Friday, February 19, 2016

TNP ราคาถูกจริง ช้อปปิ๊งถูกใจ อยู่ใกล้บ้านคุณ

สรุปจาก Oppday
- ประวัติความเป็นมา

- เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะอยากเติบโตด้วยความมั่งคง อยากมีระบบตรวจสอบภายในที่ดี รองรับการขยายสาขาในอนาคต
- ร้านค้าแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ค้าส่งแบบ Makro 1 ที่ ร้านสะดวกซื้อ 11 ที่
- ปี 2559 มีแผนขยาย 3 สาขา และ DC แห่งใหม่ 1 แห่ง

- ผลดำเนินงาน

- ไตรมาส 4 เป็น High Season ฤดูท่องเที่ยว, Supplier ต่างๆ พยายามปิดยอดขาย, แถมมี Rebate ด้วย ดังนั้น กำไรสุทธิ อาจเทียบเป็นฐานไตรมาสถัดๆไปทั้งปีไม่ได้ ต้องดู yoy
- โครงสร้างเงินทุน และ ROE & ROA

Q&A
1) เงิน Rebate เป็นการส่งเสริมการขาย คิดเป็น %ต่อยอดขาย (ตั้งแต่ 1-4%)  ซึ่งแต่ละปีก็จะ deal ต่างกันไป บาง Supplier ก็จะมีแบบ Progressive Rate คือยิ่งซื้อมาก ปีนี้หลาย Supplier เริ่มเพิ่มงบเข้ามาหา TNP เพราะบริษัทมีการเติบโตดีที่สุดในภาคเหนือ และหลังจากเข้าตลาด TNP ดู Professional มากขึ้น ตอนนี้มองเป็น "Local Modern Trade" ไม่ใช่ "โชว์ห่วย"

2) Rebate หักออกจาก Cost of Good Sold

3) ปัจจุบัน Cash Cycle อยู่ที่ ประมาณ 22 วัน ส่วนหนึ่งมีลูกหนี้จากการขายส่ง ในอนาคตการขยายสัดส่วนร้านค้าปลีกจะทำให้ Cash Cycle ลดลง

4) ปัจจุบัน Credit Supplier อยู่ที่ 37 วัน, หลังจากได้เงิน IPO มาก็เอาไปจ่ายชำระ Supplier เพื่อให้ได้ส่วนลด ทำให้ Gross Profit ดีขึ้น

5) ร้านค้าท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็นลูกค้า TNP อยู่แล้ว, ส่วน Modern Trade TNP มองเป็น Model ที่ทาง TNP อยากพัฒนา ให้แข่งกับเขาได้ อีกประเด็น TNP ชอบไปเปิดติดกับ 7-11 เพราะแม่บ้าน จะมาซื้อสินค้าชิ้นใหญ่ๆ ที่ TNP (เพราะ 7-11 จะขายของชิ้นเล็กๆ และราคาแพงกว่า)

6) sssg drop ไปเนื่องจาก ก่อนเข้า IPO ต้องมีการตรวจสอบต่างๆ เพิ่มขึ้นมากเป็นพิเศษ เพื่อเตรียมตัวเข้าตลาด และการขยายสาขาใหม่ อาจมีการ Cannibalize กันเองบ้าง ส่วนใน Q4 sssg กลับมาดีแล้ว

7) Admin cost เพิ่มเพราะ มีการปรับโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานให้เป็นมาตรฐาน และรับผู้บริหารเพิ่ม แต่ในอนาคตจะมีสัดส่วนที่ลดลง หากยอดขายเพิ่มขึ้น

8) ไตรมาส 1 ปี 2559 จากที่เห็นตัวเลข sssg เดือน มค. ยอดเป็นที่พอใจ อยู่ใน Trend ตามกราฟ

9) Modern trade ทำ Size 10,000-20,000 ตร.ม. แต่ของ TNP ทำร้านขนาดเพียงแค่ 200-700 ตร.ม. แต่ทำสินค้า 15,000 sku ได้พอๆกับ BigC size ใหญ่ และทำโปรโมชั่นได้เหมือนกัน ส่วน Model ธุรกิจ ของ Local Modern Trade ไม่เหมือน CJ และ SuperCheap, ผบห. คิดว่า TNP อยู่ระหว่าง BigC กับ 7-11

