Saturday, June 23, 2012

Market Cap เล็ก หรือ ใหญ่ ดี?

สำหรับการลงทุนใน "หุ้น" โดยชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า "หุ้น" ก็คือ "หุ้นส่วน" ซึ่งก็คือ การที่นักลงทุนจ่ายเงินเพื่อร่วมเป็นเจ้าของกิจการ แต่คนส่วนใหญ่ ก็ยังใช้คำว่า "เล่น" หุ้น โดยมองราคาถูกแพงของหุ้น ด้วยราคาต่อหุ้นเท่านั้น ซึ่งอาจทำให้เราลืมคิดถึง "ราคา" ที่แท้จริงที่เราจ่ายไป เพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งของเจ้าของในบริษัทนั้นๆ สำหรับวิธีคิด มูลค่าตลาดของกิจการ (Market Capitalization) ง่ายๆ ก็คือ

Market Capitalization (บาท) = ราคาต่อหุ้น (บาท/หุ้น) x จำนวนหุ้นทั้งหมด

กลับมาสู่ประเด็นหัวข้อที่ Post เอาไว้ : Market  Cap เล็ก หรือ ใหญ่ ดี?
หากเรามีเงินอยู่ก้อนหนึ่ง แล้วคิดที่จะลงทุนใน "หุ้น" เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยผลตอบแทนของตลาด เราจะเลือกบริษัทใหญ่พวก Blue Chip มี Market Cap มหาศาล แนวโน้มการเติบโตดี มั่นคง หรือ เลือกบริษัทเล็ก Market Cap ไม่สูงนัก มีการเติบโตที่สูง แต่อาจมีความเสี่ยงบ้าง  แบบไหนดีกว่ากัน??

คำตอบของนักลงทุนแต่ละคน คงแตกต่างกันแน่นอน ประเด็นสำคัญ ที่ผมคิดว่าน่าจะพิจารณาเพิ่มก็คือ
1. ขนาดของเงินลงทุนที่มี
    - Warren Buffett เคยกล่าวตอนประชุมผู้ถือหุ้น ปี 1999 ไว้ว่า เขาสามารถทำผลตอบแทนจากการลงทุนได้ถึง 50% หากเขามีเงินน้อยกว่านี้ เขาไม่สามารถ "Compound" หรือ "การทบต้น" ให้เงินลงทุนจำนวน 100 m$ หรือ 1 billion ที่อัตรา 50%
    - สำหรับนักลงทุนที่มี Portfolio ขนาดมหาศาล หากมัวไปลงทุนในบริษัทเล็กมากๆ ถึงแม้จะได้ผลตอบแทนดีเลิศ ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อ Portfolio รวมมากนัก

2. ขอบเขตความรู้ (Circle of Competency)
    - รู้เรื่องไหนก็ลงทุนเรื่องนั้น หากยังไม่รู็ก็หาความรู้เพิ่ม

3. อัตราผลตอบแทนที่พึงพอใจ
    - บริษัทใหญ่ส่วนมาก มีอัตราจากจ่ายการปันผล (Dividend Yield) ที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ดังนั้นหากนักลงทุนพึงพอใจในปันผลที่ได้รับก็สามารถลงทุนได้

อีกคำถามที่น่าสนใจ : แล้วพอมีเกณฑ์การแบ่งบริษัทตาม Market Cap ของ SET + mai ไหม? เพื่อให้นักลงทุนเลือกตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

ผมลองหาข้อมูลตาม Website ซึ่งก็ได้ข้อมูลจาก Wikipedia มี Rule of Thumb ดังนี้

A rule of thumb may look like:
  • Mega-cap: Over $200 billion
  • Large-cap: Over $10 billion
  • Mid-cap: $2 billion–$10 billion
  • Small-cap: $250 million–$2 billion
  • Micro-cap: Below $250 million
  • Nano-cap: Below $50 million

หากเราลองแปลงมูลค่าเป็นค่าเงินของประเทศไทย โดยปรับตามราคา Big Mac เทียบ USA กับ Thailand (ถือเป็นตัวแทน หน่วยการแปลงค่าครองชีพ ไปก่อนละกันนะครับ)
  • ราคา Big Mac USA = 4.2$
  • ราคา Big Mac Thailand = 2.46$
  • Ratio USA : Thailand = 1.615 : 1
  • อัตราแลกเปลี่ยน 1U$ = 31 B
rule of thumb Market Cap SET/mai (Normalized):
  • Mega-cap: มากกว่า 3,840,000 MB (Market Cap. Set สิ้นเดือน May12 = 9,454,310 MB)
  • Large-cap: มากกว่า 192,000 MB
  • Mid-cap: 38,400 - 192,000 MB
  • Small-cap:4,800 - 38,400 MB
  • Micro-cap: 960-4,800 MB
  • Nano-cap: น้อยกว่า 960 MB
เนื่ิองจากเศรษฐกิจของประเทศไทยเล็กกว่า USA ขอปรับลำดับขั้นหน่อยและปัดเลขกลมๆ ละกันนะครับ (Nano เมืองไทย) นี่ต้องเป็น SME

rule of thumb Market Cap SET/mai สำหรับประเทศไทย -> หาก AEC คงต้องแบ่งกันใหม่ : 
  • Mega-cap : มากกว่า 200,000 MB
  • Large-cap : 40,000 - 200,000 MB
  • Mid-cap : 5,000 - 40,000 MB
  • Small-cap : 1,000-5,000 MB
  • Micro-cap : น้อยกว่า 1,000 MB

สำหรับผม ตอนนี้ยังเงินทุนน้อย คงต้องเลือกเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทที่ยังเล็กๆ อยู่ครับ ไว้จะลองแบ่งบริษัทใน SET/mai ตาม Market Cap มาให้ดูกัน


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

No comments:

Post a Comment

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...