Never-Never Land
ยังจำภาพความทรงจำในสมัยเด็กกันได้ไหม ;p
ภาพเด็กหนุ่มที่ชื่อ "ปีเตอร์แพน" เด็กที่มีพลังพิเศษ สามารถบินได้ และสามารถปฏิเสธ ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ พร้อมด้วยนางฟ้า "ทิงเกอร์เบล" มาชักชวนสาวน้อย "เวนดี้" ให้ไปช่วยดูแลเหล่าเด็กกำพร้าในเกาะที่เขาอาศัยอยู่ เป็นเกาะแห่งความฝันกลางทะเลแดนไกล ซึ่งมีชื่อว่า "Never Land" ซึ่งท่ามกลางภาพลักษณ์ที่สวยงามของ "เกาะแห่งความฝัน" นั้น ก็แฝงไปด้วยภัยร้ายต่างๆ ที่พวกเขาจะต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็น เหล่าโจรสลัดที่มี "กัปตันฮุค" เป็นแกนนำ และจระเข้ 'ติ๊กต๊อก' ที่แสนจะดุร้าย?
ซึ่งในท้ายที่สุดพวกเขาก็สามารถเอาชนะโจรสลัด และอยู่ใน Never Land อย่างสงบสุข...
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ อ.Ken Fisher ก็บอกว่าในตลาดหุ้น ก็มี Never Land อยู่เหมือนกัน แต่เป็น never-never land แล้วไอ่ never-never land นี่มันคืออะไร? ไปดูกันครับ
เท้าความตอนที่แล้วกันหน่อย
(หากท่านใดยังไม่ได้อ่าน ลองไปอ่านได้ที่
http://kongkiti.blogspot.com/2012/08/my-notes-super-stocks-kenneth-l-fisher.html)
หนังสือ Super Stocks มีผลการศึกษาที่ว่า บริษัทขนาดเล็กอาจมี PSR อยู่ในช่วงที่กว้างมาก แต่พอบริษัทใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ค่า PSR ก็จะมีแนวโน้มที่ลดลง ซึ่งในหนังสือก็ได้นำเสนอผลงานวิจัยนี้ ตามตารางด้านล่าง
สิ่งที่น่าสนใจจากตารางนี้
- แสดงจำนวนบริษัท ที่มี ยอดขาย และ PSR อยู่ในช่วงต่างๆ
- ยกตัวอย่าง บริษัท ที่มียอดขายอยู่ในช่วง 0-100 ล้านเหรียญสหรัฐ ทีี่มี PSR = 0-1 มีจำนวน 8 บริษัท (จากทั้งหมด 117 บริษัท)
- แสดงประ ทะแยงมุม ในตาราง คือเส้นแสดงขอบเขตระหว่างบริษัทส่วนใหญ่ และส่วนน้อย โดยกลุ่มบริษัทส่วนน้อยซึ่งอยู่ทางขวาล่างของตาราง Ken Fisher ให้ชื่อเรียกว่า "never-never land" หรือดินแดนที่ไม่ควรไปยุ่งเกี่ยว (ซื้อหุ้น)
- Logic ก็คือ หุ้นที่อยู่ใน never-never land เป็นหุ้นที่ราคาเทียบกับมูลค่าของกิจการค่อนข้างแพง ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่า ราคาหุ้นจะไม่สามารถเพิ่มได้อีก แต่จะมีโอกาสที่จะ "overprice" คือ อาจได้ไม่คุ้มเสีย
- ตารางนี้แสดงให้เห็นเพิ่มเติมว่า ยิ่งบริษัทเติบโตมากขึ้นเท่าไหร่ แนวโน้ม PSR ที่ตลาดให้ ก็จะยิ่งลดน้อยลงเรื่อยๆ คือ บริษัทใหญ่ๆ จะมาคาดหวังให้เติบโต 30% ต่อปี ต่อเนื่อง ก็ค่อนข้างยาก ยกตัวอย่างง่ายๆ บริษัทขนาดเล็ก ยอดขาย 1,000 ล้านบาท เติบโต 30% ก็ 300 ล้านบาท ก็น่าจะเป็นไปได้ แต่หากบริษัทขนาดใหญ่ยอดขาย 100,000 ล้านบาท หากจะเติบโต 30% ก็จะต้องทำยอดขายเพิ่มถึง 30,000 ล้านบาท ซึ่งหากเทียบการเติบโตเฉพาะในประเทศอย่างเดียวก็อาจจะค่อนข้างยาก ยกเว้นว่าจะเป็น Super Company จริงๆ
จากตารางนี้ผมก็ลองทดสอบสมมติฐานเบื้องต้น โดยเอาข้อมูลบริษัทจดทะเบียนทั้ง SET+Mai มาใส่ตารางดู ก็ได้ข้อมูลตามตารางด้านล่างครับ
- ข้อมูลในตารางใช้ ยอดขายปี 2011 ส่วนราคาตอนที่ดึงใช้ข้อมูลวันที่ 3/8/12 นะครับ อาจไม่เป๊ะซักทีเดียวแต่ก็พอดูเป็น Trend ได้ (ไว้ขึ้นปีใหม่จะดึงข้อมูลใหม่อีกที)
