สำหรับการลงทุนใน "หุ้น" โดยชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า "หุ้น" ก็คือ "หุ้นส่วน" ซึ่งก็คือ การที่นักลงทุนจ่ายเงินเพื่อร่วมเป็นเจ้าของกิจการ แต่คนส่วนใหญ่ ก็ยังใช้คำว่า "เล่น" หุ้น โดยมองราคาถูกแพงของหุ้น ด้วยราคาต่อหุ้นเท่านั้น ซึ่งอาจทำให้เราลืมคิดถึง "ราคา" ที่แท้จริงที่เราจ่ายไป เพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งของเจ้าของในบริษัทนั้นๆ สำหรับวิธีคิด มูลค่าตลาดของกิจการ (Market Capitalization) ง่ายๆ ก็คือ
Market Capitalization (บาท) = ราคาต่อหุ้น (บาท/หุ้น) x จำนวนหุ้นทั้งหมด
กลับมาสู่ประเด็นหัวข้อที่ Post เอาไว้ : Market Cap เล็ก หรือ ใหญ่ ดี?
หากเรามีเงินอยู่ก้อนหนึ่ง แล้วคิดที่จะลงทุนใน "หุ้น" เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยผลตอบแทนของตลาด เราจะเลือกบริษัทใหญ่พวก Blue Chip มี Market Cap มหาศาล แนวโน้มการเติบโตดี มั่นคง หรือ เลือกบริษัทเล็ก Market Cap ไม่สูงนัก มีการเติบโตที่สูง แต่อาจมีความเสี่ยงบ้าง แบบไหนดีกว่ากัน??
คำตอบของนักลงทุนแต่ละคน คงแตกต่างกันแน่นอน ประเด็นสำคัญ ที่ผมคิดว่าน่าจะพิจารณาเพิ่มก็คือ
1. ขนาดของเงินลงทุนที่มี
- Warren Buffett เคยกล่าวตอนประชุมผู้ถือหุ้น ปี 1999 ไว้ว่า เขาสามารถทำผลตอบแทนจากการลงทุนได้ถึง 50% หากเขามีเงินน้อยกว่านี้ เขาไม่สามารถ "Compound" หรือ "การทบต้น" ให้เงินลงทุนจำนวน 100 m$ หรือ 1 billion ที่อัตรา 50%
- สำหรับนักลงทุนที่มี Portfolio ขนาดมหาศาล หากมัวไปลงทุนในบริษัทเล็กมากๆ ถึงแม้จะได้ผลตอบแทนดีเลิศ ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อ Portfolio รวมมากนัก
2. ขอบเขตความรู้ (Circle of Competency)
- รู้เรื่องไหนก็ลงทุนเรื่องนั้น หากยังไม่รู็ก็หาความรู้เพิ่ม
3. อัตราผลตอบแทนที่พึงพอใจ
- บริษัทใหญ่ส่วนมาก มีอัตราจากจ่ายการปันผล (Dividend Yield) ที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ดังนั้นหากนักลงทุนพึงพอใจในปันผลที่ได้รับก็สามารถลงทุนได้
อีกคำถามที่น่าสนใจ : แล้วพอมีเกณฑ์การแบ่งบริษัทตาม Market Cap ของ SET + mai ไหม? เพื่อให้นักลงทุนเลือกตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
ผมลองหาข้อมูลตาม Website ซึ่งก็ได้ข้อมูลจาก Wikipedia มี Rule of Thumb ดังนี้
A rule of thumb may look like:
- Mega-cap: Over $200 billion
- Large-cap: Over $10 billion
- Mid-cap: $2 billion–$10 billion
- Small-cap: $250 million–$2 billion
- Micro-cap: Below $250 million
- Nano-cap: Below $50 million
หากเราลองแปลงมูลค่าเป็นค่าเงินของประเทศไทย โดยปรับตามราคา Big Mac เทียบ USA กับ Thailand (ถือเป็นตัวแทน หน่วยการแปลงค่าครองชีพ ไปก่อนละกันนะครับ)
- ราคา Big Mac USA = 4.2$
- ราคา Big Mac Thailand = 2.46$
- Ratio USA : Thailand = 1.615 : 1
- อัตราแลกเปลี่ยน 1U$ = 31 B
rule of thumb Market Cap SET/mai (Normalized):
- Mega-cap: มากกว่า 3,840,000 MB (Market Cap. Set สิ้นเดือน May12 = 9,454,310 MB)
- Large-cap: มากกว่า 192,000 MB
- Mid-cap: 38,400 - 192,000 MB
- Small-cap:4,800 - 38,400 MB
- Micro-cap: 960-4,800 MB
- Nano-cap: น้อยกว่า 960 MB
เนื่ิองจากเศรษฐกิจของประเทศไทยเล็กกว่า USA ขอปรับลำดับขั้นหน่อยและปัดเลขกลมๆ ละกันนะครับ (Nano เมืองไทย) นี่ต้องเป็น SME
rule of thumb Market Cap SET/mai สำหรับประเทศไทย -> หาก AEC คงต้องแบ่งกันใหม่ :
- Mega-cap : มากกว่า 200,000 MB
- Large-cap : 40,000 - 200,000 MB
- Mid-cap : 5,000 - 40,000 MB
- Small-cap : 1,000-5,000 MB
- Micro-cap : น้อยกว่า 1,000 MB
สำหรับผม ตอนนี้ยังเงินทุนน้อย คงต้องเลือกเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทที่ยังเล็กๆ อยู่ครับ ไว้จะลองแบ่งบริษัทใน SET/mai ตาม Market Cap มาให้ดูกัน
แหล่งข้อมูลอ้างอิง