10) Lotus Express กับ Mini BigC  มีสินค้าไม่เกิน 5,000 sku และพื้นที่ 100-300 ตร.ม. ซึ่งทาง TNP แข่งขันได้ดีกว่า สินค้าเยอะกว่า ราคาถูกกว่า อยู่ติดถนน สามารถซื้อ size ใหญ่ได้เลย สินค้าอุปโภคมีจำนวนมากกว่า สินค้าในร้าน TNP มีตั้งแต่ size เล็กๆ จนถึง size ใหญ่

11) 7-11 ขนาด 100-200 ตร.ม. มีสินค้า 3,000 sku

12) ปี 2557 มีค่าใช้จ่ายเปิด 3 สาขา เพิ่มช่วงปลายปี, ส่วนปี 2558 มีการปรับโครงสร้างเงินเดือนพนักงาน
13) กลยุทธ์การเปิดสาขา จะเน้นในจังหวัดเชียงราย ตอนนี้มี 18 อำเภอ, TNP เปิดแค่ 5 อำเภอ อีกทั้งอยู่ติดพม่า และลาว จึงคิดว่าโอกาสการเปิดสาขาขึนไปที่พม่าและลาว อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษพึ่งประกาศเมื่อไม่กี่เดือน นี้เอง ดีกว่าขยายสาขาลงข้างล่าง แต่ต้องบอกว่าตลาดในเชียงรายไม่เหมือนกรุงเทพฯ ยังมีสัดส่วนของตลาดสดเยอะ คนเชียงรายยังซื้อของในตลาดสดอยู่ โดย TNP จะไปอยู่ใกล้ๆ ตลาด ทาง TNP ยังไม่อยากให้ธุรกิจของตลาดสดหายไป จะเป็นการกินรวบ

14) ราคาสินค้า TNP พอๆกับ Makro, BigC, Lotus และบางรายการราคาถูกกว่า

15) ไตรมาส 4 อยู่ที่ 24,000 บิล/สาขา/เดือน ถ้าดูไตรมาส 1 อยู่ที่ 23,000 บิล/สาขา/เดือน

16) เดิมเศรษฐกิจหลักของเชียงราย คือ ข้าว ชา กาแฟ แต่ปีนี้ กลายเป็นเมืองท่องเที่ยว โรงแรมเต็มถึงเดือน มี.ค.58 และมีนักท่องเที่ยวจากจีนขับรถข้ามมา เข้ามาจับจ่ายซื้อของ และมีคนเริ่มย้ายจากจังหวัดต่างๆ เข้ามาอยู่เชียงราย 

17) หน้าหนาว มาช้ากว่าปีก่อน ทำให้การจับจ่ายพันเข้ามาใน Q1 ค่อนข้างเยอะ

18) เป้าหมาย NPM ปี 2559 น่าจะสูงกว่า ปี 2558 และ GPM จะเพิ่มขึ้นเพราะ Size ใหญ่ขึ้น การเจรจาต่อรองดีขึ้น ค่าเช่าสาขาเพิ่มขึ้น 

19) ค้าปลีก ได้ GP ที่ดีกว่า ค้าส่ง เท่าตัว

20) เงินสดจาก IPO เบื้องต้นเอาไปฝากเงินลงทุนระยะสั้น บางส่วนจ่ายชำระ Supplier ให้ได้ GP ดีขึ้น

21) หากแบ่งสาขาเป็น Size เล็ก (<300 ตร.ม.) กลาง  (400-500 ตร.ม.) ใหญ่ (700 ตร.ม.) ปีนี้ คาดว่าจะเปิด ขนาดกลาง 1 สาขา และขนาดเล็ก 2 สาขา รายได้สาขาเล็ก ประมาณ 5 ล้านบาท /เดือน, สาขากลาง 7-8 ล้านบาท/เดือน

22) อนาคตคิดว่าเปิดสาขาได้ทุกอำเภอในเชียงราย บางอำเถอเปิดได้มากกว่า 1 สาขา

23) โปรแกรม Business Plus เป็น Program ที่ร้านค้าปลีกของคนไทยใช้ทั่วประเทศ และ TNP เขียนโปรแกรมชื่อ "เติมเต็ม" ร้านค้าจะส่งว่าขายอะไร ได้เท่าไหร่บ้าง ส่งไปให้สำนักงานใหญ่ จะช่วยเติมสินค้าตลอดเวลา ช่วยให้สินค้าใหม่ และป้องกันการทุจริต

24) DC เดิมมีพื้นที่ 3,000 ตร.ม. ของใหม่ 9,000-10,000 ตร.ม. รองรับได้อีก 55 สาขา ในอนาคต

