Saturday, July 18, 2015

เร่งผลตอบแทนการลงทุนด้วย Warrant

นักลงทุนมือฉมังหลายๆ ท่าน คงคุ้นเคยกับ Warrant เป็นอย่างดี
แต่นักลงทุนหน้าใหม่อาจสงสัย ว่า Warrant คืออะไร
สามารถซื้อลงทุนได้ไหม หรือเอาไว้ เก็(ร)ง กำไร กันเท่านั้น

วันนี้ลองมาศึกษาเรื่อง Warrant กันครับ

Q : วอร์แรนท์  (Warrant) คือ อะไร?
A : ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นทุน ที่บริษัทออกให้กับผู้ถือหุ้น
โดยที่ผู้ที่ถือ Warrant สามารถ เลือกที่จะใช้สิทธิ (เหมือนเป็น Option)
ที่จะ จ่ายเงินเพิ่มเพื่อแปลง Warrant เป็นหุ้นของบริษัทได้
เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ขอ ยกตัวอย่าง Case จริง ดังนี้

เร็วๆนี้ บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) JAS (ผู้ให้บริการ Internet 3BB)
ได้ แจก Warrant ให้กับผู้ถือหุ้นเดิม คือ JAS-w3
ในกรณีนี้ขอ เรียก หุ้น JAS ว่า "หุ้นแม่"
JAS-w3 มีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

รับหลักทรัพย์                                       : ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ
ชื่อบริษัท                                            : บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (JAS)
ชื่อย่อใบสำคัญแสดงสิทธิ                         : JAS-W3
ตลาดรอง                                            : SET
วันที่เริ่มทำการซื้อขาย                             : 16 ก.ค. 2558
จำนวนหน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิที่เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน             : 3,428,457,991
อัตราการใช้สิทธิ (ใบสำคัญแสดงสิทธิ : หุ้นสามัญใหม่)                     : 1 : 1
ราคาการใช้สิทธิ (บาทต่อหุ้น)                    : 4.30
อายุใบสำคัญแสดงสิทธิ                           : 5 ปี นับแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ (6 กรกฎาคม 2558)
ราคาใบสำคัญแสดงสิทธิ (บาทต่อหน่วย)     : 0.00
วันใช้สิทธิครั้งแรก                                  : 30 ก.ย. 2558
วันใช้สิทธิครั้งสุดท้าย                              : 03 ก.ค. 2563

หมายความว่า
- หากเราซื้อ JAS-w3 ในตลาดตอนนี้ (วันที่ 17/7/15) ซึ่งมีราคา อยู่ที่ 1.5 บาท/หุ้น
- เราสามารถจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อแปลงเป็นหุ้นแม่ (JAS) ได้
โดยอัตราการใช้สิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิ : หุ้นสามัญใหม่ = 1 : 1
และจ่ายเงินเพิ่ม 4.3 บาท/หุ้น (ราคาใช้สิทธิ)
นั่นก็คือ ต้องจ่ายเงินเพิ่ม = 1 x 4.3 = 4.3 บาท/หุ้น
- ดังนั้นราคา JAS-w3 หากแปลง = 1.5+4.3 = 5.8 บาท/หุ้น
ซึ่งหากดูราคา JAS ล่าสุดได้ 5.25 บาท/หุ้น
ก็จะพบว่าราคา JAS-w3 แพงกว่า JAS ประมาณ 10% ได้
- ราคาใบสำคัญแสดงสิทธิ ระบุว่า 0.00 บาท/หน่วย หมายความว่า
ผู้ถือหุ้น JAS ได้ JAS-w3 มาฟรี ไม่ต้องเสียเงินซื้อ
(แต่ราคา JAS ก็ Dilute ไปแล้ว คือราคาลงในวันที่แจก Warrant)
- JAS-w3 มีอายุ 5 ปี หลังจาก 5 ปี หากไม่ใช้สิทธิแปลง
Warrant ก็จะกลายเป็นเพียงเศษกระดาษ

Q : คำศัพท์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Warrant?
A : (บางคำศัพธ์มีอธิบายข้างบนแล้ว)
- อัตราใช้สิทธิ (Conversion Ratio) = อัตราส่วนการแปลง Warrant เป็นหุ้นแม่
ตัวอย่างเช่น
ใบสำคัญแสดงสิทธิ : หุ้นสามัญใหม่ = 2:1 ก็คือ ซื้อ Warrant 2 หน่วย แปลงเป็น หุ้นแม่ได้ 1 หุ้น

