ให้มีแหล่งปล่อยสินค้าได้เร็วสุดเพื่อนำเงินกลับมาหมุนเวียนสั่งของเข้าร้าน ด้วยเหตุนี้จึงมีเงินเหลือสำหรับสั่งสินค้ามาสะสมในคลังสินค้าได้ไม่มากนัก ซ้ำร้ายวิกฤตเศรษฐกิจเริ่มตั้งเค้าและรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นตลาดเสื้อผ้าตกวูบ ในปีต่อมา
กลยุทธ์ลุกขึ้นสู้: ปิยะใช้ข้อได้เปรียบที่ตัวเองเป็นบริษัทเล็กสั่งสินค้ามาเก็บในคลังสินค้า ได้น้อยทำให้ช่วงวิกฤตไม่มีสินค้าคงคลังเหลือ จึงสั่งผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเพื่อให้ได้ต้นทุนถูก ขายในราคาถูก อาศัยขายออกเร็วเพื่อนำเงินมาหมุนสั่งผลิตสินค้าใหม่ๆ ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนสามารถสร้างตัวได้ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ นั่นเอง "ถ้าตอนนั้นตัดสินใจสั่งของลดลงตามแบ รนด์ใหญ่ๆ AIIZ คงหมดชื่อไปตั้งแต่วันนั้นแล้ว ถ้าสั่งมาสิบล้าน ผมคงไม่กล้าลด 50 เปอร์เซ็นต์เพราะจะทำให้ยอดขายเหลือแค่ห้าล้านไม่พอกับค่าใช้จ่าย" ปิยะกล่าว
บทเรียน: "การ ทำธุรกิจไม่มีคำว่าเสี่ยง เพราะธุรกิจไม่ใช่การพนัน คุณควบคุมได้ คุณรู้ว่าต้นทุนมีเท่าไหร่ ขายได้เท่าไร เช็กตลาดได้ตลอดเวลา ใช้ความสามารถของคุณดูว่าศักยภาพของสินค้าตัวนี้น่าจะมีกำไรมากหรือน้อย ถ้าดูพลาดก็กำไรน้อยหน่อย แต่ถ้าข้อมูลแม่น ชัด ก็กำไรตามเป้าหมายที่ต้องการ"
ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์, อายุ 52 ปี, ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)
ความ สำเร็จสูงสุด: ต้นปี 2536 ทองมาเปิดบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาทเพื่อรองรับธุรกิจสร้างโครงการบ้านจัดสรรอย่างจริงจัง แม้หลังจากนั้นเพียงสี่ปี วิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงหนักจนภาคอสังหาฯปิดตัวกันเป็นแถว แต่ทองมากลับโชคดีที่เบนเข็มหันมาเลือกสร้างบ้านราคาถูกทำให้ต้นทุนไม่สูง และซื้อขายง่าย อีกทั้งรัฐบาลยังให้การสนับสนุนด้านภาษีและเงินทุนจึงรอดพ้นวิกฤตมาได้ แถมหลังวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลยังใช้มาตรการต่างๆกระตุ้นให้คนซื้อบ้านทำให้ยอดขายพุ่งกระฉูดจน สามารถขยายกิจการและก้าวไปเป็นบริษัทมหาชนได้ในที่ส
จุดต่ำสุดใน ชีวิต: ใครจะคาดคิดว่าเบื้องหลังชีวิตของเจ้าพ่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้รับ การยกย่องจากนิตยสาร (เอน)ฟอร์บส์ (เลิกเอน) ฉบับกรกฎาคม 2549 ผู้นี้เดิมทีมีฐานะยากจน เรียนจบแค่ชั้นประถมสี่ แล้วต้องออกมาหางานทำ รับจ้างกินค่าแรงขั้นต่ำไปวันๆเท่านั้น "ผมเคยทำงานเป็นลูกจ้างร้านทอง ระหว่างนั้นผมถือโอกาสเรียนไปด้วย เงินที่ได้มาทุกบาททุกสตางค์ต้องเก็บไว้ใช้ซื้อของจำเป็นเท่านั้น" ทองมาดิ้นรนจนเรียนจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรม แต่ชีวิตใช่จะสบาย "ผมจบออกมาก็ได้งานเป็นแค่ลูกจ้างบริษัทขายเตาแก๊ส" ทองมากล่าว