25) สาขาที่อยู่ในเมือง Size 200 ตร.ม. ก็จริง แต่ยอดขายก็อันดับต้นๆ ถือว่า Size กลาง

26) พื้นที่ร้านปัจจุบัน ครึ่งๆ ระหว่างเช่า กับ ซื้อ แต่ในอนาคตจะเน้นเช่า

27) ฺBigC ปัจจุบันมี 1 สาขา มีแผนงานจะสร้างอีก 1 สาขา 

28) TNP ก๊อป BigC มาหมดเรื่องสินค้า แต่ต่างที่เป็นร้านสะดวกซื้อ

29) TNP กับ 7-11 อยู่ด้วยกัน ช่วยกันดึงคน ลูกค้าคนละกลุ่ม TNP size แม่บ้าน

30) สินค้าใน TNP แบ่งเป็น 10 กลุ่ม ขายดีสุดคือเครื่องครัว (10%) รองลงมา น้ำขวด (9%)

31) Rebate มีการตั้ง Accrued รายเดือน แต่ Q4 เข้ามาเยอะ เพราะฤดูหนาว

32) เน้นการขยายสาขาค้าปลีก, ค้าส่ง รายได้ 2558 อยู่ที่ประมาณ 250 ล้านบาท (25%ของรายได้รวม)

#จบ

Tuesday, February 16, 2016

ACAP เล็กแต่เผ็ด (นะค่ะ)

ACAP กับการออก Opportunity day ครั้งแรก
มาครั้งแรกแต่ออกตัวแรงมากๆ ชี้เป้าทั้งรายได้ กำไร และ PE เป้าหมายไปพร้อมๆ กันเลย

ขอสรุปแบบสั้นๆ ละกันครับ

บริษัทลูก
- OK Cash ปล่อยสินเชื่อ ต่างๆ มากมาย ทั้ง Corporate, Retail  (ผู้ผลิตสินค้าเช่นตู้เติมเงิน), และ Short term loan

- Capital OK : แข่งขันกับ Bank ยาก แต่กำลังลุ้นเงินทุนญี่ปุ่น มาสนับสนุนการปล่อยกู้
- Global Service Center : Call center, Debt collection ปัจจุบันขยายงานดี เพราะลดราคาลงมาให้เข้ากับความต้องการตลาด
- ACAP consulting : ปัจจุบัน Monitor เงินสด ของสหฟาร์ม
- AMC : Asset management ซื้อหนี้มาบริหารได้

เป้าหมายธุรกิจ
- ปี 2016 จะออกหุ้นกู้ 2,000 ล้านบาท มาปล่อยกู้ ตามรูปนี้เลย (เป็นที่ฮือฮามากกับ Slide นี้)

- ต้องการให้ EPS สูง ราคาดี ผลประกอบการดี (น่าจะมี) ปันผล

Q&A
1. ปีที่แล้ว ใน Q2/15 ปล่อยไปเจ้าเดียว 350 ล้านบาท ต้องมี Collateral Asset อย่างน้อย 2 เท่า แต่สินทรัพย์ที่เอามาวาง 1,300 ล้านบาท

2. ปล่อยกู้โดยจับมือกับผู้ผลิตสินค้า ให้ลูกค้าที่มี Purchasing Power ไม่พอ แต่ก็ผู้ผลิตสินค้าก็ต้องร่วมรับผิดชอบกับ Finance ด้วย เช่น Buy Back Guarantee

3. หุ้นกู้ 1,000 ล้านบาท จะปล่อยกู้ Corporate Best case 4 เดือนก็เต็มวงเงินแล้ว (อีกไม่กี่วัน จะปล่อยกู้ 400 ล้านบาท) จริงๆ การปล่อยกู้เป็นศิลปะ แต่คาดว่าจะใช้เวลาปล่อย 6 เดือน

4. หุ้นกู้ Retail เบื้องต้นตั้งไว้ 600 ล้านบาท แต่ตอนนี้มีรายย่อยผู้ผลิตสินค้าวิ่งหา Bank แล้วไม่ช่วย ทาง ACAP ยินดีช่วย คิดว่าจะขยับ 600 -> 1,000 ล้านบาท

5. เงินกู้ 400 ล้านบาท คาดว่าจะปล่อยบริษัทเดียว สอนทรัพย์เกิน 2 เท่า

6. ปล่อยกู้ผู้ประกอบการ จ่ายร่วมๆ กันมากกว่า 15%  ต่อปี โดยหลักเกณฑ์การปล่อยกู้ ก็จะเป็น 6 เดือน + ต่อเวลาอีก 6 เดือน