- ราคาใช้สิทธิ (Exercise Price) = ราคาแปลง Warrant เป็นหุ้นแม่ (หลังคูณอัตราใช้สิทธิแล้ว)
- วันหมดอายุ (Expiration Date) = เลยจากวันนี้ไม่สามารถแปลง Warrant เป็นหุ้นแม่ ได้
- อัตราทด (Gearing Ratio) = คำนวณโดยการเอา ราคาหุ้นแม่ หารด้วยราคา Warrant (หลังคูณอัตราใช้สิทธิแล้ว)
เช่น อัตราทด 2 เท่าหมายความว่า ใช้เงินทุนตัวเองเพียง 1 ส่วน
แต่มีโอกาสได้ %ผลตอบแทน (หรือขาดทุน) 2 เท่า ของการซื้อหุ้นแม่
- In the money = Warrant เมื่อรวมราคาใช้สิทธิ แล้วถูกกว่าหุ้นแม่
- Out of the money = Warrant เมื่อรวมราคาใช้สิทธิ แล้วแพงกว่าหุ้นแม่ หรือเรียกว่ามี "Premium"
- จริงๆ มีคำศัพทธ์อื่นๆ เชิงการเงินอีกเช่นพวก คำนวณ Intrinsic Value แต่ผมว่ามันซับซ้อนเกิ๊น

Q : แล้ว Warrant ให้ผลตอบแทนที่แตกต่างจากลงทุนในหุ้นสามัญ (หุ้นแม่) อย่างไร?
A : กลับ มาที่ ตย. JAS  ทำเป็นตารางให้ดูครับ
โดยขอยกตัวอย่าง สมมติว่า ราคา JAS-w3 เป็นไปตามราคาแปลงเป็นหุ้นแม่
คือ  ราคา JAS-w3 = ราคา JAS ณ ปัจจุบัน x อัตราการใช้สิทธิ - 4.3 บาท/หุ้น
                         = 5.25-4.3 = 0.95 บาท/หุ้น
(แต่ในปัจจุบัน JAS-w3 มี Premium)

จะเห็นได้ว่า ราคา Warant ขึ้นลงเยอะกว่าในสัดส่วนที่สูงกว่าหุ้นแม่ มาก
คือ ขึ้นลงด้วย "อัตราทด" หรือ Gearing Ratio => ในกรณีนี้คือ 5.5 เท่า
ในกรณีนี้ หากหุ้นแม่ขึ้น 2.9% Warrant จะขึ้น  5.5 เท่า คือ 15.8%
ในทางตรงกันข้าม ก็ลบหนักๆ ได้เหมือนกัน
ดังนั้น ควรเลือกลงทุนใน Warrant ด้วยความระมัดระวังมากๆ


Q : จะข้อมูล Warrant หาได้จากที่ไหน?
A : แนะนำ Website http://siamchart.com/stock/W (เครดิตคุณ vim ThaiVI)
ทำเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ ของ Warrant ไว้ดีมากๆ
แต่จุดสำคัญคือ ควรศึกษาหุ้นแม้ ที่ออก Warrant ให้ดีก่อนลงทุน Warrant

Q : แล้วเวลาเลือกลงทุนใน Warrant ต้องดูอะไรบ้าง?
A : สิ่งสำคัญที่ผมใช้พิจารณาเวลาเลือกลงทุนใน Warrant ก็คือ
1. หุ้นแม่ต้องน่าสนใจ
- บริษัททำอะไร?
- วัตถุประสงค์ที่แจก Warrant คืออะไร?
เช่น หากมีแผนว่าจะต้องใช้เงินในอนาคต เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัท
อันนี้ก็น่าสนใจ, แต่ตรงกันข้าม หากออก Warrant มาเพื่อปั่นหุ้นแม่ อันนี้ก็น่ากลัว
ผมชอบบริษัทที่มี Warrant เพียง 1 ตัวเท่านั้น
และพยายามหลีกเลี่ยงบริษัทที่มี Warrant หลายๆ ตัว และออกถี่ๆ ทุกปี
- ราคาของบริษัทแม่ (รวมมูลค่าของลูก Warrant แล้ว) ก็ต้องน่าสนใจ
ไม่แพงเว่อร์ แบบ ซื้อชาตินี้ ถอนทุนคืนได้ชาติหน้า

2. อายุ Warrant ต้องมีเหลือพอสมควร
- หลีกเลี่ยงการลงทุนใน Warrant ที่อายุน้อยกว่า 1 ปี
ผมชอบการลงทุนที่มีเวลาเป็นเพื่อน คือ ให้โอกาสบริษัทได้แสดงผลงานออกมา ซึ่งต้องใช้เวลา
ดังนั้น การลงทุนใน Warrant ที่มีอายุน้อยเกินไป อาจมีความเสี่ยงอย่างมาก
ถ้าผลประกอบการของบริษัท ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้
โดยเฉพาะ  Warrant ที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน อันนี้เสี่ยงมากๆ
Warrant ที่หุ้นแม่ทำผลงาน ย่ำแย่
จะมีราคาลดลงอย่างรวดเร็ว จนมีค่าเพียงเศษกระดาษ
ซึ่งช่วงนี้ราคา Warrant จะผันผวนมาก
บางที นักเก็(ร)ง กำไร ก็อาจจะชอบเล่นกัน แต่ผมขอบาย