กลยุทธ์ ลุกขึ้นสู้: ความยากลำบากทำให้เริ่มคิดถึงอนาคตและครอบครัว ทองมาจึงตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพมาทำงานกับบริษัทรับเหมาก่อสร้าง โดยมุ่งหวังว่าสักวันจะเติบโตในสายอาชีพนี้ ความมุ่งมั่นที่มีอยู่ในตัวทำให้ในที่สุดทองมาสามารถเปิดห้างหุ้นส่วนจำกัด สยามเอ็นจิเนียริ่ง ในปี 2528 รับงานเหมาก่อสร้างเล็กๆจากโรงปูนและโรงงานต่างๆ รวมถึงรับสร้างบ้านบ้างเป็นบางครั้ง "ช่วงนั้น ผมคิดเหมือนกันว่าถ้าเป็นผู้รับเหมาแล้วไม่ประสบความสำเร็จคงต้องกลับไปเป็น ลูกจ้างคนอื่นเหมือนเดิม ซึ่งไม่มีอะไรเสียหายเพราะไม่มีอะไรต้องสูญเสีย คนมาจากศูนย์จะกลัวอะไรที่จะกลับไปเป็นศูนย์อีก" เมื่อใจกล้าลุย ความสำเร็จย่อมตามมา ทองมาล้มลุกคลุกคลานกับสยามเอ็นจิเนียริ่งอยู่พักใหญ่ธุรกิจก็เริ่มอยู่ตัว จากนั้น เขาเริ่มเบนเข็มมาสู่ธุรกิจอสังหาฯ เมื่อเห็นโอกาสเติบโตที่ดีกว่า จึงตัดสินใจปิดห้างหุ้นส่วนสยามเอ็นจิเนียริ่งและหันมาลงทุนอย่างเต็มตัวกับ พฤกษาเรียลเอสเตท
บทเรียน: "สิ่งสำคัญที่สุดคือแรงผลักดันและความตั้งใจของตนเอง ผมสั่งตัวเองทุกวัน คิดเสมอว่าเราต้องทำได้ เราต้องเชื่อมั่นในตนเอง"
วริสร รักษ์พันธุ์, อายุ 38 ปี, กรรมการผู้จัดการ ชุมพรคาบาน่ารีสอร์ต
ความ สำเร็จสูงสุด: ความสามารถในการบริหารธุรกิจโรงแรมที่มีหนี้สินเกือบ 300 ล้านในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่เพิ่งฟื้นตัวจากวิกฤตต้มยำกุ้งทำให้ชื่อเสียงของ วริสร รักษ์พันธุ์โด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่วแม้ในต่างประเทศ การนำทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมา ปรับใช้ในการบริหารงานธุรกิจโรงแรมของตนเอง ไม่เพียงช่วยให้เขาปลดหนี้สินได้เท่านั้น แต่ยังสร้างชื่อเสียงให้ชุมพรคาบาน่ารีสอร์ต ส่งผลให้ทั้งนักท่องเที่ยวธรรมชาติและหน่วยงานที่ต้องการเรียนรู้เรื่องแนว คิดเศรษฐกิจพอเพียงมาเยือนไม่ขาดสายในแต่ละปี
จุดต่ำสุดในชีวิต: วริสรอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ด้วยหนี้สินล้นตัวก่อนเกิดวิกฤตเมื่อปี 2540 ซ้ำร้ายเมื่อเกิดวิกฤต ธนาคารยังระงับการปล่อยกู้ทำให้ขาดสภาพคล่องอย่างหนัก กอปรกับภัยธรรมชาติทำให้ขาดรายได้ มีเงินไม่พอส่งดอกเบี้ยเงินกู้จนถึงขั้นเขาเคยคิดอยากฆ่าตัวตาย "พอคนรู้ว่าเราต้องการเงินก็มีมาเสนอตัวเป็นนายหน้าอาสาหาแหล่งเงินกู้ให้ บอกให้เอาที่ดินมาจำนอง ผมไปกว้านเอาที่ดินจากญาติพี่น้องไปให้ ปรากฏว่าเงินก็ไม่ได้ ที่ดินยังสูญไปอีก ตอนนั้นสถานการณ์มาถึงจุดแย่สุด คิดว่าตัวเองไม่เหลืออะไรอีกแล้ว คิดอยากฆ่าตัวตาย แต่ลูกคนแรกเพิ่งเกิดตอนปี 2540 ผมมาได้คิดว่าถ้าตายไปแล้วครอบครัวจะเป็นยังไง ลูกจะเป็นยังไง" วริสรเล่าถึงเหตุการณ์ในช่วงนั้น
กลยุทธ์ลุกขึ้นสู้: วริสรเริ่มย้อนกลับมาคิดถึงคำว่า "พอดี" ตามแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง บังเอิญช่วงนั้นเขามีโอกาสเข้าฟังบรรยายของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ซึ่งมีอยู่ประโยคหนึ่งที่กล่าวว่า "แก้วน้ำของคนเราไม่เท่ากัน ที่ตักก็ย่อมไม่เท่ากัน" วริสรนำคำพูดประโยคนี้กลับมานั่งคิดทบทวน ที่สุด เขาตัดสินใจกู้เงินเพิ่มแม้จะเป็นการกู้นอกระบบ เพราะพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเป็นหากคิดจะเดินหน้าต่อ เขานำเงินมาต่อเรือขนาดใหญ่ให้บริการแก่ลูกค้าเพื่อสร้างจุดขายที่แตกต่าง จากรีสอร์ตทั่วไป "เรือที่ต่อลำละประมานสิบกว่าล้านบาท กู้เงินมาได้ไม่พอ ผมต้องไปกู้เงินนอกระบบ ดอกเบี้ยร้อยละห้าต่อเดือนสูงสุดร้อยละหก ผมกู้มาราวสองล้านบาท ดอกเบี้ยคิดเป็นเดือนละหนึ่งแสนบาท ตอนหลังได้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละสามต่อเดือน หมุนๆไปอย่างนี้จนเรือต่อเสร็จ" วริสรเล่าถึงนาทีที่เขาต้องตัดสินใจในช่วงวิกฤต