7. นอกจาก Collateral ไม่ต่ำกว่า 2 เท่า สมมติ 100 บาท หักดอกเบี้ย 15 บาท ก็ปล่อยกู้ไป 85 บาท แต่มีสินทรัพย์ 200 บาท ก็ต้องดูว่าลูกหนี้ จะจ่ายคืนอย่างไร / ส่วนผู้ผลิตตู้เติมเงิน ก็เป็นการปล่อยกู้ไปทำมาหากิน (รู้สึกคุ้นๆ กับกิจการนี้)

8. คุณเฉลิมไชย เน้นว่า ACAP เองยัง Conservative อยู่ ที่ผ่านมาทำธุรกิจ มาหลายอย่าง แต่พอทีมใหม่เข้ามา ครั้งแรกก็ดูธุรกิจเดิม เช่น พวกซื้อพอร์ท มาบริหารหนี้ แต่สู้ JMT, SAM ไม่ได้ ก็เลยคิดว่าธุรกิจที่กำลังทำอยู่ เป็นการอุดช่องว่างของการปล่อยสินเชื่อ เพราะ Bank Collateral ดูเป็นประเด็นรอง เน้นการปล่อยกู้ long term ซึ่งลูกค้า อาจไปกู้นอกระบบ แต่ก็จะได้เงินไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย และดอกเบี้ยสูงมาก

9. บริษัทไม่มี NPL มีแต่ NPA (Non Performing Asset) เพราะมี Collateral Asset

10. ACAP เป็น Non-Bank ไม่ต้องตั้งสำรอง จนกว่าจะมีเรื่องของการฟ้องร้อง หรือผิดนัดชำระหนี้ แต่เนื่องจากมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน Provision ก็ยังไม่ถูกตั้ง

11. ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำไม่ได้ตามเป้าหมาย ก็คือ เรื่องเงินปล่อยกู้ หรือ ลูกค้าไม่มาขอสินเชื่อเรา ซึ่ง ณ ช่วงเวลานี้ไม่มีความกังวล

12. หากเก็บหนี้ไม่ได้ การยึดสินทรัพย์ทาง ACAP สามารถทำได้ทันที เนื่องจากการปล่อยกู้เป็นการ "ขายฝาก" ซึ่งต่างกับ "การจดจำนอง" ที่จะต้องไปฟ้องเอาต้องใช้เวลานานมาก และเวลาขาย ก็ดูสถานะบริษัทช่วงนั้นๆ ว่าขายถูกๆ เพื่อเอาเงินไปปล่อยกู้ต่อดีหรือไม่ ส่วนเวลาประเมินหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยจะประเมินราคาต่ำ และหารครึ่ง หรือหาร 4 โดยหากยึดหลักทรัพย์เป็นสินทรัพย์ได้ แต่หากขาดสภาพคล่อง ก็สามารถขายทิ้งได้

13. ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ Capital OK เกิดจากความสามารถทางการแข่งขันสู้ไม่ได้ ทั้งฝั่งปล่อยกู้ส่วนบุคคล และบัตรเครดิต ซึ่ง ผบห.พิจารณาว่า ไปเน้นเก็บหนี้พอร์ทที่ค้างอยู่เดิมดีกว่า ไม่ต้องไปแข่งกับเจ้าอื่นๆ แล้วก็ขายพอร์ทที่เหลือ ให้ JMT ไป

14. Strategic Partner สนใจ ACAP มาก อยากเข้ามาไทย เพื่อจะบุก CLMV มีความพร้อม, มี License, มี Data เดิม, มีบุคลากร Local กำลัง Work เรื่องมาลงทุนกับ Capital OK

รายชื่อผู้ถือหุ้น

ประกาศ แตกพาร์, เพิ่มทุน, แจกวอร์

---------------------------------------------------
วันที่/เวลา
16 ก.พ. 2559 19:21:49





   ##ขอสรุปเพียงเท่านี้ สรุปตกหล่นประการใด ขออภัยด้วย##

Saturday, February 13, 2016

ข้อมูลเกี่ยวกับ Cloud Computing

ลองศึกษาหาความรู้เพิ่มเกี่ยวกับ Cloud Computing ครับ

1) เปรียบเทียบ Dedicated server, VPS และ Cloud
ความรู้เบื้องต้นครับ

2) กลยุทธ์การเลือกใช้ IaaS Cloud Service Provider
น่าสนใจครับ มีเปรียบเทียบ Cloud Service Provider ทั้งในไทย และต่างประเทศ