3. ราคา Warrant ไม่แพงเว่อร์ จนเกินไป
- เพื่อไม่ให้เจ็บตัวมาก ผมพยายามมองหา Warrant
ที่เมื่อรวมราคาแปลงแล้ว มูลค่าใกล้เคียงกับหุ้นแม่
ไม่ In the money หรือ Out of money มากจนเกินไป
- สำหรับ Warrant ที่ In the money มากๆ อาจเกิดจาก
อายุเหลือน้อย
หรือ บริษัทแม่มีการจ่ายปันผลที่มาก แต่ Warrant ไม่ได้รับปันผล
หรือ หุ้นแม่อาจลงมาหาลูกได้อีก
- สำหรับ Warrant ที่ Out of money มากๆ อาจเกิดจาก
อายุเหลืออีกนาน
หรือ หุ้นแม่กำลัง Hot
หรือ หุ้นแม่ราคาต่ำเตี้ยติดดิน ออกลูก Warrant มากินตังเม่า

Q : แล้วจะลงทุน Warrant ในสัดส่วนเท่าไหร่ของ Port ดี?
A : อันนี้ก็แล้วแต่โอกาส และความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนแต่ละท่าน
แต่โดยทั่วไปแล้ว ข้อแนะนำง่ายๆ ก็คือ
ควรลงทุน Warrant ในสัดส่วนที่คิดว่าสามารถหาเงินมาจ่ายค่าแปลง Warrant เป็นหุ้นแม่ได้
ตัวอย่าง เช่น
- หุ้นบริษัท XYZ ราคา 3 บาท/หุ้น
- XYZ-w1 ราคา 2 บาท/หุ้น, อัตราใช้สิทธิ 1:1, Exercise Price 1 บาท/หุ้น
- หากเราอยากลงทุนใน XYZ ด้วยเงินเงิน 300,000 บาท ก็จะได้ 100,000 หุ้น
- แต่เนื่องจากมีทางเลือกเป็น XYZ-w1 ซึ่งใช้เงินเพียง 200,000 บาทซื้อ 100,000 หุ้นเท่ากัน
ดังนั้นเราก็อาจเลือกซิ้อ XYZ-w1 แทน และสามารถเก็บเงิน 100,000 บาทที่เหลือ
ไว้เป็นสภาพคล่องได้

- บางคนอาจมั่นใจ ซื้อ XYZ-w1 ทั้งหมด 300,000 บาท เลยก็ได้
(แล้วแต่ Risk Appetite ของแต่ละคน แต่ผมขี้กลัว ;p)


Q : ผลตอบแทนย้อนหลังของ Warrant?
A : อย่างที่บอกไปว่า Warrant ก็จะมีราคาขึ้นลงสัมพันธ์กับหุ้นแม่
แต่ขึ้นลงแบบมีอัตราทด ซึ่งผลตอบแทนก็หวือหวามากเลยหล่ะ
(เลือกผิดตัว อาจร้องไห้หนักมาก)
ลองไปดูผลตอบแทน 3 เดือน ย้อนหลัง กันครับ




Q : แล้ว Derivative Warrant (DW) หล่ะ?
A : หลักทรัพย์จำพวกนี้ คือ Option ที่ออกโดย Broker
เป็นหลักทรัพย์ที่อ้างอิงราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เฉยๆ
ไม่สามารถแปลงเป็นหุ้นสามัญได้
หลักการก็คล้ายๆ Warrant แต่มีทั้งขา Call (คิดว่าหุ้นจะขึ้น) และขา Put (คิดว่าหุ้นจะลง)
ซึ่ง DW นี้ คล้ายๆ กับการเล่นพนันกับเจ้า (ฺBroker)
ไม่ได้มีมูลค่าเพิ่มใดๆ

**การลงทุน มีความเสี่ยง คิดให้รอบคอบก่อนลงทุนครับ**

2 comments:

  1. หุ้นลงรอบนี้ warrant ลงหนักเลย (ฮ่า)
    ลองไปหา warrant ที่น่าสนใจเก็บใส่ Watch list โดยพลัน
    http://siamchart.com/stock/W

    ReplyDelete
  2. มุมมองอีกด้านหนึ่งจาก อ.นิเวศน์ ครับ
    https://www.facebook.com/viboon.pungprasert/posts/1116754628339220:0

    ReplyDelete

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...