บทเรียน: "แก้ว น้ำของคนเราไม่เท่ากัน ที่ตักก็ย่อมไม่เท่ากัน ให้ถามตัวเองว่าแก้วน้ำของเราคืออะไร และที่ตักของเราคืออะไร เราต้องทำแก้วน้ำกับที่ตักให้สมดุลกัน โอกาสพลาดจะมีน้อย"
_____________________________________
สู้ไม่ถอย
บทเรียนจากประสบการณ์ของสี่นักธุรกิจซึ่งเริ่มต้นจากศูนย์และฝ่าฟันจนสำเร็จ
By โดย ขวัญดวง แซ่เตีย
http://www.readersdigestthailand.co.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%A2
ประวิทย์ จิตนราพงศ์, อายุ 55 ปี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำกัด
ความ สำเร็จสูงสุด: ตลอดชีวิตของการเป็นลูกจ้าง ประวิทย์ จิตนราพงษ์ใฝ่ฝันอยากมีธุรกิจของตัวเอง "ผมเห็นรุ่นพี่ที่จบจากอัสสัมชัญพาณิชย์ด้วยกันเปิดกิจการทำธุรกิจส่วนตัว ผมเลยอยากมีธุรกิจของตัวเองบ้างเพราะไม่ชอบอยู่ภายใต้เงื่อนไขกฎเกณฑ์ที่คน อื่นวางไว้ การทำอาชีพส่วนตัวน่าจะมีอิสรภาพในแง่ของความคิดและการเลือกทางเดินชีวิต มากกว่า" เขากล่าว
เมื่อมีโอกาสในปี 2527 เขาชักชวนเพื่อนๆร่วมหุ้นลงทุนเปิดบริษัทซอฟต์แวร์เล็กๆชื่อบริษัท ดาต้าโปร จำกัด รับจ้างเขียนโปรแกรมให้บริษัททั่วๆไปและจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ด้านคอมพิวเตอร์ หลังล้มลุกคลุกคลานระยะหนึ่งจนมาพบกับซอฟต์แวร์สำเร็จรูปบีพีซีเอส (Business Planning and Control System) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการและควบคุมการผลิตของสหรัฐฯ มีลูกค้าที่เป็นบริษัทสาขามาจากอเมริกาหรือยุโรปที่บริษัทแม่ระบุไว้เลยว่า ให้ใช้ซอฟต์แวร์ตัวนี้เป็นมาตรฐาน
ประวิทย์จึงติดต่อขอเป็นตัวแทน กระทั่งประสบความสำเร็จสูงสุดในธุรกิจไอที ภายใต้กลุ่มบริษัท โปรซอฟท์ จำกัด และ บริษัท โปร-ลายน์ (ประเทศไทย) จำกัด มีฐานลูกค้าเกือบ 200 บริษัท เช่น ยูนิลีเวอร์, 3 เอ็ม, มิตซูบิชิ อีลิเวเตอร์, เบทาโกร, ซูซูกิมอเตอร์ ฯลฯ
จุดต่ำสุดในชีวิต: เนื่องจากธุรกิจไอทีเป็นการดำเนินงานในฐานะตัวแทนซึ่งประวิทย์มองว่าไม่มี ความมั่นคงพอ ต้องมองหาธุรกิจที่สามารถสร้างแบรนด์เป็นของตัวเองได้ จึงเลือกทำร้านอาหาร โดยเบื้องต้นเป็นการซื้อแบรนด์จากต่างประเทศมาบริหารเอง
แต่การเริ่ม ต้นธุรกิจร้านอาหารของประวิทย์ในปี 2536 แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากเมื่อครั้งเริ่มต้นธุรกิจไอที เขาก้าวเข้ามาทำธุรกิจนี้โดยที่ตนเองไม่มีพื้นฐานความรู้ความชำนาญหรือแม้ กระทั่งใจรักในสินค้าที่จะขายเลยด้วยซ้ำ "อย่างเดียวที่ผมมีในเวลานั้นคือความอยากที่จะทำ" ประวิทย์กล่าว
ช่วง สี่ปีแรกของการทำธุรกิจร้านแบล็คแคนยอน การเติบโตไม่ค่อยดีนัก ประวิทย์ต้องประสบปัญหามากมายเนื่องจากเขาไม่มีประสบการณ์ด้านธุรกิจร้าน อาหารและเครื่องดื่ม ในช่วงนั้น ธุรกิจร้านแบล็คแคนยอนขยายสาขาได้เพียงปีละสามถึงสี่สาขา ซ้ำร้ายยังเผชิญกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้ต้องแบกรับภาระขาดทุนสะสมต่อเนื่อง สถานการณ์ย่ำแย่จนถึงขั้นเกือบล้มเลิกกิจการ