3) สรุปการบรรยายงาน IT Trends: Strategic Planning for 2016 และ Slides
มี Slide เกี่ยวกับ IT Trends ที่น่าติดตามเยอะมาก

Friday, February 5, 2016

Case Study BCP ซื้อกิจการ Solar Farm ในประเทศญี่ปุ่น

BCP เข้าซื้อกิจการ โรงไฟฟ้า ในประเทศญี่ปุ่น
เอาไว้เป็น Reference ครับ
____________________________________

วันที่/เวลา 01 ก.พ. 2559 12:30:00
หัวข้อข่าว แจ้งการเข้าซื้อกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่น
หลักทรัพย์ BCP
แหล่งข่าว BCP
http://www.set.or.th/set/newsdetails.do?newsId=14542835450081&language=th&country=TH

____________________________________

เนื้อหาโดยสรุป 

1) ซื้อกิจการทั้งหมดของกลุ่ม SunEdison มูลค่ารวม 9,626 ล้านเยน (2,915 ล้านบาท) ประกอบด้วย รฟฟ.Solar 198 MW
- เปิดดำเนินการแล้ว 13 MW
- ระหว่างก่อสร้าง 27 MW
- ระหว่างการพัฒนา 158 MW

2) กลุ่ม SunEdison ประกอบด้วย
2.1 SunEdison  Japan Corporation
- ส่วนทุนของ 489 ล้านเยน (148 ล้านบาท), ทรัพย์สินรวม 2,703 ล้านเยน (819 ล้านบาท)
- มีโครงการ Solar ระหว่างการพัฒนา 185 MW
2.2 SunEdison Japan Debt Financing
- ส่วนทุนประมาณ 67 ล้านบาท, ทรัพย์สินรวม 70 ล้านบาท
- มี รฟฟ.Solar ในญี่ปุ่น 3 MW
2.3 SunEdison TK Investor 1
- ส่วนทุนประมาณ 188 ล้านบาท, ทรัพย์สินรวม 188 ล้านบาท
- มี รฟฟ.Solar ในญี่ปุ่น 10 MW

3) ชำระเงิน แบ่งเป็น 2 ส่วน
3.1 ชำระเงินครั้งแรก วงเงินไม่เกิน 4,141 ล้านเยน (1,245 ล้านบาท)
อิงจากมูลค่าโครงการที่เสร็จแล้ว และมีความพร้อมก่อสร้าง 63 MW (20 MB/MW)
3.2 ส่วนที่เหลือ ชำระตามเงื่อนไขความสำเร็จแต่ละ โครงการ

Monday, February 1, 2016

เลือกบริษัทที่จะลงทุนโดยใช้ Jitta

เพื่อนๆ ที่อ่านหนังสือการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนแบบเน้นคุณค่า หรือ Value Investor
คงเคยได้ยินชื่อ Website ValueLine 
โดย ValueLine เป็น Website ที่รวบรวมผลประกอบการของแต่ละบริษัทในสหรัฐอเมริกา ย้อนหลังกันเป็น 10 ปี
รวมไปถึงบทความ และความรู้ต่างๆ เกียวกับการลงทุน

แต่ช่วงปี สองปีที่ผ่านมา (ไม่แน่ใจ) ได้มี Start-up คนไทย ทำ Website แนวเดียวกับ ValueLine
และที่เหนือไปกว่านั้น ก็คือ มีการคำนวณหาราคา Fair Price ให้ด้วย!
Website นั้นก็คือ Jitta ใครสนใจลองไปฟังคลิป Money Talk กันดูก่อน


Jitta นั้น มีหุ้นครอบคลุมทั้งตลาด US, ไทย, สิงคโปร์
และที่พิเศษสุดก็คือ ตลาดหุ้นเวียดนาม!! ถูกใจเหล่า VI แห่งสยามประเทศ มากๆ

ซึ่ง Jitta ช่วงนี้ ก็เริ่มมีการเก็บค่าบริการเป็นรายเดือน / รายปีแล้ว
(ดูฟรีเฉพาะ SET50 และ S&P500)

แต่ช้าก่อน!
ช่วงนี้ Jitta มี Promotion พิเศษ ใครที่อยากเป็น Membership ฟรี 1 เดือน
เดี๋ยวผมช่วย Invite ได้นะครับ (แต่มีเหลือแค่ 4 invite นะครับ)
หลังไมล์ มาที่ email เลย


Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...