- จะเห็นได้ว่า ผลก็คล้ายๆ กับตารางในหนังสือ Super Stocks คือ Zone สีแดง never-never land ก็จะอยู่ทางขวาล่างของตาราง คือ มีบริษัทเพียงส่วนน้อย ซึ่งได้รับความคาดหวังสูง หรือ PSR สูง ลองยกตัวอย่าง บริษัทขนาดใหญ่ ยอดขาย > 100,000 MB ที่มี PSR = 4-5 ในตารางมี 2 บริษัทคือ SCB และ Advance
- จากข้อมูลนี้ หากลองนำไปตรวจสอบบริษัทที่อยู่ใน Port ของเราดูว่าอยู่ใน never-never land นี้ด้วยรึเปล่า หากใช่ ก็คงต้องคิดต่อว่าบริษัทที่ถืออยู่ ยังมีแนวโน้มการเติบโต ตามที่ตลาดคาดหวังหรือไม่ และเป็น Super Company จริงๆ รึเปล่า หากได้คำตอบว่า "ไม่" ก็คงต้องทบทวนกันใหม่ ในทางกลับกัน หากเลือกบริษัทที่อยู่ใน Zone สีเขียว ก็ถือว่ามีความปลอดภัยในการลงทุนพอสมควร ซึ่งหากใช้ประกอบกับการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ก็น่าจะทำให้เราเจอ Super Stock ได้ง่ายขึ้นครับ
จากตอนที่ 1 และ 2 หวังว่าเพื่อนๆ จะได้เห็นประเด็น ความสำคัญของยอดขาย (รายได้) และการนำ PSR ไปใช้งาน ได้ไม่มากก็น้อย ไว้คราวหน้าจะมาสรุปประเด็นสุดท้าย คือ เรื่องอัตราการทำกำไร ครับ
บริษัทที่เป็น never-never land อยู่โซน "ขวาล่าง" ไม่ใช่เหรอครับ
ReplyDeleteแต่ทำไมคุณ Mr.K เขียนว่า "Super Stocks คือ Zone สีแดง never-never land ก็จะอยู่ทางซ้ายล่างของตาราง"
แก้แล้วนะครับ ^^
ReplyDeleteขออนุญาติตามศึกษาไปด้วยคนค่ะ ขอบคุณมากที่ให้โอกาสแชร์ค่ะ
ReplyDeleteด้วยความยินดีครับ ^^
ReplyDeleteรบกวนถามแบบเด็กอนุบาลว่า เราจะสามารถหา PSR Price Sales Ratio ได้อย่างไรคะ ราคาหุ้น (Price)หารด้วย ตัวเลขอะไรเป็น Sales คะ? ใช่ EPS ไม๊คะ?(ขอทั้งภาษาไทย และอังกฤษค่ะ) ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
ReplyDeletePrice Sales Ratio (PSR) = Price (ราคาหุ้น) / Sales (ยอดขาย)
ReplyDeleteการคำนวณหา PSR Step by Step ตามนี้ครับ (ข้อมูลทั้งหมดหาได้จากเวบ หาจาก www.set.or.th เลยครับ)
1. ราคาหุ้น (Price per Share) หน่วย [บาท/หุ้น]
2. จำนวนหุ้น ทั้งหมด (รวม Warrant, หุ้นบุริมสิทธิ, อื่นๆ) หน่วย [หุ้น]
3. เอาข้อ 1 x 2 จะได้ค่า Price (ราคาหุ้น-ราคาที่เราจ่ายเพื่อซื้อบริษัททั้งบริษัท) จริงๆ ควรจะเรียกว่า มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) มากกว่า หน่วย [บาท]
4. หา Sales (ยอดขาย) ล่าสุด หน่วย [บาท]
5. เอาข้อ 3/4 ก็จะได้ PSR ครับ ไม่มีหน่วย
ยกตัวอย่างนะครับ
หุ้น CPALL : บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) -> 7-eleven
1. ราคาหุ้น = 34 บาท/หุ้น (วันที่ 24/8/55)
2. จำนวนหุ้น (ชำระแล้ว) = 8,983.101 ล้านหุ้น
3. มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด = 34 x 8,983 = 305,425 ล้านบาท
4. ยอดขายปี 55 ครึ่งปี = 92,398 ล้านบาท คิดเต็มปีประมาณคร่าวๆ ก็ x 2 ได้ยอดขาย = 184,796 ล้านบาท
5. PSR = 305,425/184,796 = 1.65 ครับ
พอไหวไหมครับ สงสัยถามเพิ่มได้เลยนะครับ ^^
This comment has been removed by a blog administrator.
ReplyDelete