กลยุทธ์ลุกขึ้นสู้ : แต่การหยุดกลางคันย่อมหมายถึงเงินลงทุน 20 ล้านบาทละลายหายไปด้วย ประวิทย์ประเมินสถานการณ์ในช่วงนั้นว่าเกิดจากปัญหาหลักๆสามส่วน นั่นคือ บุคลากร ระบบการทำงาน และการหาพื้นที่ เขาค่อยๆแก้ปัญหาทีละเปลาะไปพร้อมๆกับการแก้ไขสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ด้วยการเร่งขยายการลงทุนในช่วงที่ทุกคนไม่กล้าและหยุดอยู่เฉยๆ เขาฉวยโอกาสช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำกู้เงินไปทำสัญญาระยะยาวเช่าพื้นที่ทำเล ดีๆ กระทั่งในที่สุดไม่เพียงผ่านพ้นวิกฤตมาได้ แต่ยังทำให้ขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว "พอคนไม่กล้าลงทุน ทำให้เรามีโอกาสได้พื้นที่ทำเลดีๆในราคาที่เหมาะสม เราไม่ปล่อยโอกาสนี้ไป ตะลุยเปิดสาขาในพื้นที่ต่างๆเยอะมาก" ประวิทย์กล่าว
บทเรียน : "ผู้นำอาจตัดสินใจผิดพลาดได้ แต่ขอให้ส่วนที่ผิดมีน้อยที่สุดและก่อให้เกิดความเสียหายไม่มากนัก เพราะผู้นำที่ตัดสินใจผิดมากกว่าถูกในที่สุดก็จะล้มเหลว"
ปิยะ ธนากิจอำนวย, อายุ 58 ปี, ประธาน กรรมการบริหาร บริษัท รีโน (ประเทศไทย) จำกัด
ความ สำเร็จสูงสุด:ด้วยความถ่อมตนว่าเป็นคนไร้ปริญญา ปิยะทำงานหนักทุกอย่างตามแต่เจ้านายจะสั่งให้ทำ จากจุดเริ่มต้นในตำแหน่งพนักงานขายภายในร้านเสื้อผ้าเล็กๆแห่งหนึ่ง เขาเก็บเกี่ยวประสบการณ์จริงในชีวิตทำงานโดยเรียนรู้และพัฒนาตัวเองจนกลาย เป็นที่ต้องการของคนในวงการเสื้อผ้าแฟชั่น ก่อนจะผันตัวเองมาเป็นเจ้าของแบรนด์ดัง "AIIZ" ธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นที่มียอดขายต่อปีกว่า 2,000 ล้านบาทจากสาขาทั่วประเทศรวมกว่า 450 แห่ง ทั้งแบบร้านเดี่ยว เคาน์เตอร์ในห้างสรรพสินค้า และส่งออกไปยังแปดประเทศแถบเอเชียและตะวันออกกลาง พร้อมศักยภาพที่จะเปิดร้านสาขาในต่างประเทศได้อีกมาก
จุดต่ำสุดใน ชีวิต: ก่อน AIIZ จะกลายเป็นแบรนด์ดังมียอดขายสูงกว่าเสื้อผ้าแบรนด์อื่นสองถึงแปดเท่าใน ปัจจุบัน ธุรกิจเคยประสบปัญหาหนักจนเกือบหยุดชะงักในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ช่วงเวลานั้น เสื้อผ้า AIIZ เพิ่งเปิดตัวได้เพียงปีกว่า มีเงินลงทุนไม่มากนัก ปิยะใช้วิธีเปิดร้านจำนวนมาก ให้มีแหล่งปล่อยสินค้าได้เร็วสุดเพื่อนำเงินกลับมาหมุนเวียนสั่งของเข้าร้าน ด้วยเหตุนี้จึงมีเงินเหลือสำหรับสั่งสินค้ามาสะสมในคลังสินค้าได้ไม่มากนัก ซ้ำร้ายวิกฤตเศรษฐกิจเริ่มตั้งเค้าและรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นตลาดเสื้อผ้าตกวูบ ในปีต่อมา
กลยุทธ์ลุกขึ้นสู้: ปิยะใช้ข้อได้เปรียบที่ตัวเองเป็นบริษัทเล็กสั่งสินค้ามาเก็บในคลังสินค้า ได้น้อยทำให้ช่วงวิกฤตไม่มีสินค้าคงคลังเหลือ จึงสั่งผลิตสินค้าเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเพื่อให้ได้ต้นทุนถูก ขายในราคาถูก อาศัยขายออกเร็วเพื่อนำเงินมาหมุนสั่งผลิตสินค้าใหม่ๆ ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนสามารถสร้างตัวได้ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ นั่นเอง "ถ้าตอนนั้นตัดสินใจสั่งของลดลงตามแบ รนด์ใหญ่ๆ AIIZ คงหมดชื่อไปตั้งแต่วันนั้นแล้ว ถ้าสั่งมาสิบล้าน ผมคงไม่กล้าลด 50 เปอร์เซ็นต์เพราะจะทำให้ยอดขายเหลือแค่ห้าล้านไม่พอกับค่าใช้จ่าย" ปิยะกล่าว
บทเรียน: "การ ทำธุรกิจไม่มีคำว่าเสี่ยง เพราะธุรกิจไม่ใช่การพนัน คุณควบคุมได้ คุณรู้ว่าต้นทุนมีเท่าไหร่ ขายได้เท่าไร เช็กตลาดได้ตลอดเวลา ใช้ความสามารถของคุณดูว่าศักยภาพของสินค้าตัวนี้น่าจะมีกำไรมากหรือน้อย ถ้าดูพลาดก็กำไรน้อยหน่อย แต่ถ้าข้อมูลแม่น ชัด ก็กำไรตามเป้าหมายที่ต้องการ"
ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์, อายุ 52 ปี, ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พฤกษาเรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)
ความ สำเร็จสูงสุด: ต้นปี 2536 ทองมาเปิดบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาทเพื่อรองรับธุรกิจสร้างโครงการบ้านจัดสรรอย่างจริงจัง แม้หลังจากนั้นเพียงสี่ปี วิกฤตเศรษฐกิจรุนแรงหนักจนภาคอสังหาฯปิดตัวกันเป็นแถว แต่ทองมากลับโชคดีที่เบนเข็มหันมาเลือกสร้างบ้านราคาถูกทำให้ต้นทุนไม่สูง และซื้อขายง่าย อีกทั้งรัฐบาลยังให้การสนับสนุนด้านภาษีและเงินทุนจึงรอดพ้นวิกฤตมาได้ แถมหลังวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลยังใช้มาตรการต่างๆกระตุ้นให้คนซื้อบ้านทำให้ยอดขายพุ่งกระฉูดจน สามารถขยายกิจการและก้าวไปเป็นบริษัทมหาชนได้ในที่ส
จุดต่ำสุดใน ชีวิต: ใครจะคาดคิดว่าเบื้องหลังชีวิตของเจ้าพ่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้รับ การยกย่องจากนิตยสาร (เอน)ฟอร์บส์ (เลิกเอน) ฉบับกรกฎาคม 2549 ผู้นี้เดิมทีมีฐานะยากจน เรียนจบแค่ชั้นประถมสี่ แล้วต้องออกมาหางานทำ รับจ้างกินค่าแรงขั้นต่ำไปวันๆเท่านั้น "ผมเคยทำงานเป็นลูกจ้างร้านทอง ระหว่างนั้นผมถือโอกาสเรียนไปด้วย เงินที่ได้มาทุกบาททุกสตางค์ต้องเก็บไว้ใช้ซื้อของจำเป็นเท่านั้น" ทองมาดิ้นรนจนเรียนจบปริญญาตรีด้านวิศวกรรม แต่ชีวิตใช่จะสบาย "ผมจบออกมาก็ได้งานเป็นแค่ลูกจ้างบริษัทขายเตาแก๊ส" ทองมากล่าว
กลยุทธ์ ลุกขึ้นสู้: ความยากลำบากทำให้เริ่มคิดถึงอนาคตและครอบครัว ทองมาจึงตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพมาทำงานกับบริษัทรับเหมาก่อสร้าง โดยมุ่งหวังว่าสักวันจะเติบโตในสายอาชีพนี้ ความมุ่งมั่นที่มีอยู่ในตัวทำให้ในที่สุดทองมาสามารถเปิดห้างหุ้นส่วนจำกัด สยามเอ็นจิเนียริ่ง ในปี 2528 รับงานเหมาก่อสร้างเล็กๆจากโรงปูนและโรงงานต่างๆ รวมถึงรับสร้างบ้านบ้างเป็นบางครั้ง "ช่วงนั้น ผมคิดเหมือนกันว่าถ้าเป็นผู้รับเหมาแล้วไม่ประสบความสำเร็จคงต้องกลับไปเป็น ลูกจ้างคนอื่นเหมือนเดิม ซึ่งไม่มีอะไรเสียหายเพราะไม่มีอะไรต้องสูญเสีย คนมาจากศูนย์จะกลัวอะไรที่จะกลับไปเป็นศูนย์อีก" เมื่อใจกล้าลุย ความสำเร็จย่อมตามมา ทองมาล้มลุกคลุกคลานกับสยามเอ็นจิเนียริ่งอยู่พักใหญ่ธุรกิจก็เริ่มอยู่ตัว จากนั้น เขาเริ่มเบนเข็มมาสู่ธุรกิจอสังหาฯ เมื่อเห็นโอกาสเติบโตที่ดีกว่า จึงตัดสินใจปิดห้างหุ้นส่วนสยามเอ็นจิเนียริ่งและหันมาลงทุนอย่างเต็มตัวกับ พฤกษาเรียลเอสเตท
บทเรียน: "สิ่งสำคัญที่สุดคือแรงผลักดันและความตั้งใจของตนเอง ผมสั่งตัวเองทุกวัน คิดเสมอว่าเราต้องทำได้ เราต้องเชื่อมั่นในตนเอง"
วริสร รักษ์พันธุ์, อายุ 38 ปี, กรรมการผู้จัดการ ชุมพรคาบาน่ารีสอร์ต
ความ สำเร็จสูงสุด: ความสามารถในการบริหารธุรกิจโรงแรมที่มีหนี้สินเกือบ 300 ล้านในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่เพิ่งฟื้นตัวจากวิกฤตต้มยำกุ้งทำให้ชื่อเสียงของ วริสร รักษ์พันธุ์โด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่วแม้ในต่างประเทศ การนำทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมา ปรับใช้ในการบริหารงานธุรกิจโรงแรมของตนเอง ไม่เพียงช่วยให้เขาปลดหนี้สินได้เท่านั้น แต่ยังสร้างชื่อเสียงให้ชุมพรคาบาน่ารีสอร์ต ส่งผลให้ทั้งนักท่องเที่ยวธรรมชาติและหน่วยงานที่ต้องการเรียนรู้เรื่องแนว คิดเศรษฐกิจพอเพียงมาเยือนไม่ขาดสายในแต่ละปี
จุดต่ำสุดในชีวิต: วริสรอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ด้วยหนี้สินล้นตัวก่อนเกิดวิกฤตเมื่อปี 2540 ซ้ำร้ายเมื่อเกิดวิกฤต ธนาคารยังระงับการปล่อยกู้ทำให้ขาดสภาพคล่องอย่างหนัก กอปรกับภัยธรรมชาติทำให้ขาดรายได้ มีเงินไม่พอส่งดอกเบี้ยเงินกู้จนถึงขั้นเขาเคยคิดอยากฆ่าตัวตาย "พอคนรู้ว่าเราต้องการเงินก็มีมาเสนอตัวเป็นนายหน้าอาสาหาแหล่งเงินกู้ให้ บอกให้เอาที่ดินมาจำนอง ผมไปกว้านเอาที่ดินจากญาติพี่น้องไปให้ ปรากฏว่าเงินก็ไม่ได้ ที่ดินยังสูญไปอีก ตอนนั้นสถานการณ์มาถึงจุดแย่สุด คิดว่าตัวเองไม่เหลืออะไรอีกแล้ว คิดอยากฆ่าตัวตาย แต่ลูกคนแรกเพิ่งเกิดตอนปี 2540 ผมมาได้คิดว่าถ้าตายไปแล้วครอบครัวจะเป็นยังไง ลูกจะเป็นยังไง" วริสรเล่าถึงเหตุการณ์ในช่วงนั้น
กลยุทธ์ลุกขึ้นสู้: วริสรเริ่มย้อนกลับมาคิดถึงคำว่า "พอดี" ตามแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง บังเอิญช่วงนั้นเขามีโอกาสเข้าฟังบรรยายของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ซึ่งมีอยู่ประโยคหนึ่งที่กล่าวว่า "แก้วน้ำของคนเราไม่เท่ากัน ที่ตักก็ย่อมไม่เท่ากัน" วริสรนำคำพูดประโยคนี้กลับมานั่งคิดทบทวน ที่สุด เขาตัดสินใจกู้เงินเพิ่มแม้จะเป็นการกู้นอกระบบ เพราะพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเป็นหากคิดจะเดินหน้าต่อ เขานำเงินมาต่อเรือขนาดใหญ่ให้บริการแก่ลูกค้าเพื่อสร้างจุดขายที่แตกต่าง จากรีสอร์ตทั่วไป "เรือที่ต่อลำละประมานสิบกว่าล้านบาท กู้เงินมาได้ไม่พอ ผมต้องไปกู้เงินนอกระบบ ดอกเบี้ยร้อยละห้าต่อเดือนสูงสุดร้อยละหก ผมกู้มาราวสองล้านบาท ดอกเบี้ยคิดเป็นเดือนละหนึ่งแสนบาท ตอนหลังได้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละสามต่อเดือน หมุนๆไปอย่างนี้จนเรือต่อเสร็จ" วริสรเล่าถึงนาทีที่เขาต้องตัดสินใจในช่วงวิกฤต
บทเรียน: "แก้ว น้ำของคนเราไม่เท่ากัน ที่ตักก็ย่อมไม่เท่ากัน ให้ถามตัวเองว่าแก้วน้ำของเราคืออะไร และที่ตักของเราคืออะไร เราต้องทำแก้วน้ำกับที่ตักให้สมดุลกัน โอกาสพลาดจะมีน้อย"
Saturday, January 18, 2014
วิเคราะห์หุ้นแบบ VI / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
วิเคราะห์หุ้นแบบ VI / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โลกในมุมมองของ value investor 8 มีนาคม 2552
นักลงทุนส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนที่บริหารกองทุนรวมที่ต้องลงทุนซื้อหุ้นจำนวน มากต่างก็อาศัยบทวิเคราะห์หุ้นของ นักวิเคราะห์หุ้นมือ อาชีพ แต่ผมเองแทบไม่ดูบทวิเคราะห์เหล่านั้นเลย เหตุผลก็เพราะวิธีการลงทุนของผมนั้น เป็นการลงทุน “ซื้อธุรกิจ” ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาว อย่างน้อยก็ 3- 5 ปี ขึ้นไป ซึ่งไม่มีบทวิเคราะห์ไหนทำ บทวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์นั้นส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด มองไปที่ผลประกอบการอย่างมากก็ 1-2 ปีข้างหน้า ดังนั้น พวกเขาก็มักจะดูว่าบริษัทจะมีกำไรเท่าไรอิงจากผลประกอบการในปีปัจจุบัน โดยนำเอาภาวะของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมาเป็นตัวประกอบ ส่วนผมเองนั้น ผมจะสนใจในด้านของ “โครงสร้าง” ซึ่งเป็นเรื่องที่ถาวรกว่าและไม่ค่อยจะขึ้นกับภาวะแวดล้อมที่จะปรับเปลี่ยน ไปเรื่อย ๆ ซึ่งโดยนัยนี้ ผมจึงไม่ค่อยสนใจภาวะเศรษฐกิจที่มีขึ้นมีลง แต่ผมจะสนใจโครงสร้างของอุตสาหกรรมว่า ในธุรกิจนั้นมีการแข่งขันกันอย่างไร สนใจว่าบริษัทมีจุดเด่นหรือจุดอ่อนอย่างไร ใครคือ “ผู้ชนะ” หรือจะเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน
การวิเคราะห์หุ้นแต่ ละตัวนั้น แน่นอน จะต้องดูรายละเอียดของแต่ละบริษัท อย่างไรก็ตาม มี “โครงสร้าง” และข้อมูลของธุรกิจบางอย่างที่เป็นตัวบอกว่าเรากำลังเจอธุรกิจที่ดีหรือไม่ดีได้ ข้อมูลเหล่านี้เราสามารถนำมาให้คะแนนเพื่อที่จะสรุปว่าบริษัทที่เราดูอยู่ เป็นอย่างไร ลองมาดูรายการที่สำคัญ ๆ
ข้อมูลตัวแรกก็คือ กำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นหรือ roe นี่คือข้อมูลที่ดูง่ายและมีประสิทธิภาพสูง บริษัทที่มี roe สูงคือบริษัทที่ดี ยิ่งสูงก็ยิ่งดี แต่ต้องดูว่าเป็นการสูงอย่างต่อเนื่องยาวนานเป็นปกติ ไม่ใช่สูงแค่ปีสองปีหรือในยามที่อุตสาหกรรมกำลังเป็นขาขึ้น หลักเกณฑ์ง่าย ๆ ในการให้คะแนนก็คือ ถ้าบริษัทมี roe ตั้งแต่ 15% ขึ้นไป เราก็ให้คะแนน บวกหนึ่ง ถ้า roe ตั้งแต่ 10-15 ให้คะแนนเท่ากับศูนย์ ถ้า roe ต่ำกว่า 10% ลงมาให้คะแนนติดลบหนึ่ง คะแนนที่ได้นี้จะเก็บไว้รวมกับคะแนนของข้อมูลตัวต่อไปเพื่อหาคะแนนรวมของ บริษัท
ข้อมูลตัวที่สองก็คือ กระแสเงินสดของกิจการ ถ้ากิจการขายสินค้าแล้วได้เป็นเงินสดในขณะที่เวลาซื้อสินค้าจ่ายเป็นเงิน เชื่อ กระแสเงินสดของกิจการก็จะดี ความจำเป็นต้องระดมเงินมาใช้จากภายนอกเช่นการกู้เงินหรือออกหุ้นก็ จะน้อยและจะเป็นผลดีต่อบริษัท เกณฑ์แบบง่าย ๆ ก็คือ ถ้าบริษัทมีเจ้าหนี้การค้ามากกว่าลูกหนี้การค้ามากเช่นในกรณีของผู้ค้าปลีก หรือบริษัทที่ขายให้กับผู้บริโภคโดยตรงซึ่งทำให้กระแสเงินสดของบริษัทดี ให้คะแนน บวกหนึ่ง ถ้าเจ้าหนี้และลูกหนี้พอ ๆ กันเช่นในกรณีของโรงงานผู้ผลิตจำนวนมาก แบบนี้ให้คะแนนศูนย์ ในกรณีของบริษัทที่มีลูกหนี้การค้ามากแต่มีเจ้าหนี้การค้าน้อย นั่นคือคนที่ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อแต่ต้องจ่ายค่าสินค้าหรือวัตถุดิบในการ ผลิตเป็นเงินสด เช่น ผู้ค้าส่งที่นำสินค้ามาจากต่างประเทศ แบบนี้ก็ให้คะแนน ลบหนึ่ง
ข้อมูลตัวที่สามซึ่งผมคิดว่าค่อนข้างสำคัญก็คือ ความสามารถในการปรับราคาสินค้าตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ถ้าบริษัทสามารถปรับราคาได้ค่อนข้างจะเร็วหรือทันที ความเสี่ยงที่บริษัทอาจจะขาดทุนจากสต็อกสินค้าก็ไม่มีและจะทำให้สามารถรักษา ระดับของกำไรได้ค่อนข้างแน่นอน บริษัทที่มีลักษณะของธุรกิจแบบนี้มักจะมีอำนาจทางการตลาดสูง เราให้คะแนน บวกหนึ่ง บริษัทที่สามารถปรับราคาได้แต่ต้องใช้เวลาพอสมควรเช่นภายใน 3 เดือน แบบนี้ให้คะแนนศูนย์ นี่คือบริษัททั่ว ๆ ไปที่มักไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้แก่ผู้ซื้อได้ทันทีเพราะมี การแข่งขันทางธุรกิจสูง บริษัทที่ไม่มีอำนาจทางการตลาดเลยและเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่บริษัทไม่สามารถ กำหนดราคาได้เลย เช่น ราคาน้ำมัน ถ่านหิน เหล็ก และผลิตผลทางการเกษตรต่าง ๆ แบบนี้เราให้คะแนน ติดลบหนึ่ง
บริษัทที่เป็น dominant firm คือมีขนาดใหญ่กว่าอันดับสองมาก มักจะมีความได้เปรียบในหลาย ๆ ด้าน เฉพาะอย่างยิ่งทางด้านของต้นทุน ดังนั้น เราให้คะแนน บวกหนึ่ง บริษัทตั้งแต่อันดับหนึ่งแต่ไม่ใช่ dominant firm จนถึงอันดับประมาณ 3 ของอุตสาหกรรม ให้คะแนนศูนย์ บริษัทที่มีอันดับหลังจากนั้นให้คะแนน ติดลบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ถ้าเราพิสูจน์หรือเชื่อได้ว่าขนาดของกิจการไม่ได้มีผลต่อต้นทุนหรือความได้ เปรียบอย่างอื่นในการแข่งขัน เราก็ให้คะแนนศูนย์กับทุกบริษัท
ข้อมูลตัวที่ห้า คือข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของบริษัท กิจการบางแห่งเป็นกิจการที่ขยายงานได้โดย “ไม่ต้องลงทุน” นี่คือกิจการที่ใช้หรือต้องลงทุนใน อาคาร อุปกรณ์ เครื่องจักร และเงินทุนหมุนเวียนของตนเองน้อย และภายในเวลาเพียง 2-3 ปี ก็ได้เงินคืนมาหมด เช่น กิจการค้าปลีกที่อาศัยการเช่าสถานที่เปิดร้านค้าเป็นหลัก กิจการแบบนี้เป็นกิจการที่ดีเพราะจะสามารถขยายงานไปได้เรื่อย ๆ โดยไม่ต้องกู้หรือเพิ่มทุน ทำให้สามารถจ่ายปันผลได้สูง แบบนี้ให้คะแนน บวกหนึ่ง กิจการที่เวลาขยายงานต้องลงทุนสูงพอสมควรอย่างเช่นโรงงานที่ผลิตสินค้า ธรรมดา ๆ ที่ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีมากนักเช่นผลิตอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือผลิตไฟฟ้าหรือน้ำประปา แบบนี้ให้คะแนน ศูนย์ กิจการที่เป็นโรงงานที่ซับซ้อนและเทคโนโลยีมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเร็วทำ ให้ต้องอัพเกรดโดยการลงทุนอุปกรณ์ใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ แบบนี้ให้คะแนน ลบหนึ่ง
ข้อมูลตัวสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงที่เป็นข้อมูลสำคัญก็คือ การเจริญเติบโต กิจการที่โตเร็ว นั่นคือ ในระยะยาวโตเร็วกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจหรือ gdp ตั้งแต่ 3 เท่าขึ้นไป นั่นคือยอดขายโตประมาณปีละ 15% ให้คะแนน บวกหนึ่ง ยอดขายโตตั้งแต่ 5-15% ต่อปีโดยเฉลี่ยให้คะแนน ศูนย์ ยอดขายโตต่ำกว่า 5% ต่อปีในระยะยาวให้คะแนน ลบหนึ่ง การเติบโตของยอดขายที่ว่านี้ต้องเป็นการเติบโตแบบทบต้นและระยะยาวตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ซึ่งทำได้ไม่ง่ายนัก
รวมคะแนนทั้งหมดของบริษัทที่เราวิเคราะห์ก็จะได้คะแนนที่อาจจะเป็นบวก ลบ หรือเป็น ศูนย์ บริษัทที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้ บวก 6 คะแนน ต่ำสุดก็จะได้ ลบ 6 คะแนน ซึ่งคงหาได้ยากพอควร เอาตัวเลขที่ได้บวกด้วย 10 ก็จะได้ค่า pe สูงสุดที่เราจะซื้อหุ้นตัว นั้น นั่นแปลว่า บริษัทที่ดีที่สุดได้คะแนนสูงสุดเราจะซื้อต่อเมื่อ pe ไม่เกิน 16 เท่า บริษัทธรรมดา ๆ ที่คะแนนไม่บวกหรือลบเราก็จะซื้อต่อเมื่อ pe ไม่เกิน 10 เท่า และบริษัทที่แย่มากที่สุดนั้น เราไม่ควรซื้อที่ pe เกิน 4 เท่า และทั้งหมดนี้ก็คือวิธีวิเคราะห์และซื้อหุ้นแบบ vi เวอร์ชั่นหนึ่ง ที่หยาบ ๆ และคิดในใจได้
Subscribe to:
Posts (Atom)